ความเป็นมาของ CSR และการนำไปใช้


Corporate Social Responsibility

                               ความเป็นมาของ CSR
จุดกำเนิดและปัจจัยผลักดันให้เกิด CSR
อันที่จริงการทำ CSR นั้น มีมานานกว่า 200 ปีแล้ว แต่สมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า CSR ขึ้นใช้อย่างเป็นทางการ และการทำ CSR ขององค์กรในยุคนั้นโดยมากไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์ที่ดีขององค์กรที่จะทำสิ่งที่ดีตอบแทนสังคม แต่ทำเพราะเกิดปัญหาขึ้นในองค์กร ทำ CSR เพื่อแก้ปัญหา
และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้ดีขึ้น เช่น 
- ค.ศ.1790 บริษัท อีสท์ อินเดีย ในประเทศอังกฤษ ถูกต่อต้านจากประชาชนในประเทศ เนื่องจากพบว่าบริษัทมีการกดขี่ ใช้แรงงานทาส จึงทำให้บริษัทจำเป็นต้องหันมาใส่ใจกับสวัสดิการ
แรงงานและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
- ค.ศ.1960 เกิดปัญหาผลกระทบจากการใช้สารดีดีที ซึ่งบริษัทในอเมริกาเป็นผู้ผลิตและส่งออก ทำให้สภาพแวดล้อมปนเปื้อนสารพิษนี้ จึงนำไปสู่กระแสเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งในปีเดียวกันนี้ Gorge Goyder ได้เขียนหนังสือเรื่อง “The Responsible Corporation” หรือ ความ
รับผิดชอบต่อสังคมโดยนักธุรกิจ โดยได้พัฒนาแนวคิดการท า CSR อย่างชัดเจนขึ้นมา
- ค.ศ.1984 บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งผลิตและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์นม ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เด็กทารกดื่มนมผงแทนนมมารดา ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจของประชาชน จนเกิดการประท้วงและคว่ำบาตรสินค้าของเนสท์เล่ เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว
- ค.ศ.1989 หลังเกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันดิบของ Exxon Waldez ล่ม บริเวณทะเลอาลาสกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำในทะเลแถบนั้นเป็นวงกว้าง กลุ่มธุรกิจการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsible Investment -SRI) ซึ่ง Exxon เป็นหนึ่งในนั้น จึงรวมกันบัญญัติกฎ 10 ประการที่เรียกว่า Waldez Principle ซึ่งกำหนดแนวปฏิบัติขององค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อมาได้เรียกชื่อใหม่เป็น CERES Principle กลุ่มธุรกิจ SRI นี้มีอัตราเติบโตสูงมากในช่วงปี 1999-2001 มีอัตราเติบโตสูงถึงร้อยละ 36 มีมูลค่าการลงทุนในสหรัฐอเมริกามากถึง 17.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการผลักดันกระแส CSR ให้ธุรกิจที่ตนเองถือหุ้นอยู่นั้นให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชน สวัสดิการแรงงานชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ค.ศ.1992 หลังการประชุมระดับโลก (Earth Summit) ครั้งแรกที่กรุงริโอเดจาเนโร ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างก็เริ่มตื่นตัวกับแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นทิศทางใหม่ของการพัฒนาที่ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ต้องค านึงถึงในเรื่องสังคมและ
สิ่งแวดล้อมด้วย ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีกระแสกดดันองค์กรธุรกิจให้ค านึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน2
- ค.ศ.2000กระแสของโลกในเรื่อง CSR เริ่มจริงจังและรุนแรงยิ่งขึ้น โดยองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD – Organization for Economic Cooperation and Development ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศพัฒนา แล้วที่ยอมรับระบบ
ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรี มีประเทศสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป ได้ออกแนวปฏิบัติส าหรับบรรษัทข้ามชาติ หรือที่เรียกว่า OECD-Consensus ซึ่งแนวปฏิบัตินี้มีการปรับปรุงโดยเน้นในเรื่อง CSR อย่างเข้มข้น มีการเสนอแนะให้บรรษัทข้ามชาติท าธุรกิจกับคู่ค้าทั่วโลกเฉพาะที่มี CSR เท่านั้น ธุรกิจใดไม่ท า CSR ก็จะส่งสินค้าไปขายให้บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ไม่ได้
สำหรับประเทศไทย
แม้ว่าจะมีการนำ CSR เข้ามาในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่การทำ CSR ในพ.ศ.นี้ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ต่อคนไทย โดยองค์กรที่ทำส่วนใหญ่มักเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และธุรกิจส่งออก อย่างไรก็ตาม Michael E. Porter ศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนธันวาคม 2006 ว่า “แนวโน้มธุรกิจในอนาคตข้างหน้าจะต้องให้ความสนใจ CSR เพราะต่อจากนี้ไป ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจะกลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น ามาใช้เป็นเงื่อนไขในการท าการค้ากับหลายประเทศ” 3
ความหมายของ CSR
องค์กรเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ให้ความหมายไว้ว่า CSR เป็นแนวคิดการจัดการที่มุ่งให้วิสาหกิจผสานการด าเนินธุรกิจกับความห่วงใยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย
วิกิพีเดีย Wikipediaให้ความหมายไว้ว่า CSR เป็นแนวคิดที่องค์กรแสดงความรับผิดชอบผลกระทบจากการประกอบกิจการของตนต่อ ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น รวมทั้งสิ่งแวดล้อม และพันธกิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้อาจเกินเลยกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ หมายรวมถึงการท าดีตามใจสมัครด้วยก็ได้ (แต่ต้องไม่ละเลยการปฏิบัติตามกฎหมาย)
The world Business Council for Sustainable Development ให้ความหมายไว้ว่า CSR เป็นความมุ่งมั่น หรือพันธสัญญาที่ธุรกิจมีอยู่อย่างต่อเนื่องในการที่จะประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนครอบครัวของเขา และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมในวงกว้าง
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development -WBCSD) ได้ให้ความหมายไว้ว่า CSR เป็นคำมั่นหรือพันธะสัญญาที่ธุรกิจมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในการที่จะปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานรวมถึงครอบครัวของพวกเขา ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมในวงกว้าง
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization - ISO) นิยามว่า CSR เป็นเรื่องที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่จะให้ประโยชน์กับคน ชุมชน และสังคม นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องบทบาทขององค์กรธุรกิจในสังคม และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถวัดผลได้ในสามมิติคือ มิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะน าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nation Conference on Trade and Development - UNCTAD) ได้ให้ความหมายว่า CSR คือ การที่องค์กรธุรกิจเข้าไปเกี่ยวข้องและมีผลกระทบเชิงบวกต่อความต้องการและเป้าหมายของสังคม
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) นิยามว่า CSR เป็นแนวคิดที่องค์กรธุรกิจจะบูรณาการงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกิจการ และการปฏิสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยสมัครใจ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้นิยามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคมขององค์กรและบริษัท (Definition of CSR) คือ ภาระผูกพันอันถือเป็นพันธะสัญญาที่องค์กรและบริษัทที่ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ ที่ก าหนดด้วยความสุขุมรอบคอบมีการก ากับดูแลที่ดี และจริยธรรมเพื่อความเจริญเติบโตที่มั่นคงยั่งยืน โดยไม่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม (Environment Social and Governance - ESG) ซึ่งถือเป็นการน าสามมิติของธุรกิจที่ยั่งยืน (Triple Bottom Line -TBL) มาใช้ในการบริหารจัดการสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งเป็นองค์ที่ศึกษาวิจัยด้าน CSR ได้บัญญัติศัพท์ใหม่ของ CSR ขึ้นมาว่า “บรรษัทบริบาล” หมายถึง การดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่นขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของส านึกรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นๆ และการมีคุณธรรมโดยค านึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน
จากนิยามเหล่านี้ เราสามารถสรุปได้ว่า CSR เป็นการบริหารจัดการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
ความสำคัญของ CSR  แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” ตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความส าเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
สำหรับแนวคิดใน เรื่องซีเอสอาร์ จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรมทางศาสนา ซีเอสอาร์จึงมิใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เพิ่งได้มีการบัญญัติค านี้ขึ้นใช้ในวงการธุรกิจเมื่อไม่กี่สิบปีที่ ผ่านมานี้เอง สำหรับในประเทศไทย แนวคิดเรื่องซีเอสอาร์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาธุรกิจในสังคมไทยมา เป็นเวลายาวนาน ในรูปของการทำบุญ การบริจาคเพื่อการกุศล หรือการอาสาช่วยเหลืองานส่วนรวมที่เรียกว่า “การลงแขก” เป็นต้น เพียงแต่คนไทยยังมิได้เรียกกิจกรรมเหล่านี้
ด้วยคำว่าซีเอสอาร์ อย่างไรก็ดี กระแสซีเอสอาร์ในเมืองไทยก็ได้ถูกจุดประกายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 และได้ถูกบรรจุเป็นแนวปฏิบัติที่ผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือไปจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบที่อยู่นอกกระบวนการ ทางธุรกิจ เช่น การบริจาค หรือการ
อาสาช่วยเหลือสังคมเช่นที่ผ่านมา
ประโยชน์ในการนำ CSR ไปใช้
องค์กรที่นำแนวคิดซีเอสอาร์ไปปฏิบัติ จะเกิดผลลัพธ์ทั้งในส่วนรูปธรรมที่จับต้องได้ (Tangible) และในส่วนนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) จากผู้ที่อยู่ในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงาน และจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้
ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมในแง่ของผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ ราคาหุ้นมีเสถียรภาพและมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ปัจจุบัน เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจที่มีซีเอสอาร์ ซึ่งเรียกกันเฉพาะว่า SRI (Social Responsibility Investing) นั้น มีมูลค่าเกิน 2 ล้านล้านเหรียญ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นโอกาสที่องค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติของตลาดในแง่ของพนักงาน เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ได้รับความสุขจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ นอกเหนือจากผลตอบแทนในรูปตัวเงิน ทำให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ และในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาทำงานกับองค์กรได้ องค์กรสามารถสร้างรายได้และส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากการที่ลูกค้าพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการจากองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมการขายด้วยการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งต่อทุกๆ การซื้อผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง ให้แก่ หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ฯลฯ องค์กรยังสามารถที่จะลดรายจ่ายของกิจการ จากการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้ารณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานเพื่อที่จะได้ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าหรือหาแหล่งพลังงานทดแทนแห่งใหม่ หรือ การลดงบประมาณใช้จ่ายด้านโฆษณาในการเปิดตัวสินค้า แปรรูปของบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตที่ล้นตลาด โดยได้รับการสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์จากหลายภาคส่วนในสังคม เปรียบเทียบกับงบโฆษณาสินค้าที่ไม่มีส่วนประสมของซีเอสอาร์ของบริษัทแห่งเดียวกันประโยชน์ที่เป็นนามธรรม องค์กรสามารถได้รับประโยชน์จากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ (Brand Positioning) ให้อยู่ในใจของลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ ในประเภทสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ร่วมกับการทำตลาดผลิตภัณฑ์ เช่น ร้านกาแฟที่รับซื้อเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นหรือจากไร่กาแฟที่ใช้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น สำหรับองค์กรที่มิได้ใช้ตราผลิตภัณฑ์เป็นชื่อขององค์กร หรือเป็นองค์กรที่มีหลายตรา ผลิตภัณฑ์ สามารถดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ที่เสริมภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image)7 นอกเหนือจากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจที่อำนวยประโยชน์ต่อสังคมโดยสมัครใจมากกว่าเป็นเพียงการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในอุตสาหกรรม หรือกฎหมายบ้านเมืองในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาและดูแลระบบบ าบัดของเสียจากโรงงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือมากกว่าการมีระบบไว้เพียงเพื่อให้ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์ แต่มิได้เปิดใช้งาน เป็นต้น นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถจัดท ารายงานของกิจการที่เรียกว่า Sustainability Report ซึ่ง หน่วยงาน Global Reporting Initiative (GRI) เป็นผู้วางกรอบและแนวทางไว้ เพื่อใช้เผยแพร่ กิจกรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยในปัจจุบัน มีองค์กรธุรกิจที่จัดทำรายงานดังกล่าวนี้แล้วนับพันแห่งทั่วโลก
หลักการเชิงทฤษฎี
องค์ประกอบของ CSR
เนื่องจากยังไม่มีนิยามและกฏเกณฑ์ที่แน่นอนสำหรับ CSR ดังนั้นองค์ประกอบของ CSR จึงยังไม่ชัดเจนมากนัก ด้วยเหตุนี้ในการประเมินว่าธุรกิจใดมี CSR หรือไม่ จึงต้องพิจารณาให้ครอบคลุม เนื่องจากเกณฑ์และการจำแนกองค์ประกอบที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม อาจสรุป
องค์ประกอบของ CSR ได้จากเอกสารและงานเขียนต่างๆ เช่น
1. เอกสารการอบรมในหลักสูตร CSR ของธนาคารโลกระบุว่า CSR ควรมีองค์ประกอบ 6
ประการคือ
 สิ่งแวดล้อม
 แรงงาน
 สิทธิมนุษยชน
 การมีส่วนร่วมกับชุมชน
 มาตรฐานการด าเนินธุรกิจ
 การตลาด
2. แนวปฏิบัติของ OECD ส าหรับบรรษัทข้ามชาติ ได้ระบุถึงพฤติกรรมของธุรกิจที่พึงประสงค์ในหัวข้อต่างๆ เช่น การกำหนดนโยบายทั่วไป การเปิดเผยข้อมูล การแข่งขันการเงิน การเสียภาษี การจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. The UN Global Compact หรือบัญญัติ 9 ประการส าหรับธุรกิจ ซึ่งมีลักษณะเป็นกรอบที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยความเป็นพลเมืองดีของธุรกิจที่มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และยอมรับพันธะสัญญานี้ด้วยความสมัครใจ ซึ่งกำหนดขึ้นโดย มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมสมัชชาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปี ค.ศ. 1999 Kofi Annan ซึ่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น ร่วมกับ 5 หน่วยงานของ UN (ILO, UNDP, UNEP, UNCHR และ UNIDO) ได้เรียกร้องให้ธุรกิจแสดงความเป็นพลเมืองดีของโลก (Good Global Citizenship) ในทุกประเทศและทุกแห่งที่ทำธุรกิจอยู่ ด้วยการเคารพต่อหลักการที่เป็นข้อตกลงนานาชาติ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องมาตรฐาน
แรงงาน และเรื่องสิ่งแวดล้อม จากนั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 ได้มีการประกาศบัญญัตินี้อย่างเป็นทางการ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาตินครนิวยอร์ก บัญญัตินี้มี 3 หมวด 9 ประการ ซึ่งต่อมาเพิ่มเป็น 10 ประการดังนี้
หมวดสิทธิมนุษยชน:
1. สนับสนุนและเคารพหลักสิทธิมนุษยชนที่ประกาศในระดับสากล
2.ดูแลไม่ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนในธุรกิจของตนหมวดว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน
3. สนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของแรงงานและยอมรับอย่างจริงจังต่อสิทธิในการเจรจาต่อรองของแรงงานที่รวมกลุ่ม
4. ขจัดทุกรูปแบบของการบังคับใช้แรงงาน
5.ยกเลิกการใช้แรงงานเด็กอย่างเป็นผล
6.ก าจัดการเลือกปฏิบัติในการว่าจ้างแรงงานและอาชีพหมวดกำกับสิ่งแวดล้อม
7. สนับสนุนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
8.จัดทำกิจกรรมที่มีส่วนส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
9. ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หัวข้อที่เพิ่มขึ้นภายหลัง:
10. ต่อต้านการทุจริต (Corruption) ในการปฏิบัติตามหลัก CSR ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ควบคู่กับธุรกิจ สามารถแบ่งได้เป็น 4
ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 mandatory level : ข้อกำหนดตามกฎหมาย (legislation) หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายแรงงาน การจ่ายภาษี เป็นต้น
ขั้นที่ 2 elementary level : ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (economic profit) หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งในขั้นนี้ธุรกิจควรหมั่น ตรวจตราว่ากำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม
ขั้นที่ 3 preemptive level : จรรยาบรรณทางธุรกิจ (business code of conduct) หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสม และผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่า จะได้รับการดูแลหรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ
ขั้นที่ 4 voluntary level : ความสมัครใจ(voluntary action) หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามแนวทาง CSR ด้วยความสมัครใจ โดยไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคมแต่อย่างใด ซึ่งในขั้นนี้การประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ และการดำเนินการ CSR ในส่วนนี้สมควรได้รับความยกย่องชื่นชมจากสังคมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในขั้นที่ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในขั้นต่อไป ให้ขึ้นกับความพร้อมของธุรกิจแต่ละแห่งที่แตกต่างกันไป โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
องค์กรที่นำ CSR ไปใช้แล้วประสบความสำเร็จ
นโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธอส. มีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือผู้ยากไร้และขาดแคลน ผู้พิการ รวมไปถึงโครงการอนุรักษ์พลังงาน
และการร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนส าหรับกิจกรรม CSR ที่ธอส.จัดขึ้นทั้งหมดอยู่ภายใต้แนวคิด “นำองค์กรสร้างคุณภาพ ตอกย้ำความเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่มั่นคงและทันสมัยควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม” “ธอส.สานฝันเพื่อบ้านเพื่อคุณ” โดยธอส. ได้วางยุทธศาสตร์ CSR ภายใต้กิจกรรมหลักครอบคลุมทั้ง 6ด้าน คือ
1.ด้านสังคมเพื่อคุณภาพชีวิต อาทิ โครงการเทิดพระเกียรติ 82 พรรษามหาราชา บริจาคโลหิต 1,099,999 ซีซีโครงการ “จักรยานยืมเรียน” เพื่อน้องผู้ด้อยโอกาสในต่างจังหวัดซึ่งได้จัดทำมาตั้งแต่ปี 2550 โดยมอบจักรยานให้กับเด็กที่ด้อยโอกาสในต่างจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก รวมจ านวน 900 คัน เป็นต้น
2.ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิโครงการธอส. รักษ์โลกและโครงการ “ปรับภูมิทัศน์ตลาดน้ำอัมพวาโดยได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการปรับภูมิทัศน์ของตลาดน้ำยามเย็นของตลาดน้ำอัมพวาและพื้นที่โดยรอบให้เป็นต้นแบบพัฒนาพื้นที่และยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสวยงามและได้รับมาตรฐานในระดับสากล
3.ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอาทิ กฐินพระราชทานประจ าปี นอกจากนี้ ธอส. สนับสนุนงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมเสื่อเงิน ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี ทั้งนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนพรรษา 82 พรรษา อีกทั้งยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์มรดกของชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์เสื่อเงิน ซึ่งเป็นมรดกทรงคุณค่ามาช้านานให้คงอยู่ในบวรพุทธศาสนา รวมถึงถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนเป็นการส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนาตามประเพณีอันดีงามของคนไทย
4.ด้านการกีฬา ธอส.ให้การสนับสนุนสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ในโครงการ 1 สมาคมกีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสานต่อกีฬาเทควันโดไทยให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด
5.ด้านที่อยู่อาศัย ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่ผ่านมา ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยของคนไทย จึงได้จัดทำโครงการต่างๆ ขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยมีที่อยู่เป็นของตนเองอย่างทั่วถึง
6.ด้านช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้แก่ โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ผู้ประสบอุทกภัยต่างๆ พร้อมทั้งการจัดทำสินเชื่อเพื่อผู้ประสบอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกค้าประชาชนผู้ประสบภัยซึ่งกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นการคืนกำไรตอบแทนสู่สังคม ด้วยการร่วมสร้างองค์กร และ
สังคมไทยให้มีคุณภาพและอยู่อย่างมีความสุข เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
กรณีตัวอย่าง : ไทยธรรม อัลไลแอนซ์ซึ่งคุณจารุณี (สุขสวัสดิ์) เดส์แน็ช เป็นกรรมการบริหาร
วิสัยทัศน์ (Vision) ไทยธรรม อัลไลแอนซ์ เป็นบริษัทฯที่เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคลากรหลากหลายสาขาอาชีพ และ หลากหลายความชำนาญ รวมทั้งแพทย์ เภสัชกร นักวิชาการ และ นักการตลาด ที่มีความตั้งใจในการสร้างธุรกิจ เพื่อคนไทย ในทุกระดับ โดยมีการคัดสรร และ
เลือกจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ นวัตกรรมด้านการแพทย์ เภสัชกรรม เครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจ าวัน (Health Care, Household Products, and Personal Care) โดยจัดจำหน่ายผ่านระบบขายตรงแบบเครือข่ายหลายชั้น (Network & MultiLevel Marketing) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจ และ คุณภาพชิวิตของคนไทย
และ เพื่อให้คนไทยได้บริโภคสินค้าคุณภาพสูง ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และ การดำรงชีวิต ในราคายุติธรรม
พันธกิจหลัก (Main Mission) กำไรส่วนหนึ่งจากการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทไทยธรรม อัลไลแอนซ์จะถูกบริจาคทั้งหมด ให้กับมูลนิธิไทยธรรม เพื่อสร้างสรรประโยชน์ให้กับคนไทย และ สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยที่อยู่บน แผ่นดินไหน ทั่วโลก เพื่อแจกจ่าย เจือจุน และ สร้างวิถีชีวิตที่ดีกว่า ให้กับคนไทยด้วยกัน จากน้ำใจคนไทย
พันธกิจ (Mission Statement)
1. เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพของคนไทย
2. เพื่อให้คนไทยทุกคน ได้บริโภคสินค้าคุณภาพสูง ในราคายุติธรรม
3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และ คุณภาพชีวิตของคนไทย
4. เพื่อให้คนไทย มีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการสร้างงาน สร้างธุรกิจ และ สร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเอง และครอบครัว
5. เพื่อพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคลของคนไทยทุกคน
6. เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนไทย ไปยังตลาดทั้งในประเทศ และ ทั่วโลก
7. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยอย่างถูกต้อง และ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของคนไทย
กรณีตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีนโยบายและการปฏิบัติในด้าน CSR อย่างมากมาย และต่อเนื่องมานานแล้ว ทั้งในด้านสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในชุมชน ฯลฯ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีส่วนในการเอื้ออาทรต่อสังคม และยิ่งถ้ามองในแง่ของภารกิจในการผลิตพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะต้องมีส่วนไปเกี่ยวข้องกับชุมชน ก็ยิ่งจ าเป็นต้องวางแผนและมีการปฏิบัติด้าน CSR อย่างจริงจังและโปร่งใสในทุกขั้นตอนนโยบายที่ให้ภาพที่ชัดเจนว่า กฟผ. เอาจริงเอาจังกับความรับผิดชอบต่อสังคม คือ“นโยบายต่อประชาชน” โดยมีโครงการที่เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่และชุมชน กฟผ. แม่เมาะ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการล้างแอร์เพื่อชาติ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการสนับสนุนด้านการศึกษา คือ โครงการความร่วมมือในการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิค กฟผ. แม่เมาะ ซึ่ง กฟผ. ไม่เพียงแต่ตกลงที่จะบริจาคเงินประมาณ 372.47 ล้านบาทให้แก่คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างสถานศึกษาแห่งใหม่ขึ้นเท่านั้น แต่ในการด าเนินงานนับตั้งแต่ กฟผ. ได้อนุมัติโครงการฯ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินงานจากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานด้วย เช่น ข้าราชการและแกนน าชุมชนใน อ.แม่เมาะ คณะผู้บริหาร และอาจารย์จาก สอศ. ที่ส าคัญ คือ สถานศึกษาแห่งนี้ได้จัดการศึกษาในระบบทวิภาคีซึ่งเน้นเรื่องการฝึกอาชีพในภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้น โดย กฟผ. ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามารับการฝึกอาชีพที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเหมืองแม่เมาะเป็นจ านวนมากในการรับฝึกอาชีพ กฟผ. ได้บรหารจัดการให้การฝึกอาชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้
(1) แต่งตั้งครูฝึกและผู้ควบคุมการฝึก เพื่อท าหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ ก. ร่วมกับสถานศึกษาวิเคราะห์งานใน กฟผ. และก าหนดงานที่นักศึกษาต้องฝึกอาชีพ เพื่อจัดทำ แบบสรุปการวิเคราะห์งาน แผนการฝึกอาชีพตลอดหลักสูตร และแผนการฝึกอาชีพรายวิชา ข. ดำเนินการสอนงานตามแผนการฝึกอาชีพตลอดหลักสูตร และประเมินผลเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน โดยการน าผลการฝึกตามแผนการฝึกรายวิชามาหาค่าเฉลี่ย จากนั้น จึงส่งผลการประเมินให้กับสถานศึกษาค. ตรวจสมุดบันทึกการฝึกงานของนักศึกษาทุกสัปดาห์ เพื่อดูความเรียบร้อยถูกต้องของการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน และรายละเอียดต่าง ๆ จากงานที่ได้ปฏิบัติ รวมทั้ง เทคนิค เคล็ดลับ ประสบการณ์ที่ได้รับ ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีแก้ปัญหา ซึ่งครูนิเทศจะมาลงนามเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยแล้วทุกครั้งที่มานิเทศ ง. ควบคุมดูแลความประพฤติของนักศึกษาให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งการมีทัศนคติ และจิตพิสัยที่เหมาะสม
(2) จัดสภาพแวดล้อมในการฝึกอาชีพ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และอนุญาตให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของ กฟผ. และจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ต่าง ๆ เช่น พิธีไหว้ครูการปฐมนิเทศเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเสริมสร้างจิตพิสัยด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างเหมาะสมประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน
1. ประโยชน์สำหรับ กฟผ. ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มผู้ทำหน้าที่ครูฝึก/ผู้ควบคุมการฝึกในหลายฝ่ายของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเหมืองแม่เมาะ ซึ่งถือเป็นหน้าที่อันมีเกียรติในฐานะผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้และทักษะและเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อองค์กร ผู้ได้รับหน้าที่ย่อมต้องขวนขวายและใส่ใจที่จะต้องแสวงหาความรู้และสร้างความมั่นใจในการถ่ายทอดความรู้ และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้รับการฝึก โดยนัยนี้ถือเป็นวิธีการพัฒนาตนเองที่ได้ผลดียิ่ง
2. ประโยชน์สำหรับ กฟผ. ในส่วนขององค์กร เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีคุณค่าต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างสูง
 เอกสารอ้างอิง
ทัศนีย์ แน่นอุดร. CSR เครื่องมือตรวจสอบความดีของภาคธุรกิจ. ฉลาดซื้อ.13(76) : 52-53; 2550.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ ระยะที่ 1 : การศึกษาคุณลักษณะ องค์ประกอบและเครื่องมือสำหรับการพัฒนา. [ม.ป.ป. : ม.ป.พ.], 2549.
เฟื่องลดา. เมื่อกิจกรรม CSR เพิ่มคุณค่าแต่ไม่เพิ่มต้นทุน. พาณิชย์ภูมิภาค. 6(3) : 33-35; 2552.
รพีพรรณ วงศ์ประเสิรฐ. ความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility, CSR). วารสารนักบริหาร. 26(
3) : 32-34; กรกฎาคม-กันยายน 2551.
วรัญญา ศรีเสวก. ถอดรหัส—สร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนด้วย CSR.กรุงเทพฯ : มติชน, 2551.
สาริกา ค้าสุวรรณ. CSR กระแสร้อนทางธุรกิจที่น่าจับตามอง. วารสารนักบริหาร. 28(3) : 49-52; กรกฎาคม-กันยายน 2551.
สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์. CSR ทิศทางใหม่ขององค์กรยุคใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 1(1) : 37-44; เมษายน-มิถุนายน
2550.
หมายเลขบันทึก: 498598เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณ บทความดีดีนี้ CSR ==> ทั้งประวัติความเป็นมา การประยุกต์ แนวคิดไปใช้ ในสังคมไทย ของบริษัทต่างๆ ด้าน/มิติต่างๆ ด้วยนะคะ

ขอบคุณบทความดีดีนี้ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ

ขอบคุณความรู้ที่แบ่งปันค่ะ กำลังหาอยู่พอดีเลย

ขอบคุณมากๆเลยนะคะสำหรับข้อมูล เป็นประโยชน์มากจริงๆ 

เป็นบทความที่ได้ความรู้มาก ๆ เลยค่ะ  ขอบคุณค่ะ / www.servicemind.training

ขอบคุณข้อมูลครับ ผมเป็นเจ้าหน้าที่ISOมือใหม่ ที่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบพวกนี้คับ อยากได้คำชี้แนะจากผู้รู้เยอะๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท