หมากขุม


การละเล่นหมากขุมสามารถเล่นได้ทังเด็กและผู้ใหญ่
สิ่งที่เรียนรู้:การละเล่นหมากขุม
วิธีการเรียน:  อุปกรณ์ในการเล่น  
1.รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ 130 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น 2 แถว หลุมกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร ลึกประมาณ 4 เซนติเมตร มีด้านละ 7 หลุม เรียกหลุมว่าเมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ 11 เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
2.ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมากใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก จึงต้องใช้ลูกหมากในการเล่น 98 ลูก
3.ผู้เล่น มี 2 คน
วิธีการเล่น
1.ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก ทั้ง 7 หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
2.การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดิมพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดได้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวณว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิม ใส่ลูกหมากหลุมละ 1 เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมหากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตายในหลุมเมืองฝ่ายตน ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่า กินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่หลุมหัวเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
3.การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลักกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหมากหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ 7 ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในการเล่นจะเล่นจนฝ่านใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้
ผลที่ได้รับ: สามารถเล่นหมากขุมได้อย่างถูกวิธีและได้เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ
ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์: 1. การเล่นหมากขุมมีคุณค่าในการฝึกลับสมองการวางแผนการเดินหมาก จะต้องคำนวณจำนวนลูกหมากในหลุมไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีกผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนานและความใกล้ชิดระหว่างพี่น้องญาติมิตร 
3. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม
เอกสารอ้างอิง:http://www.culture.nstru.ac.th/lifestyle/mark_khum_thai.html
คำสำคัญ (Tags): #หมากขุม
หมายเลขบันทึก: 494836เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

อย่างนี้ต้องเจอกันแล้วล่ะ --" 5555

คราวหลังมาพาเค้าเล่นๆหน่อย

เฮ้ยยยย เพิ่งรู้จักหมากขุมนะเนี่ยยยย ><" มาพาเล่นหน่อยย

อ๋อ เกมส์ใหม่ล่าสุดที่คุณสโรชาอยากเล่น^

ความรู้ใหม่เลยนะเนี่ย><

ลองนำวิธีเล่นหมากเก็บมาเล่าบ้าง สนุกดีได้ทั้งสาระและความรู้

อยากลองเล่นจัง ไม่คุ้นชื่อเลยนะครับ ต้องลองๆ : ))

นางสาวณัฐชยา บุญสาร

เพิ่งเคยได้ยินอะ ว่างๆมาสอนเราเล่นหน่อยนะ

หมากขุม >>>เกมส์ใหม่สำหรับวันนี้ ต้องลองเล่นบ้างแล้วล่ะ

น่าสนุกจัง ต้องลองเล่นแล้วหล่ะ :)

ไม่เคยได้ยิน แต่น่าลองเล่นคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท