กลยุทธ์สื่อสารในการเมือง ๑


กลยุทธ์สื่อสาร, สื่อสารการเมือง,

    นายก(มือใหม่) หัวใจประชาชน..หนังทีวีดี ๆ ของญี่ปุ่น..(ตัวอย่างการเรียนรู้เรื่องสื่อสารการเมืองชั้นเยี่ยม)

                จะเป็นความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ทีวีเรื่อง Change มีปมที่น่าสนใจมาก เกี่ยวกับเรื่อง เด็กและความเป็นเด็ก ๆ  (หาชมได้จาก youtube นะ ในชื่อไทยว่า นายกมือใหม่ หัวใจประชาชน)

                เมื่อญี่ปุ่น ประสบภัยซึนามิครั้งใหญ่ ก็ทำให้โลกตะลึงกับ วินัยอันแน่วแน่ เคร่งครัด สุขุม และอ่อนโยนของชนชาตินี้ เราเองไม่เคยไปญี่ปุน(อยากไปเห็นกับตาเหมือนกันนะ) ไม่รู้ว่า การสร้างคนรุ่นใหม่ ๆ ของญี่ปุ่น เป็นอย่างไร   แต่หนังทีวีเรื่อง “Change” นี้ พูดถึงเด็กอย่างน่าสนใจ..

                ตั้งแต่ตอนแรก.. ทีวีฉายภาพเด็กในโรงเรียนประถม (ป ๕)   .. เด็กที่เป็นเด็ก ๆ  ไม่ชอบฟังครูสอน เห็นเป็นเรื่องน่าเบื่อ ชอบล้อเลียนครู ชอบตั้งคำถามแต่ไม่ฟังคำตอบ..ชอบท้าทายความคิด ด้วยความซุกซน...  ถ้าเป็นเมืองไทย เด็กพวกนี้คงอัดเละ..แต่ในหนัง ( หนังนะครับไม่ใช่เรื่องจริง)  ครูเคตะ  กลับไม่ถืออารมณ์เป็นที่ตั้ง  ทั้งที่รู้ว่าเด็กตั้งใจป่วนตนเอง..  พยายามจูงใจ สอนเด็ก ด้วยความรักและเข้าใจเด็ก    ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เป็นจริงในสังคมญี่ปุ่น.. ก็ถือเป็นระบบการศึกษาที่น่าทึ่ง เชื่อว่า เด็กที่ผ่านเบ้าหลอมเช่นนี้ ย่อมมีความรักและห่วงใยคนอื่นๆ อยู่เต็มหัวใจ

                เด็กมักถูกมองจากทุกสังคมว่า ด้อย ยังไม่พร้อม (ด้วยวัยและความรู้ความสามารถ)  ซึ่งอาจเป็นความคิดของสังคมเกือบทุกระบบ(และในสังคมไทยด้วยเช่นกัน)  แม้แต่ในหนังทีวีเรื่องนี้ ฐานะของความ “ด้อย” ของเด็ก ก็ถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อขับเน้นความลึกซึ้งของเนื้อหาอยู่บ่อยครั้ง 

                ในญี่ปุ่นมีอาชีพ เป็นร้อยเป็นพันอาชีพ เราชอบใจจริงๆ ที่ บทในหนัง กลับคัดเลือกเอา “ครู” ของเด็กประถม ในเมืองฟูกูโอกะ  เป็นอาชีพเดิมของพระเอก  (โปรดสังเกตุว่า เป็นครูประถม และต้องเป็นเมืองฟูกูโอกะ..ด้วยนะ) ในหนังทีวีเรื่องนี้ เราว่าผู้ช่วยพระเอกที่สำคัญ คือ เด็กนักเรียนนี่เอง

                เมื่อเด็กในห้อง ตั้งคำถามกวนประสาท ถึงชื่ออาหาร  ดูจากเรื่องแล้ว ครูไม่รู้หรอกว่าทำไมอาหารชนิดนั้นถึงชื่อนั้น..แต่ก็ไม่ตอบมั่ว.ๆ  แต่เลือกที่จะหยุดคำถามไว้ก่อน แล้วมาต่อกันที่บทเรียน...แต่ไม่หน่อมแน้มนะ..เพราะช่วงถูกเด็กลามปาม เล่นเรื่องหัวนั้น ครูก็หันไปดุอย่างจริงจัง เรียกว่าเล่นสองบทบาทในช่วงเวลาเพียงนาทีเดียว  ช่วงบทสนทนาสั้น ๆ นี้ สะท้อนให้เห็นถึงบุคคลิกของตัวเอก ต่อความเคารพของสิทธิผู้อื่น อย่างลึกซึ้ง แต่ง่าย ๆ

                ไม่ว่านักการเมือง ครู ทหาร หรืออาชีพไหนๆ   ถ้าปฎิบัติต่อผู้ด้อยกว่า ด้วยความเคารพ อย่างชัดเจน ไม่ก้าวร้าวและไม่หวาดกลัว ก็นับเป็นบุคคลิกที่น่าทึ่ง  (ดังคำพระที่ว่า ด้วยโยนิโสมนสิการ นั่นเอง)   จึงไม่แปลกที่จะภาพนักการเมือง “สร้างภาพ” อุ้มเด็ก จูงเด็ก ให้เด็กนั่งตัก.. พูดถึงเด็กอย่างโน้นอย่างนี้...เสมอ ๆ  

บางทีเด็กก็ถูกหลอก และบางทีเราก็เห็นภาพ การหลอกลวงที่หยิบยืม “ความเป็นเด็ก ๆ”  มาหลอกใช้บ่อยๆ

                “คุณไม่คิดจะสร้างอนาคตอันสดใส ให้แก่เด็ก ๆ บ้างหรือคะ”... เป็นคำถามเชิงท้าทายแก่พระเอก  แปลกจริงที่ยกเด็กมาเป็นเป้าหมาย แทนที่จะยกเรื่องเกียรติยศของครอบครัว  ชื่อเสียงโด่งดังของตนเอง หรืออนาคตสดใส  หรือเป็นเพราะตัวเอกนั้น เป็นครู.หรือจะหลอกกัน อย่างย่อหน้าก่อนว่าไว้

“คิดว่าถ้าให้คนไม่ประสีประสาทางการเมือง เป็นนายกฯ สัก ๓ เดือนนี้ ประเทศจะไปรอดไหมครับ”     เป็นคำพูดที่ คัมบายาชิ  เปรียบถึงตัวเอกเหมือนเด็กน้อย เมื่อตนเองกำลังจะเชิดหุ่นขึ้นเป็นนายกฯ  (แนวคิดนี้ คุณอภิสิทธิ์ เองก็เคยถูกเปรียบเทียบเป็น เด็กน้อย ในวงการเมืองด้วยเช่นกัน..แต่ดูไม่ออกว่าใครกัน คือ คัมบายาชิ...)

บทเน้นเรื่องเด็กมาก  ในนโยบายสำคัญที่กำหนดให้ตัวเอกหาเสียง ก็เจาะจงให้พูดถึงนโยบายเด็ก  (หมาแมวในญี่ปุ่น มีมากกว่าเด็กเสียอีก ไม่พูดถึงเรื่องเงินกู้สร้างบ้าน, ขนส่งไฟ้ฟ้า, รถใต้ดิน, ถมทะเล, ปราบยาบ้า ฯลฯ )

โดยเฉพาะวรรคทองของตัวเอก ที่ผลักดัน ให้พระเอก ได้รับคะแนนเสียงอย่างเหลือเชื่อ (ตามบทหนังนะ) ...  

“... เรื่องของการรับสินบน....พ่อบอกผมว่า .บนเส้นทางการเมือง ต้องใช้เงิน...มีคนมากมายให้การสนับสนุน สำหรับคนเหล่านั้น เหตุผลของการรับเงินอาจเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ว่าการเมืองไม่อาจเล่นด้วยมือที่สะอาด เพื่อทำสิ่งที่ดี ๆ  มือเราต้องเปื้อนสิ่งสกปรกบ้าง.. เขาจึงไม่ตำหนิพ่อผม แต่สำหรับผม ไม่อาจสอนเด็ก ๆได้ว่า ยังมีความเลวร้ายที่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับเรา....” 

ไม่รู้เพราะความคิดเรียบง่ายต่อความเป็นมนุษย์ ความพยายามที่จะเป็นแบบอย่างที่ควรเป็นหรือเปล่า????   เราจึงเห็นเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น สร้างเรื่องยิ่งใหญ่ เรียกศรัทธาชาวโลก แม้ในช่วงวิกฤตของชีวิต...

ผมไม่อาจสอนเด็ก ๆ  ได้.... แค่สอนเด็ก ๆ เท่านั้นนะ....แต่ประโยคนี้กลับเป็นบทพูดในหนัง ที่ตั้งใจสะท้อน และถาม ถึงจิตวิญญาณและความเป็นผู้ใหญ่ของคนจำนวนมากอย่างน่าทึ่ง  ในหนังทีวีตอนนี้  คนดู คนฟัง อึ้งไปทั้งหมด..

เหมือนตอนที่เราดู เจ้าดำ ตากฝน ประท้วงหน้าธงชาติ  แล้วตะโกนเหมือนคนโง่ที่บ้าคลั่ง ..ข้าราชการ คือผู้รับใช้ประชาชน.... ข้าราชการคือผู้รับใช้ประชาชน....  แม้จะไม่ใช่ความจริงวันนี้.. แต่มันก็ “โดนใจ” อย่างแรง

 

อยากชวนไปชม หนังทีวีย้อนหลังกันน่ะ...โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สื่อ เพื่อสื่อสารการเมือง หรือนักศึกษาด้านสื่อสารการเมือง

หมายเลขบันทึก: 494840เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • "คุณเติมฝันให้ฝน" ทิ้งท้ายบันทึกนี้ไว้ว่า "อยากชวนไปชมหนังทีวีย้อนหลังกันน่ะ...โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สื่อเพื่อสื่อสารการเมือง หรือนักศึกษาด้านสื่อสารการเมือง"
  • อ.วิ ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มคนที่ "คุณเติมฝันให้ฝน" กล่าวถึง แต่เป็นคนที่ได้ติดตามชมรายการดังกล่าวตั้งแต่ตอนแรกที่คุณเติมฝันกล่าวว่า "... ทีวีฉายภาพเด็กในโรงเรียนประถม (ป ๕) ..เด็กที่เป็นเด็ก ๆ ไม่ชอบฟังครูสอน เห็นเป็นเรื่องน่าเบื่อ ชอบล้อเลียนครู ชอบตั้งคำถามแต่ไม่ฟังคำตอบ..ชอบท้าทายความคิด ด้วยความซุกซน... ถ้าเป็นเมืองไทย เด็กพวกนี้คงอัดเละ..แต่ในหนัง ( หนังนะครับไม่ใช่เรื่องจริง) ครูเคตะ กลับไม่ถืออารมณ์เป็นที่ตั้ง ทั้งที่รู้ว่าเด็กตั้งใจป่วนตนเอง.. พยายามจูงใจ สอนเด็ก ด้วยความรักและเข้าใจเด็ก..." ซึ่งอ.วิได้บันทึกเป็น DVD ประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู รวมทั้งได้บันทึกเพลงประกอบรายการไปประกอบการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาด้วยค่ะ
  • ในช่วงที่เรียนวิชากฎหมายในระดับอนุปริญญา อ.วิชอบและคิดอยากจะเป็นสส.หญิง เพราะเห็นว่าในเมืองไทยไม่ค่อยมี สส.หญิง จึงอยากเป็น สส.หญิงที่มีคุณภาพ เพื่อทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนในท้องถิ่น
  • ปัจจุบัน อ.วิก็สนใจติดตามการเมือง แต่ไม่คิดอยากเป็นนักการเมือง เพราะดูๆ แล้วก็เห็นว่า คนตรงไปตรงมาอย่างอ.วิ ไม่เหมาะกับการเป็นนักการเมืองแน่ๆ ค่ะ
  • ตอนที่ดูภาพยนตร์ทีวีเรื่อง "นายกมือใหม่ หัวใจประชาชน" นั้น ก็ดูแบบคนรู้น้อยเรื่องการเมือง พอมาอ่านบทความของ "คุณเติมฝันให้ฝน" รู้สึกชอบมากค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปันบทวิเคราะห์ที่มีคุณค่ายิ่ง นี้
  • อ.วิจะขอ Save in ไว้ใน Folder "เรื่องดีๆ ที่น่าอ่าน" และจะหาโอกาสแนะนำให้คนเข้ามาอ่านค่ะ

ขอบคุณ กำลังใจที่ อ.วิ ให้นะครับ.. รู้สึกดีใจ และเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท