วัฒนธรรมอินเดีย : ทางชีวิต 29


อิทธิพลภาพศิลปะเชิงสังวาส...กระแสการเคารพรูปโยนีและศิวลึงค์

               ช่วงปลายปี 2537  หลังการกลับมาจาก  Nepal เมืองแห่งพระศรีภูวนาถมีบรมธาตุดวงตาที่มองเข้าไปถึงจิตวิญญาณของมนุษย์แล้ว...ผมและเพื่อน ๆก็ เดินทางไปเมืองขะจุระโห (  Khajuraho ) ดินแดนแห่งเทวาลัยที่เต็มไปด้วย...ภาพกามสูตรกลางแจ้ง...

              วันที่เราไปนั้นมีนักท่องเที่ยวเยอะมาก...ณ  เทวสถานของศาสนาฮินดู...มีวิหาร...ปรางค์...อุโบสถ...เจดีย์...ทุกแห่งล้วนประดับด้วยรูปปั้นที่เป็นสถาปัตยกรรม...การสมสู่กัน...มีรูปปั้นสัตว์กับคนและมีคนกับสัตว์ด้วย...

                สิ่งเหล่านี้ผมไม่มีจินตนาการที่จะอธิบาย...เอาไว้ให้คุณมีโอกาสไปเยือนแล้วคงจะเข้าใจได้เองครับ...ฮา ๆ เอิก ๆ  

              ในความคิดของผมว่า...ช่วงนั้นคงเกิดกระแสการเคารพรูปโยนีและศิวลึงค์กันอย่างมาก...โดยปกติแล้ว...ทุกที่ในเทวสถานของศาสนาฮินดูก็มีการบูชาสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว...

                 อิทธิพลภาพศิลปะเชิงสังวาสนี้...แม้ในวัดทองคำของฮินดู...ที่สร้างซ่อนไว้โดยสร้างบ้านเป็นตึกให้เป็นที่กำบังไว้ทั้ง 4  ด้าน...อยู่แถวโกโตเลีย...ในเส้นทางลงสู่แม่น้ำคงคาเมืองพาราณสี...ก็ยังมีสิ่งเหล่านี้...

                  ในเนปาลผมมองดูที่หน้าจั่วของเทวสถานที่อยู่ใจกลางเมืองก็ยังเห็นศิลปะอย่างนี้ครับ...แต่ในเมืองไทยที่ผมพบ...ก็มีที่หน้าบานประตูอุโบสถทางด้านทิศตะวันออกของ...วัดโพธิ์  ท่าเตียน  กทม.  ครับ...แต่ศิลปะเชิงสังวาสดังกล่าวเป็นรูปลิงครับ...

                  สะท้อนภาพให้เห็นว่า...ชาวอินเดียมีความเคารพศรัทธา

ในเรื่องการบูชารูปโยนีและศิวลึงค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู...หรือศาสนาพราหมณ์ในยุคโบราณนั้นเองครับ.

โปรดติดตามตอนต่อไป 

 ด้วยความปรารถนาดี 

 จาก...umi
หมายเลขบันทึก: 49820เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 04:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท