เด็กที่เกิดจากบิดาที่มีสัญชาติไทย(มารดาเป็นคนต่างด้าว)ซึ่งเกิดในศูนย์พักพิงชั่วคราว


นอกจากนี้ ผู้รับแจ้งการเกิดในศูนย์พักพิงชั่วคราว ก็ลงรายละเอียดในหนังสือรับรองการเกิดว่าบิดา(นายไนท์)เป็นชาวพม่าด้วย

เป็นอีกวันที่มีกรณีเจ้าของปัญหาเร่งด่วนเข้ามาอีกแล้วครับ ข้อเท็จจริงคล้ายกับเรื่องเมื่อวานนี้เลย

คราวนี้เป็นน้องที่เกิดเมื่อปีที่แล้วนี้เอง

นายไนท์ คนสัญชาติไทย ได้เข้ามารับคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับด.ช.ซันเมี๊ยไมทา บุตรชาย

ข้อเท็จจริงจากคำบอกเล่าของนายไนท์ในเบื้องต้นคือ นายไนท์ได้อยู่กินกับนางซันดาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส โดยที่นางซันดาเป็นผู้หนีภัยความตายจากประเทศพม่าเข้ามาอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวในฝั่งไทย ต่อมานางซันดาได้ตั้งครรภ์และคลอดด.ช.ซันเมี๊ยไมทาในศูนย์พักพิงชั่วคราวเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๑๕๕๔ นอกจากนี้ โดยนางซันดาได้ให้คนที่รู้จักกันไปแจ้งการเกิดแทน ผู้รับแจ้งการเกิดในศูนย์พักพิงชั่วคราวไม่ได้ลงรายละเอียดในหนังสือรับรองการเกิดว่าบิดา(นายไนท์)มีสัญชาติใดๆ และออกสูติบัตรบุตรที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน(ท.ร.๐๓๑) 

จนถึงปัจจุบันนี้ด.ช.ซันเมี๊ยไมทา มีเอกสารรับรองรับรองการเกิดเพียงฉบับเดียวคือสูติบัตร(ท.ร.๐๓๑) ที่ออกโดยนายทะเบียนประจำศูนย์พักพิงชั่วคราว ด้วยความเป็นห่วงในสถานะบุคคลและสิทธิของบุตรชายไนท์จึงพาได้พาด.ช.ซันเมี๊ยไมทา ไปตรวจเลือดและดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาและบุตรกันจริง(ผลการตรวจนั้นนายแพทย์ที่ตรวจได้ลงความเห็นว่า ด.ช.ซันเมี๊ยไมทาเป็นบุตรของนายไนท์จริง)

 

ตรงนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆจากที่ได้พูดคุยกับนายไนท์ในวันนี้เท่านั้น เนื่องจากเป็นการคุยอย่างเร่งด่วน และไนท์เองยังไม่มีเอกสารใดๆแสดงยืนยันข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง จึงให้นายไนท์ไปนำพยานเอกสารมายืนยันอีกครั้ง

 

กรณีนี้คล้ายกับกรณีเมื่อวานนี้มาก แต่ว่าแตกต่างกันตรงรายละเอียดที่ด.ช.ซันเมี๊ยไมทาเกิดในศูนย์พักพิงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริง(ซึ่งตอนนี้ยังต้องรอเอกสารยืนยันความชัดเจนอีกครั้งเนื่องจากเป็นการพูดคุยปากเปล่าเท่านั้น ไม่มีเอกสารมาประกอบการรับการปรึกษา) ในเรื่องสัญชาติของด.ช.ซันเมี๊ยไมทานั้น ย่อมอยู่ภายใต้ก็อาจใช้มาตรา๗(๒)แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ(ฉบับที่๒ และ ฉบับที่ ๓)พ.ศ.๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติ(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ กล่าวคือ ด.ช.ซันเมี๊ยไมทาเป็นผู้ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนเพราะเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ(ฉบับที่๒ และ ฉบับที่ ๓)พ.ศ.๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติ(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ เนื่องจากเป็นผู้ที่เกิดจากบิดาที่มีสัญชาติไทยซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาแลเกิดในราชอาณาจักรไทย

 

 

หมายเลขบันทึก: 495341เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปัญหาใหญ่ ที่กฏหมาย ==> ชัดเจนแค่ไหน? นะคะ

ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีดีนี้นะคะ

เรื่องนี้น่าสนใจค่ะ เป็นเรื่องที่พบเรื่อยๆ ความรักระหว่างชายสัญชาติไทยและหญิงผู้ลี้ภัย เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานแล้ว ก็สรุปข้อเท็จจริงอีกทีนะคะ

อ.แหววรู้สึกว่า อยากจับประเด็นและเขียนวิเคราะห์ข้อกฎหมายทั้งในเรื่องของน้องหนึ่ง+สอง และเรื่องของ " ซันเมี๊ยไมทา" (ชอบชื่อน้องมาก) และอยากเห็นหน้าน้องทั้งสามมากค่ะ ถ้ามีรูป ก็ส่งมาดูด้วยก็ดีนะคะ

ตอนนี้กำลังรวบรวมพยานเอกสารของพ่อ แม่ และของน้องๆครับ เพื่อความชัดเจนของเอกสาร แล้วจะสรปแนวทางการพัฒนาสิทธิอีกครั้งครับ

ขอบคุณอาจาย์แหววมากครับที่ให้คำแนะนำกับ"มือใหม่" และขอบคณพี่สมศรีที่ติดตามอ่านบทความครับ

กรณีศึกษาเด็กชายซันเมี๊ยไมทาแห่งอำเภออุ้มผาง : คนที่มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา ซึ่งมีมารดาเป็นคนหนีภัยความตายในค่ายผู้ลี้ภัย

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495502

ขออนุญาตช่วยโจ้งทำความเห็นกฎหมายเพื่อยื่นเพิ่มชื่อน้องซันเมี๊ยไมทาต่ออำเภออุ้มผางค่ะ

คันมือค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท