อบรมวิทยฐานะ


การบริหารจัดการสถานศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ

3.1 ผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น

จริยธรรม (Ethics)

“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้

- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

3.2 วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

จรรยาบรรณวิชาชีพ 9 ข้อ

จรรยาบรรณต่อตนเอง

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและ

วิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

พฤติกรรม

1. ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ต่อวิชาชีพอยู่เสมอ

ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนธรรมเนียมของทางราชการมีผลงานที่แสดงถึงการค้นพบและพัฒนาความรู้ ความคิด ในวิชาชีพส่งเสริมครูในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้การอบรมในโอกาสต่าง ๆจัดแผนการทำงานโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและก้าวทัน

การเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วยตนเอง

ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรักศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพ

พฤติกรรม

แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของตนเองและวิชาชีพปกป้องชื่อเสียงและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้และชื่นชมร่วมกัน

4. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน

ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อให้ครูพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับงานของตนเองและของผู้อื่นด้วย

ความเต็มใจ

ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพและนำเสนอผลงาน

ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ร่วมประชาสัมพันธ์งานของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

3.3 การมีจิตสำนึก ความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ

บทบาทสำคัญของผู้บริหารที่ควรจะเป็นเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 8 ด้าน คือ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2549 ข : 11-14)

1) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปรับกระบวนทัศน์ไปสู่การทำงานใหม่ที่ทำงานแบบ องค์รวม เน้นการทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ มีระบบการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ผู้บริหารต้องตระหนักในภารกิจหน้าที่ ในการชี้นำองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ สร้างวิสัยทัศน์ร่วม การสร้างความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจที่จะไปสู่ภาพอนาคตร่วมกัน ทำให้ทุกคนมีความเข้าใจร่วมกันในวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ผู้บริหารต้องทำหน้าที่มอบหมายงานให้สอดคล้องกับความสามารถของบุคคล ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ในการสร้าง แรงบันดาลใจ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่น มุ่งมั่นในภารกิจหน้าทีที่ตนกระทำอยู่ รวมทั้งยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างที่จะนำไปสู่การพัฒนาองค์การให้ดีขึ้น ผู้บริหารต้องมีระบบการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ตอบแทนผลงานอย่างเป็นธรรม

2) สร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงให้กับข้าราชการ โดยการส่งสัญญาณให้ข้าราชการตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนการทำงาน ผู้บริหารมีหน้าที่กระตุ้นเร่งเร้าให้ข้าราชการเข้าใจและตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น และความจำเป็นที่ข้าราชการต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง

3) สร้างความร่วมมือในการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์กร ผู้บริหารต้องเป็นผู้ชี้นำและระดมความร่วมมือ ในลักษณะร่วมคิดร่วมทำให้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์การเกิดขึ้นจากความเข้าใจร่วมกัน สอดคล้องกับทิศทางการทำงานและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

4) มีตัวชี้วัดผลงานที่ชัดเจน การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และกำหนดให้มีตัวชี้วัดตลอดระยะเวลาการบริหารราชการ

5) สื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยน ใช้การสื่อสารทำความเข้าใจกับข้าราชการในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น ประชุมฝ่ายบริหาร การประชุมประจำเดือน (ผู้บริหารพบข้าราชการ) การประชุมในระดับสำนัก/กอง การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เป็นต้น การสื่อสารในเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญในเรื่องนั้น ๆ เป็นฝ่ายที่เข้าถึงผู้ปฏิบัติงานโดยไปถึงสถานที่ปฏิบัติ รับฟังความคิดเห็น เข้าร่วมฟังการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ เป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อประมวลปัญหาและหาทางแก้ไข

6) มอบอำนาจให้แก่ผู้ปฏิบัติ มอบอำนาจให้ผู้ปฏิบัติงานรองลงมาให้สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มอบอำนาจเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสได้ใช้ศักยภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ภายใต้การกำกับดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำของผู้บริหาร มอบอำนาจเพื่อให้เกิดการทำงานในลักษณะของทีมงาน หรือคณะกรรมการ/คณะทำงาน การมอบอำนาจมีหลักการที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ความรวดเร็ว และลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ให้การทำงานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

7) ผลักดันงานในลักษณะที่เห็นผลเร็ว จำแนกประเภทงานในองค์การ โดยให้ความ สำคัญกับงานในลักษณะที่เห็นผลเร็ว เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่น ในงานต่อ ๆ ไป ว่าจะสามารถทำให้ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน

8) ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์การ โดยเสนอมุมมองใหม่ในการทำงาน เสริมสร้างความเข้าใจให้สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยวิธีการให้ข้าราชการได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Action Learning) การจัดเตรียมและกำหนดกรอบทิศทางกระบวนทัศน์ใหม่ หรือคุณลักษณะข้าราชการที่พึงประสงค์ โดยวางแนวทางการพัฒนาเพื่อไปสู่ทิศทางใหม่ให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจน การสร้างความศรัทธาและความเชื่อมั่นไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินการปรับเปลี่ยน กำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นหลักการในการดำเนินการปรับเปลี่ยน

หมายเลขบันทึก: 495921เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท