No.13: The Practicing Mind


จิตฝึกฝน คือ จิตที่เหมาะแก่การฝึกฝนและเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนเอง

                     

   Thomas M. Sterner ร่ำเรียนมาทางด้านปรัชญา และจิตวิทยาการกีฬา อีกทั้งยังเป็นนักเทคนิคทางเปียโน นักขับเครื่องบิน นักกอล์ฟ หนังสือเล่มนี้เขาเล่าถึง การพัฒนาจิตที่จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ฝึกฝนและพัฒนาตนเองได้อย่างน่าประหลาดใจ

The Practicing Mind: จิตฝึกฝน

  1. เริ่มต้นการเรียนรู้

   ชีวิตในปัจจุบันของเรา มีสิ่งเร้ามาก ทำให้จิตถูกดึงไปหลายทาง จนหมดแรงหมดพลัง ทำให้เราขาดพลังจิตในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต้องสร้างวินัยให้กับตนเอง (self discipline)

เราต้องเริ่มจากการเสริมสร้างพลังจิตก่อนโดย 

  • สร้างแรงบันดาลใจ ฉันทะในการที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นๆ (initial inspiration, desire to learn)
  • ต้องฝึกให้มีสติ (self awareness) รู้ตัวว่าเรากำลังถูกดึงให้เฉไฉเบี่ยงเบียน แล้วรีบดึงกลับ
  • ต้องจดจ่อเป็นเรื่อง (focus,pinpoint,) อย่าทำหลายๆอย่างพร้อมๆกัน (multitasking)
  • ต้องนิ่ง เงีบย และอยู่กับปัจจุบัน (still, quiet, present)

  2. มันอยู่ที่ขบวนการไม่ใช่ผลลัพธ

   จิตเรามักจะตกไปอยู่กับอดีตที่เราทำไม่ได้ และคิดถึงผลลัพธ์ที่ดูยากมากในอนาคต ทำให้จิตเราไม่อยู่กับขบวนการฝึกฝนในปัจจุบัน ท้อแท้ หมดกำลังใจ ผลัดวัน หาข้ออ้าง ในที่สุดก็ไม่ได้ฝึกทำเสียที 

   จิตที่หมกมุ่นอยู่กับอดีตและอนาคตเช่นนี้ จะก่อให้จิตเคียด วิตกวังวล สูญเสียพลังไป 

   ดังนั้นสิ่งที่จิตต้องทำคือ จดจ่ออยู่กับขบวนการการฝึกณปัจจุบัน เก็บในรายละเอียด ตรวจสอบ ทบทวน เรียนรู้ มองที่เป้าหมายทีละขั้น (be present, focus attention, deliberated, intention)

   เมื่อจิตมุ่งมั่นอยู่กับขบวนการฝึกที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่สนใจกับผลลัพธ์ในอนาคต จิตจะสงบ ผ่อนคลาย มีสมาธิ ควบคุมได้ สนุก ซึ่งเป็นสภาพจิตที่มีพลัง สามารถฝึกฝนเรียนรู้ขบวนการนั้นได้ดี และบรรลุเป้าหมายของขบวนการด้วย 

   3. ขึ้นอยู่กับว่าเรามองมันอย่างไร

  ดอกไม้ จากเมล็ดจนออกดอกบาน  ผู้หญิง จากทารกจนเป็นหญิงสาว ตรงไหนที่สวย ดี สมบูรณ์แบบที่สุด? .... ความจริงคือ มันสมบูรณ์ในแบบของมันณขณะนั้นอยู่แล้ว

   นั่นหมายถึง จิตปัจจุบัน (present mind) ก็สมบูรณ์และงดงามณขณะเวลาปัจจุบันนั้นเช่นกัน ลองสังเกตดูเวลาใดที่เราหงุดหงิด ไม่สบายใจ เราจะเห็นเลยว่าตอนนั้นจิตเราหลุดออกจากปัจจุบัน คือ ไปอยู่กับอดีตและอนาคต

   สังเกตอีกได้ว่า มีอยู่2สถานการณ์ที่จิตจะอยู่กับปัจจุบันได้ง่ายคือ

  • จิตของผู้เริ่มต้น (beginner mind) เวลาเราฝึกอะไรใหม่ๆเราจะจดจ่อกับมันตรงนั้น แต่พอเราทำได้คล่องจิตจะเริ่มเฉไฉออกไปที่อื่น ดังนั้นอย่าทำอะไรซ้ำซาก ให้ทำอะไรที่ใหม่ๆ จิตจะได้ตั้งใจและจดจ่อ
  • จิตสันทนาการ (recreation mind) สังเกตได้เวลาเราเล่นเกมเราจะจดจ่อมาก แต่พอทำงานจิตมักเฉไฉอยู่บ่อย  ดังนั้นต้องคิดก่อน(prejudgement)ว่าสิ่งที่เราทำมันคือการเล่นเกม(สนุก) ไม่ใช่ทำงาน(ที่น่าเบื่อ)

   4. สร้างนิสัยที่เราต้องการ

   เริ่มต้นที่เราต้องมีสติรู้ตัว(self-awareness)ก่อน ว่าณขณะนี้เรากำลังคิดเรื่องอะไร กำลังทำอะไร ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ ต้องหยุด และเปลี่ยนกลับเข้ามาสู่สิ่งที่ต้องการ

   คราวนี้ก็มาถึงสิ่งที่เราต้องการ เราต้องการอะไร ซึ่งเราจะต้องรู้และสร้างเส้นทางหรือขบวนการ ที่จะทำให้เราบรรลุสิ่งที่ต้องการนั้น

   จากนั้นก็ทำตามขบวนการนั้นบ่อยๆให้ติดแน่นเป็นนิสัย ทำวันละหลายๆครั้งติดต่อกันอย่างน้อย20วัน มันจะเริ่มกลายเป็นนิสัย นั่นหมายถึง เราจะทำต่อได้อย่างง่ายดายเป็นธรรมชาติไม่ต้องคิด

    5. เราจะอดทนต่อสิ่งนั้นได้นานขึ้น ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองการรับรู้ต่อสิ่งนั้น

    ขอเพียงแค่เราอยู่กับสิ่งที่เราทำตรงหน้าณปัจจุบัน(present) อยู่กับขบวนการที่กำลังทำ(process) อยู่กับเป้าหมาย(purpose)  เราก็จะอยู่กับสิ่งนั้นได้อย่างอดทนยาวนาน(patience)ซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นธรรมชาติ 

    6. ง่ายๆแต่ได้ผลด้วย 4 S

 Simplify ทำขบวนการให้ง่าย

 Small ทอนออกมาให้เล็กลง

 Short ช่วงสั้นๆ

 Slow และทำอย่างช้าๆและปราณีต

4 S นี้จะทำให้เราเกาะติดกับขบวนการของเราในปัจจุบันได้นานขึ้น

    7. ฝึกจิตให้สงบ

   จิตที่สงบเป็นที่มีพลัง สมารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีที่จะทำให้จิตสงบ คือ การดูอยู่เฉยๆไม่ต้องตัดสิน (เช่น ดีหรือไม่ด)ี เน้นอยู่ที่ขบวนการ ซึ่งการทำเช่นนี้ จะไม่เกิดการพูดคุยกับตัวเอง ไม่เกิด อารมณ์ ความเครียด 

   นอกจากนี้ การฝึกสมาธิ ก็เป็นการช่วยทำให้จิตสงบและผ่อนคลายขึ้นด้วย

    8. เรียนรู้จากเด็กๆ

  ผู้ใหญ่จิตมักจะอยู่ที่อดีตและอนาคต ส่วนเด็กมักจะอยู่กับปัจจุบัน ผู้ใหญ่มักจะทำและหวังผล แต่เด็กสักแต่ว่าได้ทำเท่านั้น สรุปคือ เด็กอยู่กับปัจจุบันมากกว่าผู้  ใหญ่

    9. ยิ่งเราฝึกฝนเรื่องจิต เราจะพัฒนาสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น


คำสำคัญ (Tags): #จิตฝึกฝน
หมายเลขบันทึก: 498443เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 05:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..."7. ฝึกจิตให้สงบ

จิตที่สงบเป็นที่มีพลัง สมารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีที่จะทำให้จิตสงบ คือ การดูอยู่เฉยๆไม่ต้องตัดสิน (เช่น ดีหรือไม่ด)ี เน้นอยู่ที่ขบวนการ ซึ่งการทำเช่นนี้ จะไม่เกิดการพูดคุยกับตัวเอง ไม่เกิด อารมณ์ ความเครียด

นอกจากนี้ การฝึกสมาธิ ก็เป็นการช่วยทำให้จิตสงบและผ่อนคลายขึ้นด้วย

8. เรียนรู้จากเด็กๆ

ผู้ใหญ่จิตมักจะอยู่ที่อดีตและอนาคต ส่วนเด็กมักจะอยู่กับปัจจุบัน ผู้ใหญ่มักจะทำและหวังผล แต่เด็กสักแต่ว่าได้ทำเท่านั้น สรุปคือ เด็กอยู่กับปัจจุบันมากกว่าผู้ ใหญ่"...

Very powerful suggestions they are. we can, these days, do with steady mind. And today, there are more parents who must learn from their children -- who are more receptive to the current situations of the world than we are (because we are focusing on earning more incomes).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท