โยนหินถามทางขึ้นแวต 10% 'ทนง' แลกลด นิติบุคคลยาหอมดึงทุนต่างชาติ


โยนหินถามทางขึ้นแวต 10% 'ทนง' แลกลด นิติบุคคลยาหอมดึงทุนต่างชาติ
นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานเสวนาเรื่องจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย : มิติเชิงนโยบายเศรษฐกิจที่จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ว่า ได้มอบนโยบายให้ สศค. ไปศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า ในแง่อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในระดับเฉลี่ย 5.5% และมีมูลค่าของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี อยู่ที่     26 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 7 ล้านล้านบาท โดยคาดว่ารายได้ประชากรจะอยู่ที่ 400,000 บาทต่อหัวต่อปี จาก 120,000 บาท แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกจะทำอย่างไรให้ระดับเศรษฐกิจมีการเติบโตระดับที่ประเมินได้   ตัวเลขข้างต้นถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมีการเติบโตค่อนข้างมาก หากสามารถทำได้ตามที่คาดการณ์ถือว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่กำลังพัฒนาอีกต่อไป ที่สำคัญหากเติบโตได้ในระดับนี้โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปแน่นอน โดยประเมินว่า รายได้ของภาคเกษตร       จะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 7.5% ของรายได้ประชาชาติ รายได้ภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 37.5% และรายได้ภาคบริการจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 55% จากปัจจุบัน 44%” ทั้งนี้ หากรัฐบาลไม่มีความคิดแบบเบ็ดเสร็จ จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตในระดับดังกล่าวได้ยาก และอาจทำให้ประสบปัญหาวิกฤติได้อีก เนื่องจากประเทศไทยอ่อนแอทั้งด้านเทคโนโลยี และการศึกษา ฉะนั้น จึงต้องพัฒนาระบบการเงินการคลังให้ดีขึ้น ซึ่งในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในคาบสมุทรเอเชียแปซิฟิกหรือเอเปค ได้แสดงความกังวลเรื่องระบบการจัดเก็บภาษีประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล บุคคลธรรมดาและภาษีนำเข้าเป็นหลัก แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปิดเสรีหลายด้าน ทำให้ภาษีนำเข้าลดลง เพราะมีการทำสัญญาทวิภาคีเรื่องการค้าและการลงทุนมีมากขึ้น สำหรับสิ่งที่กระทรวงการคลังต้องเร่งดำเนินการมีด้วยกัน 2 ด้าน คือ 1. การขจัดปัญหาความยากจน  ด้วยการวางกรอบงบประมาณรายจ่ายให้เหมาะสม โดยลดงบสนับสนุนรัฐวิสาหกิจและนำงบประมาณไปช่วยคนจน ส่วนงบอุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่หายไปจะชดเชยด้วยการแปรรูป และให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหาร เพื่อลดภาระของรัฐบาลและทำด้วยความโปร่งใส ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ จึงหนีไม่พ้นเรื่องการแปรรูป    2. การปรับปรุงโครงสร้างภาษี เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยอยู่ที่ 30% แต่เมื่อหักลดหย่อนแล้ว เอกชนเสียภาษีจริงเพียง 17% ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นหรือไม่  เป็นประเด็นสำคัญต่อการตัดสินใจเข้าลงทุนของต่างชาติ จึงต้องศึกษาว่าหากจัดเก็บรายได้ได้น้อยลง จะมีรายได้ภาษีตัวใดมาทดแทน  ยกตัวอย่างประเทศแถบยุโรปลดภาษีนิติบุคคล โดยเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ประเทศญี่ปุ่นเริ่มรู้ตัวว่ารายได้จากภาษี นิติบุคคลไม่เพียงพอ ก็คิดหาเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากปัจจุบันอยู่ที่ 5% จะเพิ่มเป็น 10%   ในส่วนของไทยนั้นปัจจุบันจัดเก็บ 7% เป็นตัวเลขที่มหัศจรรย์ที่สุด ขึ้นก็ไม่ได้ ลดลงก็จัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า แต่ในฝั่งภาษีเงินได้         นิติบุคคลนั้น ในที่สุดแล้วต้องปรับลดลงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน   นายทนงกล่าวต่อว่า การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% ปัจจุบันถือเป็นเรื่องยาก แต่ในอนาคตก็ต้องเพิ่ม แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้น ยังตอบไม่ได้ เพราะการศึกษาเรื่องนี้ มองไปในอนาคตถึง 20 ปี ลองพิจารณาว่า ปัจจุบันรายได้จากภาษีเงินได้ นิติบุคคลทั้งหมด ประมาณ 40% มาจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประมาณ 500 บริษัท ส่วนที่เหลืออีก 60% มีบริษัทที่เสียภาษีมากถึง 600,000 บริษัท ซึ่งสัดส่วนต่างกันมาก จึงทำให้รัฐบาลพยายามลดต้นทุนให้กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า เพราะบริษัทเหล่านี้มีธรรมาภิบาล    จึงทำให้มองว่ามาตรการภาษีเป็นเหมือนฝนตกไม่ทั่วฟ้า ขณะที่นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า จุดเปลี่ยนสำคัญ  ในแง่นโยบายคือ การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ที่พึ่งพาภาคการส่งออกและการใช้ จ่ายในประเทศ  แต่เมื่อปีที่แล้วและปัจจุบัน การพึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศลดน้อยลง ขณะที่ภาคการส่งออกมีสัดส่วนมากขึ้น กรณีนี้น่าสนใจ เพราะไม่มีประเทศกำลังพัฒนาไม่พึ่งพาการส่งออก ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ   ที่ใช้การบริโภคในประเทศดันเศรษฐกิจ ยังไม่แน่ใจว่า จะใช้นโยบายเศรษฐกิจคู่ขนานได้นานแค่ไหน   สาเหตุที่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการบริโภคทำได้ไม่นาน เพราะมีข้อจำกัดด้านหนี้สินครัวเรือน และการใช้จ่ายภาครัฐ       ที่มากจะทำให้เกิดปัญหาขาดดุลงบประมาณ และจะทำให้มีการขาดดุลตัวอื่นตามมา ส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และดีใจที่คำว่าเศรษฐกิจคู่ขนานเริ่มหายไปแล้วไทยรัฐ  12  ก.ย.  49
คำสำคัญ (Tags): #นโยบายเศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 49824เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท