ความสำคัญของนวัตกรรม


ความสำคัญของนวัตกรรม

ความสำคัญของนวัตกรรม

          Jacobson (1992) กล่าวถึงประโยชน์ของนวัตกรรมว่า  ถ้าหากธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิต  รวมทั้งต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนตลอดเวลา รวมทั้งโอกาสในการได้กำไรของธุรกิจเพราะฉะนั้น  อัตราการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์จะสามารถเพิ่มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับโลก
           การจัดทำนวัตกรรมในองค์กรจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ ภาคส่วนในองค์กรนับตั้งแต่ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่  โครงสร้างองค์กรรูปแบบใหม่ ระบบการบริหารจัดการ  กระบวนการทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงแผนงานใหม่ ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในองค์กรด้วย (Damanpour,1996) อย่างมากที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงของธุรกิจในระยะยาว (long-term  stability) การเจริญเติบโตของอัตราผลกำไร (growth)ผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้น (shareholder returns) และความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนรวมทั้งความสามารถในการรักษาตำแหน่งของผู้เล่นที่สำคัญในอุตสาหกรรมได้ และในขณะเดียวกันการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ พร้อมทั้งยังส่งผลให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการดีขึ้นและทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง (Hart, 1996; Davis and Moe, 1997; Cook, 1998; Doyle, 1999;)
รูปแบบของนวัตกรรม
          รูปแบบของนวัตกรรมที่ธุรกิจนิยมในการแข่งขันทางธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภทที่สำคัญ (Johne, 1999) ได้แก่
          ๑.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
          นับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในแง่การสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ โดยนวัตกรรมด้านดังกล่าวจะถูกครอบครองรวมทั้งปรับปรุงคุณภาพให้คงที่และในขณะเดียวกันก็จะทำให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจอย่างถอนรากถอนโคนนับเป็นความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว (Hart, 1996) จะส่งผลช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของตำแหน่งทางการตลาดได้อย่างไม่ต้องสงสัย  โดยผู้ประกอบการจะต้องสามารถวิเคราะห์ถึงความแตกต่างในอรรถประโยชน์หลัก  สาลักษณ์ (Features) ในการใช้งานต่าง ๆ ของตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นประจำและต่อเนื่อง  ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หรือบริการในสายตาของผู้บริโภคและก่อให้เกิดความต้องการในลูกค้าเฉาะกลุ่มได้ในภายหลัง
          ผู้ประกอบการจะสามารถตั้งราคาขายผลิตภัณฑ์หรือบริการในราคาที่สูงกว่าปกติ(Premium  price)ผู้บริโภคอาจได้รับการตอบสนองจากธุรกิจในรูปแบบใหม่ ๆ
          ๒.นวัตกรรมกระบวนการ
          นวัตกรรมกระบวนการนับว่าเป็นการรวบรวมคุณภาพของรูปแบบการใช้งานที่มีอยู่รวมทั้งการรับซื้อกระบวนการทางธุรกิจ (Cumming, 1998) รูปแบบดังกล่าวนับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่หากผู้ประกอบการมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด  นวัตกรรมกระบวนการจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตของธุรกิจ  ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลงและผู้บริโภคจะได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีราคาลดต่ำหรืออาจจะได้รับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นแต่ราคาคงเดิม
         ๓.นวัตกรรมการตลาด
         รูปแบบนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการกำหนดว่าจะเลือกแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการในตลาดใดที่เหมาะสมที่สุด  ทั้งนี้นวัตกรรมตลาดมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ (Johne, 1999)
         ๓.๑ การกำหนดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพรวมถึงรูปแบบใหม่ในการนำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการ และวิธีเข้าสู่ตลาด
          ๓.๒ วัตถุประสงค์ที่สองของนวัตกรรมตลาดเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ประกอบการจะต้องสามารถคัดเลือกตลาดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
         ทั้งนี้ Mathur และ  Kenyon  (1997) ได้กล่าวถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างโดยในบางครั้งอรรถประโยชน์หลักในผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกัน ผู้บริโภคอาจมีความต้องการในการบริโภครวมทั้งมุมมองในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่แตกต่างกัน โดยนักการตลาดได้แบ่งผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภทสำคัญ ดังนี้
         -  ผู้บริโภคที่เน้นผลิตภัณฑ์ (Commodity-buy mode) จะเป็นผู้บริโภคที่มีความรู้หรือได้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นอย่างดีแล้ว ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะใช้ระดับราคาเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ
         - ผู้บริโภคเน้นการใช้งาน (Product-buy mode) จะเป็นผู้บริโภคที่มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างดีเช่นกัน แต่มีการแสวงหาในข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้งานพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานพื้นฐาน และยินดีที่จะพร้อมจ่ายค่าราคาส่วนเพิ่ม (Premium price)
คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 496970เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท