เรียนวิชาการเลี้ยงผึ้ง(Apiculture)


คำถาม เกร็ดความรู้และข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง

         ช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ยุ่ง วุ่นวายกับงานต่างๆ มากมาย จนหายไปจากการเขียน blog ตั้งนาน แต่ช่วงนี้ก็เริ่มจะมีเวลามากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา

         สำหรับการเรียนในวิชาการเลี้ยงผึ้งนั้นในวันที่ 12 ก.ย. 49 เป็นวันที่ อาจารย์เปิดโอกาสในนักเรียนถามคำถาม และข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งต่างๆ ที่ยังสงสัยกันอยู่ โดยให้แต่ละกลุ่ม ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่มด้วยกัน ได้ซักถามในปัญหาที่ยังสงสัยกันอยู่ อย่างน้อยกลุ่มละ 1 คำถาม

         โดยเริ่มแรกอาจารย์ได้อธิบายถึงขั้นตอน และวิธีการจับผึ้ง (ผึ้งโพรงไทย) ด้วยมือเปล่าๆ มาใส่ในกล่องเลี้ยงผึ้ง โดยภาพถ่ายประดอบด้วย และยังให้นักเรียนที่สนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ใน blog ของ beeman (http://gotoknow.org/blog/beesman/45276)เพิ่มเติมได้อีกด้วย

         อาจารย์ยั้งได้อธิบายว่าทำไมผึ้งถึงไม่มีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กัน?  ทั้งๆ ที่ผึ้งทุกพันธุ์มีโครโมโซมเท่ากัน อาจารย์บอกว่า

        1. ในเรื่องของขนาดตัวที่ไม่เท่ากัน : ทำให้ความเหมาะสมทางด้านสรีรวิทยาเข้ากันไม่ได้/ไม่มีความเหมาะสมที่จะผสมกัน

        2. เรื่องของกลิ่น (pheromone) : ผึ้งแต่ละชนิดที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งผึ้งตัวผู้จะจดจำกลิ่นของผึ้งนางพญาชิดเดี่ยวกันได้ และจะตรงเข้าไปหา/ผสมพันธุ์กันผึ้งนางพญาที่มีกลิ่น (pheromone) ที่เป็นชนิดเดี่ยวกับของตัวเองเท่านั้น เพราะว่าผึ้งตัวผู้มีหนวดที่สามารถรับรู้และตรวจจับกลิ่น(pheromone) ได้ดีนั้นเอง

        3. เรื่องของช่วงเวลาการออกบินไปผสมพันธุ์ของนางพญา : ผึ้งในแต่ละสายพันธุ์จะมีช่วงเวลาในการบินออกไปผสมพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด (สามารถดูรูปและข้อมูลของผึ้ง 4 ชนิดนี้ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/beesman/5317 และ http://gotoknow.org/blog/beesman/9276 )

              3.1 ผึ้งมิ้ม : ผึ้งนางพญาจะยินออกไปผสมพันธุ์ในช่วง บ่าย 2 โมง (14.00 น.) เป็นผึ้งทีบินออกไปผสมพันธุ์ก่อนผึ้งชนิดอื่นๆ

              3.2 ผึ้งพันธุ์(ผึ้งเลี้ยง) : ผึ้งนางพญาจะยินออกไปผสมพันธุ์ในช่วง บ่าย 2 โมงครึ่ง  (14.30 น.) ในช่วงฤดูหนาว (พ.ย.) ส่วนในช่วงฤดูร้อน (พ.ค.) จะออกบินในเวลา บ่าย 3 โมงครึ่ง (15.30 น.)       

              3.3 ผึ้งโพรงไทย : ผึ้งนางพญาจะยินออกไปผสมพันธุ์ในช่วง บ่าย 3 โมงครึ่ง (14.30 น.)

              3.4 ผึ้งหลวง : ผึ้งนางพญาจะยินออกไปผสมพันธุ์ในช่วง  5 โมงเย็น (17.00 น.)

             โดยทั้งหมดนี้ผึ้งตัวผู้จะออกบินไปก่อนหน้าที่ผึ้งนางพญาจะออกบินไปผสมพันธุ์ 1-2 ช.ม.

          จากนั้นก็เป็นการเริ่มถามคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง โดยเริ่มจากกลุ่มสุดท้ายไปหากลุ่มแรก

           คำถามข้อที่ 

           1. จะรู้ได้อย่างไรว่าผึ้งที่เราเลี้ยงป่วยหรือไม่ป่วย?

              - ดูได้จากอุจจาระของผึ้ง เพราะว่าผึ้งก็อาจจะท้องเสียได้เหมือนกัน แต้องทำการให้ยา

              - ดูได้จากการบินเข้าออกของรังถ้าคึกคักก็จะไม่ปวย แต่ถ้ามันดูหงอยๆ เปิดรังออกดูแล้วมีผึ้งอยู่จำนวนน้อยแสดงว่าผึ้งในรังนั้นเริ่มมีปัญหาแล้ว

              - สังเกตเห็นช่วงท้องสั้นผิดปกติ เป็นผลมาจากไรศัตรูผึ้งมาดูกินผึ้ง

              - เกิดโรคกับผึ้ง โดยโรคของผึ้งนั้นมีส่วนให้เกิดจาก 3 โรคหลัก

              1. แบคทีเรีย

              2. ไวรัส

              3. เชื่อรา

                โดยส่วนมากมักเกิดในระยะตัวอ่อน

              ข้อที่ 2 รู้ได้อย่างไรว่าผึ้งผสมกับผึ้งตัวผู้กี่ตัว?

                - มีอยู่ 2 วิธี

                   1. ใช้การสังเกตดูด้วยตา : ยุ่งยาก ได้ผลที่ไม่แน่นอน

                   2.ใช้ความรู้ทางด้าน DNA : วิธีดูจาก แถบของ DNA ของผึ้งงาน กับผึ้งนางพญามาเทียบกัน เพื่อสืบไปหาพ่อว่ามีแถบ DNA ขึ้นมาแต่ต่างกันกี่แถบ แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ด๊นั้ เพราะต้องฆ่าผึ้งทั้งรังมาใช้ตรวจสอบ 

               ข้อที่ 3 ฝนตกทุกวันจะทำอย่างไรกับผึ้งที่เลี้ยง (จะให้อาหารได้อย่างไร)?

                  - ต้องผ่าฝนไปให้อาหาร แต่ต้องทำอย่างระวังอย่าให้น้ำเข้ารัง และต้องทำเบาๆ เพราะว่าผึ้งในช่วงนี้จะดุ เนื่องมาจากออกไปหาอาหารนอกรังไม่ได้

               ข้อที่ 4 เหตุที่ผึ้งทิ้งรัง

                   - ขาดแคลนอาหาร : กรณีนี้จะไม่เห็นหลอดที่ปิดเหลืออยู่ในรังเลย เพราะจะรอจนกว่าหลอดที่ปิดออกมาจากหลอดหมดและพร้อมที่จะบินได้แล้ว เมื่อถึงขั้นนี้ก็จะทิ้งรังไป

                   - ศัตรูรบกวน : จะเห็นว่าผึ้งทิ้งรังไปทั้งๆ ที่หลอดที่ปิดยังไม่ออกมาเป็นตัวเลย

               ข้อที่ 5 กล่องเลี้ยงผึ้งจะมีผลต่อพฤติกรรมของผึ้งหรือไม่?

                   - ถ้ากล่องที่เลี้ยงมีสีสด/เข้ม เช่น สีแดง จะทำให้ผึ้งมีนิสัยดุร้ายกว่าพวกที่เลี้ยงในกล่องที่มีสีอ่อนๆ เช่น สีขาว และสีขาวยังช่วยสะท้อนแสงทำให้อุณหภูมิในรังไม่ร้อนจนเกินไป

               ข้อที่ 6 การที่ผึ้งบินมาเล่นหลอดไฟเป็นเพราะอะไร?

                    - ผึ้งเข้าใจว่าเช้าแล้ว

                    - ถ้าฟ้าปิดคือมีเมฆมากจนมืด ผึ้งจะหาทางกลับรังไม่ถูกจึงต้องมาเกาะหยุดพักกันที่หลอดไฟ

                ข้อที่ 7 ถ้าแผ่นรังเทียมหมดแต่ผึ้งมีจำนวนมาก/หนาแน่นต้องการรังเพิ่มจะทำอย่างไร?

                     - ใส่คอนเปล่าได้เลยโดยใส่ระหว่างคอนที่ 6 กับ 7 ผึ้งจะช่วยกันสร้างรังจากคอนเปล่าที่ใส่ให้ โดยเริ่มจากบริเวณขอบๆ ของคอนก่อน  ทั้งด้านบนและล่าง , ซ้ายและขวา แล้วจะสร้างมาเชื่อมติดกันเองตรงกลาง

                     - แต่ก็มีข้อเสียตรงที่บริเวณรอยต่อที่มาเชื่อมติดกันตรงกลางจะต่อได้มีดีเพราะผึ้งวัดได้ไม่ดี ทำให้บริเวณนี้มีช่องของหลอดที่มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่กัน ใช้ว่างไข่/ใช้ประโยชน์อื่นๆไม่ได้

                  สุดท้ายของคาบเรียนอาจารย์ได้ให้ตอบคำถามส่งภายในคาบ 2 ข้อ

                   1. ทำไมน้ำผึ้งที่เก็บไว้ข้ามปีจึงมีสีเข้ม?

                   2. ถ้าไปจับผึ้งโพรงไทยมาจะใส่รังอย่างไรให้ผึ้งโพรงนั้นอยู่ได้?

                   ซึ่งทั้ง 2 คำถามนี้ยังไม่รู้คำตอบที่ถูกต้องจริงๆ ถ้าอาจารย์นำมาเฉลยก็คงจะได้เขียนต่อในโอกาสต่อไป

หมายเลขบันทึก: 49814เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เป็นคน เก็บรายละเอียดมากเลยนะค่ะ สามารถ lacture ที่อาจารย์สอนได้ทั้งหมด นับถือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท