อึ้งคนไข้บอก “ด้วยความหวังดีแบบนี้ฉันไม่อยากรับ”


“ด้วยความหวังดีแบบนี้ฉันไม่อยากรับ” เพราะมันทำให้ฉันกลายเป็น จำเลยที่ต้องมาถูกซักถามคำถามที่ฉันรู้แต่ฉันตอบตามวิชาการหมอไม่ได้ ไม่ต้องหวังดีกับฉันมากก็ได้ ฉันดูแลแม่ฉันได้”

         วันนี้สำหรับที่แผนกผู้ป่วยนอกนั้น  ดูจะไม่ยุ่งมากเท่าไร ซักประวัติได้เร็ว แพทย์ อยู่ Full  ไม่ต้องถึงมือพยาบาลเวชฯ อย่างชลัญในการช่วยตรวจคนไข้ 

            ขณะนั้นเอง  เหลือเวลาอีก 15 นาทีจะเป็นเวลาพักกลางวัน  น้องผู้ช่วยพยาบาล  เดินมาบอก 

            “ พี่โจ้  แพทย์ อธิคมเชิญในห้องตรวจค่ะ”

ชลัญคิดได้ในทันทีว่า  ถ้าไม่มีเรื่องฮาสุดๆ  ก็น่าจะ เป็นเรื่อง  ปัญหาของคนไข้ที่ แพทย์ต้องการให้พยาบาลดูแลต่อเป็นแน่  เพราะปกติจะไม่เรียกเข้าไป

            พอชลัญเปิดประตูเข้าไป แพทย์ ดูจะหงุดหงิดว่ามาช้าไปหน่อย 

            “ พี่โจ้ ปิดห้องด้วย”

            ชลัญทำตามความต้องการของแพทย์  แต่ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าวันนี้มาไม้ไหน  ทำไม ดูเครียด เพราะปกติท่านเป็นแพทย์ที่อารมณ์ ดีทีเดียว 

            ชลัญสังเกตเห็นคนไข้  หญิงสูงอายุ น่าจะ 80 ปี ขึ้นไป  นั่งอยู่บนรถเข็ญ  มีหญิงอีกคนน่าจะอายุราวๆ  50 กว่าปี  นั่งข้างๆ  แพทย์ บอก “พี่โจ้  เชิญนั่งเก้าอี้”

            “เอ้ามาไม้ไหน  คิดในใจ “

            แล้วแพทย์ อธิคมก็เริ่ม  “ เอาป้าพูดไป”

          ป้าญาติผู้ป่วยเริ่มเล่าด้วยความอัดอั้น “ฉันไม่อยากพายายมารับยาที่ โรงพยาบาลเลย  ฉันกังวลทุกครั้งที่ฉันจะต้องมา  มาเมื่อไหร่ ฉันโดนต่อว่าตลอด  6 ครั้ง คือ 6 เดือนที่ฉันต้องพาแม่มารับยา ฉันไม่เข้าใจว่าทำไม จะต้องมาคาดคั้นฉัน ให้ตอบนี่นั่น  ฉันจบแค่ ป.4 ฉันไม่สามารถเรียบเรียงได้หรอกว่า การดูแลคนไข้ที่กินยาวาฟาร์ริน ในโรคหัวใจนั้น มันต้องมีข้อง 1 -10 อะไรบ้าง  แต่ฉันรู้ว่าแม่ฉันปกติเป็นอย่างไร  ผิดปกติเป็นอย่างไร  ยาฉันเอาให้กินได้ ตลอด ไม่ต้องมาคาดคั้นว่าไอ ที่ถูกน่ะทำอย่างไร  ฉันพูดไม่เป็น  แต่ฉันทำได้  ไม่งั้นแม่ไม่อยู่กับฉันจนอายุ 84 ปี แบบนี้หรอก  วันนี้ฉันทนไม่ได้  ฉันขอบอกหมอใหญ่ นี่แหล่ะ”

            ฟังถึงตรงนี้ชลัญต้องขออนุญาต หยุด คนไข้ไว้ก่อนเพราะ งง มาก 

            “เดี๋ยว ๆๆๆ ทั้งคนไข้ แพทย์  พยาบาลงง มาก เกิดอะไรขึ้น  เฮ้ย หมออธิคม  พี่โจ้ ยังไม่เคยเจอคนไข้ case นี้แน่นอน”

            “ หมออธิคม นั่งเอามือกอดอก พิงพนักเก้าอี้ สีหน้าเคร่งเครียด  “ ไม่ใช่พี่โจ้”

อ้าว แล้วไป  ใจหายแว๊บเลย  ปกติชลัญเป็นนางฟ้า สีขาวน่ะ อิ อิ

          หมออธิคมพูดต่อ  ผมไม่เข้าใจว่า  พยาบาล  หรือทีมงานที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้ คิดยังไง  เราต้องเข้าใจ nature เขา  เขามา โรงพยาบาลยังต้องมาให้เขาทำข้อสอบเหมือนนักเรียน  ผมจะฝากให้พี่โจ้จัดการให้หน่อย  ดูระบบการให้ความรู้และการประเมินคนไข้และญาติว่า  เขามารับยามารับการรักษา ไม่ได้มาสอบเข้ามหาวิทยาลัย”

            ชลัญถอนหายใจ โล่ง อก  นึกว่าผีบ้าเข้าสิงชลัญ กินหัวคนไข้ แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เข้าให้ 

            และก็เลยหันไปคุยกับคนไข้  ว่าเหตุการณ์มันเกิดที่จุดหน  ผู้ป่วยเล่าให้ฟังอย่างละเอียด  แต่ไม่ขอกล่าวในที่นี้ จะเป็นการกล่าวหาคนอื่น เพราะเราไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ 6 ครั้งที่ว่านั้น  แต่ก็รู้สึกใจหายแว๊บ 

            “นี่งานคุณภาพของโรงพยาบาลมันทำให้ผู้ป่วยและญาติทุกข์ขนาดนี้หรือ  มิน่าถึงมีคนตัดสินใจไม่มารักษา ทั้งๆ ที่มีโอกาสรักษา  ชลัญเพิ่งเข้าใจ”

            ชลัญจึงตอบป้าไปคำหนึ่งที่เป็นคำพูดที่กลับมาแทงใจชลัญ  อย่างเจ็บปวดที่สุดคือ

            “เขาหวังดีกับป้าและยายน่ะ นะ”

            ป้าบอกว่า “ด้วยความหวังดีแบบนี้ฉันไม่อยากรับ”  เพราะมันทำให้ฉันกลายเป็น จำเลยที่ต้องมาถูกซักถามคำถามที่ฉันรู้แต่ฉันตอบตามวิชาการหมอไม่ได้  ไม่ต้องหวังดีกับฉันมากก็ได้  ฉันดูแลแม่ฉันได้”

            อึ้งซิค่ะ  ชลัญพูดไม่ออก   ได้แต่กล่าวขอโทษ แทนระบบพัฒนาคุณภาพของเราที่ อาจหวังดีกับผู้ป่วยเกินไป จนเขารู้สึกอึดอึด  

            เรื่องนี้มันทำให้ชลัญคิดอะไรได้อีกมากมาย  ในการที่จะต่อยอดการบริการที่ดี ที่ทำให้คนไข้ และญาติ  นั้น  เข้าใจความหวังดี  ที่พอดี  ในการให้บริการทางการแพทย์  แต่ปัญหา คือ  แล้วชลัญจะไป control ผู้อื่นได้อย่างไร  ..... นั่นเอง

 

 

ชลัญธร   ตรียมณีรัตน์ 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 495216เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เราพยาบาลส่วนใหญ่ จะให้คำแนะนำ แนะนำ แนะนำ ไปเรื่อยๆจนบางครั้งลืมว่า "การให้ที่มีประโยชน์และมีคุณค่า ผู้รับต้องอยากรับด้วย"

 

เจอแบบนี้อึ้งจริงๆ

ใจเขาใจเราเนอะ...

ก็แล้วแต่คนป่วยน่ะครับ สำหรับผมอยากได้ความรู้เยอะๆ ครับ

  • บางกรณี..กลายเป็นเรื่อง.."หวังดี..ผลออกมาร้าย"...

  • เปิดโอกาสให้เขาเล่า..อย่างที่อยากเล่า..มากกว่าซักไซร้มากเกินไปดีไหมคะ??

อยากให้นักศึกษาแพทย์มาอ่านบทความนี้ค่ะ.. คุณโจ้ ช่างจับจุดมาเล่าได้จับใจดีแท้ การแนะนำ โดยคนฟังไม่อยากรู้ ก็เหมือนการให้ยา ในคนที่ไม่มี recepter นะค่ะ

บางครั้งมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ  เพราะการซักคนไข้มากเกินไปซ้ำยังใช้ศัพท์แสงที่

ยากต่อการเข้าใจของคนไข้  แต่เป็นความคุ้นชินของหมอ  มักทำให้คนไข้ขยาด

อย่างบันทึกนี้  สงสัยต้องมีการปรับอีกนิดหน่อยนะคะ

This may also tell us why people go to 'traditional healers' (magic) rather than 'westernized doctors' (scientific).

In magical worlds all our (silent) wishes will be granted. But in scientific ways, only explicit needs can be satisfied and satisfied 'exactly'. People are fuzzy - and we are all not 'exact' (copies of what we want to be). ;-)

ในงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลนั้น การให้ความรู้ผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง การใช้ยา ที่ถูกต้องนั้น จะต้องมีการประเมินว่าเขามีความเข้าใจตามนั้นจริงหรือเปล่า บางครั้งบางงานต้องให้ผู้ป่วยท่องให้ได้ ตามที่ระบุไว้ บางงานต้องให้ผู้ป่วย ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ตนเขียนไว้ 1 2 3 4.... ตอบสลับข้อต้องให้ตอบใหม่ ประมาณนี้ซึ่งการประเมินแบบนี้มันคงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด เมื่อตอบไม่ได้อาจโดนต่อว่า ทำให้รู้สึกไม่ดี ซึ่งตรงนี้อาจอยู่ที่เทคนิคผู้สอนแต่ละคนด้วย คงไปเจอคนที่เขาเข้มงวดเข้าน่ะ ถึงทำให้รู้สึกได้ขนาดนี้

อย่างที่บอกล่ะค่ะ "ด้วยความหวังดี" แต่ มันกลับหวังดีแบบล้ำเส้นไปนิดตรงนี้ ในส่วนของแผนกผู้ป่วยนอกนั้นชลัญได้แจ้งหัวหน้าแล้ว หัวหน้ารับทราบปัญหา และพร้อมแก้ไข แต่ในส่วนของจุดบริการอื่นนี่ต้องฝากแพทย์ประสานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท