chacha2907
ฝ่ายอำนวยการ สพจ.ปทุมธานี CDD Pathum thani

การเตรียมความพร้อมเพื่อประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจ


การประกวดหมู่บ้าน

ชื่อ นางวาสนา นามสกุล ซาตะนัย
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160
โทรศัพท์ 089-1188032 / 089-982-5035
ชื่อเรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมในการประกวดหมู่บ้าน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2555 และวันที่ 1 มิถุนายน 2555
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านศาลาแดง หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

เนื้อเรื่อง
อำเภอสามโคก ได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นหลักในการพัฒนา โดยใช้เกณฑ์การประเมินเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้วยตัวชี้วัด 6X2 และการจัดระดับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยเกณฑ์ตัวชี้วัดกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ซึ่งบ้านศาลาแดง ได้มีการพัฒนาตามแนวทาง และผลการจัดระดับการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน พออยู่ พอกิน ประกอบกับได้รับการสนับสนุนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน โครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2555 ซึ่งได้ดำเนินการตามแนวทางตามยุทธศาสตร์ และมีการประเมินความสุขมวลรวมแบบมีส่วนร่วม ของหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 โดยใช้วิธีการประเมินแบบมีส่วนร่วม ตามเกณฑ์ 6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด ซึ่งครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ได้ทำการประเมินได้ค่าคะแนนอยู่ในระดับ 80 คะแนน จัดเป็นหมู่บ้าน อยู่ดี มีสุข พร้อมทั้งประเมินขั้นตอนปรอทวัดความสุข ในเวทีให้ค่าคะแนน 80

กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินงานโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี2555:
กระบวนการเชิดชูเกียรติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนที่มีผลงาน และกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะชน โดยกำหนดให้มีกิจกรรมที่จะเข้ารับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโล่รางวัลสิงห์ทอง รวม 4 ประเภท ดังนี้

1. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่น ระดับจังหวัดๆ ละ 1 หมู่บ้าน
2. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ระดับจังหวัดๆ ละ 2 คน
3. กลุ่ม/องค์กรชุมชน แกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านดีเด่น ระดับจังหวัดๆ ละ 1 กลุ่ม
4. ศูนย์ประสานงานองค์การชุมขนระดับตำบล (ศอช.ต.) ดีเด่น ระดับจังหวัดๆ ละ 1 แห่ง
คุณสมบัติของหมู่บ้าน/กิจกรรมพัฒนาชุมชน ที่จะเสนอชื่อเข้าร่วมการคัดเลือก
1. ส่งเสริม สนับสนุน ให้หมู่บ้านผ่านการประเมินตามระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) ประเภทชุมชน หรือกำลังสมัครเข้าสู่ระบบ มชช. ในปี 2555
2. อันดับแรกให้พิจารณาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในปี 2552-2555 เป็นหลักก่อน หากไม่มีให้พิจารณาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลการพัฒนา แบบองค์รวม กล่าวคือ หมู่บ้านนั้นต้องมีกิจกรรมพัฒนาชุมชนที่หลากหลายและประสบผลสำเร็จ สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้านอื่น ทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ต้นแบบ ให้แก่ชุมชนอื่นๆ ได้
โดยให้อำเภอคัดเลือกหมู่บ้านที่มีกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้ง 4 ประเภท ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นตัวแทนของอำเภอเพื่อเข้าร่วมคัดสรร ระดับจังหวัด ซึ่งอำเภอสามโคกได้คัดเลือกหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

 ข้าพเจ้าซึ่งเป็นพัฒนากร ผู้รับผิดชอบตำบลเชียงรากน้อย แน่นอนจะต้องมีการเตรียมความพร้อมการประกวดในครั้งนี้ อันดับแรกที่จะต้องทำ

1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อแจ้งเรื่องที่อำเภอได้คัดเลือกหมู่บ้านศาลาแดง เป็นตัวแทนระดับอำเภอ เข้าร่วมประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น
2. นัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ประชาชน ผู้นำ อช. ชาย-หญิง ในหมู่บ้านศาลาแดง แจ้งเรื่องหลักเกณฑ์แนวทางการคัดเลือก และประโยชน์ของการประกวด
3. กำหนดกิจกรรม/ภารกิจที่ต้องดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกวด
- การปรับปรุงภูมิทัศน์ของหมู่บ้าน
- เตรียมเอกสารข้อมูลในการประกวด ทั้ง 4 ประเภท ทั้งเป็นรูปเล่ม และวีดีโอ
- เตรียมจุดตัวอย่างในการเยี่ยมชม หลังจากตอบข้อซักถามของคณะกรรมการเสร็จแล้ว
- เตรียมสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวกในการประกวด และรับคณะกรรมการ

4. มอบหมายแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้
- คนกล่าวต้อนรับคณะกรรมการ
- วิทยากร แนะนำผู้นำชุมชน/กลุ่มองค์กร
- ผู้นำเสนอข้อมูลของหมู่บ้าน / กลุ่มองค์กร
5. นัดวันซักซ้อมเตรียมการประกวด 1 วัน
6. ทำหนังสือประสานภาคีการพัฒนา เพื่อร่วมเป็นเกียรติ และกำลังใจให้แก่หมู่บ้าน ในวันประกวด ซึ่งได้ดำเนินการในวันที่ 1 มิถุนายน 2555


• แก่นความรู้
1. หมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชน ต้องมีการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาชุมชนเด่นชัด เป็นรูปธรรม และเห็นผลชัดเจน ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนที่มีผลงานเด่นชัด กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน และศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล
2. ผู้นำชุมชน/กลุ่มองค์กร ประชาชน ในหมู่บ้านมีส่วนร่วมกิจกรรมการพัฒนาของหมู่บ้าน ด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เล็งเห็นประโยชน์ร่วมกันของหมู่บ้าน และมีความพร้อมที่จะพัฒนาหมู่บ้านของตนเองด้วยความเต็มใจ
• กลยุทธ์ในการทำงาน
1. แจ้งผู้นำชุมชนว่าถ้าได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข ระดับจังหวัด จะได้รับโล่รางวัล และมีการเผยแพร่สู่สาธารณะชน
2. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้านอย่างเป็นกันเอง
3. การประสานงานกับผู้นำในระดับท้องถิ่น ตำบล หมู่บ้าน
4. หาตัวแทนเยาวชนที่มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์จัดทำวีดีทัศน์ ประกอบคำบรรยายในการต้อนรับ
5. พัฒนากรช่วยเหลือในด้านการจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่ม
• กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. แนวทางการดำเนินงานโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น ปี 2555
3. หลักการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
4. หลักการมีส่วนร่วม
5 ภาวะผู้นำ/บทบาทผู้นำ

หมายเลขบันทึก: 495339เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท