หลุมดำสำหรับคนที่คิดว่าตัวเองเก่ง คือรู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องของตัวเอง


การมอง และตัดสิน ทุกสิ่งอย่าง อย่า มองเพียงภาพ เพราะสิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ สิ่งที่ใช่ อาจไม่เห็น

ชลัญได้บทเรียนหลายๆอย่างจากการรู้จักคนหลายแบบ ที่ทำให้คิดได้  ปลงได้  และพยายามมีสติ ในการใช้ชีวิตให้มากกว่านี้ จากการที่ได้เห็นได้ยิน ได้สัมผัสคนที่คิดว่าตัวเองเก่ง กว่าใคร  รู้ทุกเรื่อง  เป็นทุกอย่าง คนอื่นทำไม่เข้าท่า  แต่ถ้าข้าทำนั้นถูกหมด(หรือเปล่าไม่แน่ใจ) เมื่อชลัญรับรู้แล้วรู้สึกกังวลว่า ชีวิตที่ท่านดำเนินอยู่นี้  มันจะมีจุดจบเช่นไรหนอ

           

           การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง  รับรู้ในความสามารถของตัวเองนั้น เป็นสิ่งที่ดี  แต่เมื่อไรก็ตามที่ เรา กลับไปลุ่มหลง  กับสิ่งนั้น  มันจะทำให้เราพลาด คือเราจะมองเห็นเพียงเราที่เป็นภาพสะท้อนในกระจก แต่เราจะไม่เห็นเงาที่เป็นจุดมืดบอด หรือ หลุมดำ ของเราเอง  ขณะเดียวกัน ก็ทำให้เรามองคนอื่น จากภาพที่เห็นเช่นกัน เราจะไม่สามารถจับความรู้สึกนึกคิดและจิตวิญญาณของคนอื่นได้เลย  โดยมุมมองของเราที่มีต่อบุคคลอื่น  ชลัญคิดว่า มองได้ 2 แบบ ดังนี้

 

             แบบที่ 1  ภาพที่เห็น + จิตนาการและทัศนคติที่เป็นมุมมองของเรา  = ความรู้สึกที่มีต่อบุคคลนั้นมัก ผิด อาจ เป็นทางบวก หรือลบ

 

            แบบที่ 2 ภาพที่เห็น + จินตนาการและ ทัศนคติที่เป็นมุมมองของเรา  - เงาหรือหลุดดำ หรือ ตัวตนของเขา = ความรู้สึกที่มีต่อ บุคคลนั้น มัก ไม่ถูกไม่ผิด แต่ เป็นกลาง

 

            แต่ส่วนใหญ่ที่ชลัญเจอมักมองคนอื่นในแบบที่ 1 โดยเฉพาะ คนที่เป็นหัวหน้า  สาเหตุอันสืบเนื่องมาจากอัตตา  ที่ยึดตนเป็นหลัก

 

            มีนิทานธรรมะเรื่องหนึ่งชลัญเคยอ่านเมื่อครั้งไปปฏิบัติธรรม จำไม่ได้ว่า จากหนังสืออะไรเพราะปกมันขาด หมดแล้ว แต่จำเนื้อหาได้ ว่า  มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งนั้น เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมาก ว่าเป็นผู้ที่รอบรู้ในทุกสิ่งสามารถ แก้ปัญหาวิกฤติ เหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆได้ จนเป็นที่เคารพ ของคนในเมือง แม่แต่พระราชาผู้ปกครองเมืองนั้น   ท่านนักปราชญ์ผู้นี้  ก็เลยถูกแต่ตั้งให้มีตำแหน่งที่สูงในการดูแลปกครอบบ้านเมือง  ไปที่ไหน มักมีคนให้ความเคารพ  อำนวยความสะดวก  หลีกทางให้  หากผ่านไปที่ใด  ไม่มีใครกล้าลบลู่ ท่านปราชญ์ ผู้นี้ได้  วันหนึ่งหลังจากกลับจากการให้คำปรึกษาแก่พระราชา แล้ว ขณะที่เดินทางกลับนั้น  รู้สึกอยากเปลี่ยนเส้นทาง ลัดกลับที่พักซึ่งไม่ใช่ทางหลัก  พาหนะนั้นเป็นรถม้าที่พอจะวิ่ง ได้ตามตรอกซอยเล็กๆ  บังเอิญว่าขณะที่  เดินทางนั้นก็ต้องหยุดชงัก  กับเด็กคนหนึ่ง  ซึ่งยืนขวางทางอยู่  คนขับรถม้า  จอด แล้วให้เด็กนั้นหลบไป เด็กนั่นไม่ยอมหลบ  แถมยังท้าทายด้วยว่า เป็นใครใหญ่มาจากไหน ข้าเป็นเด็กอยู่ที่นี่มานาน  มีเต่ากำลังจะขามทาง ท่านต้องรอให้เต่านี้ข้ามไปก่อน  ข้าถึงจะยอมให้ผ่าน  นักปราชญ์นั้นได้ยินถ้อยคำทั้งหมด  จึงบอกคนขับรถม้าว่า  ให้เด็กนั้นอุ้มเต่าออก  เด็กไม่ยอมแถมบอกว่า  ข้าไม่มีสิทธิ์รู้ว่าเต่าอยากไปทางไหน เพราะฉะนั้นต้องให้เต่านั้น เดินข้ามไปเอง  นักปราชญ์ รู้สึกโมโหมาก  เพราะอยากกลับไปพักผ่อนเต็มที จึงลงมาจากรถม้าแล้วถามเด็กน้อยว่า ไม่รู้หรือว่าข้าเป็นใคร  เด็กน้อยบอก  ข้าไม่มีหน้าที่ต้องรู้ว่าท่านเป็นใคร ข้ารู้เพียงข้าเป็นใคร  เท่านั้น  นักปราชญ์ จึงเฉลยให้เด็กน้อยรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เด็กน้อยร้องอ๋อ  นักปราชญ์ จึงบอกว่าเมื่อรู้แล้ว ก็จงอุ้มเต่าหลีกทางข้า เด็กน้อยไม่ยอม  แถมท้าทายด้วยคำพูดที่นักปราชญ์ ต้อง อึ้งงัน

            “ ท่าน เป็นปราชญ์ คงรอบรู้ทุกเรื่อง หากท่านตอบในสิ่งที่ข้าถามได้ ข้าจะยอมอุ้มเต่าตัวนี้หลีกทางให้”

            “นักปราชญ์รับคำท้า”  “ในแผ่นดินนี้ไม่มีอะไรที่ข้าไม่รู้ เจ้าเด็กน้อย  จงถามมาได้”

            เด็กน้อย จึงถามว่า “ท่านรอบรู้ในทุกเรื่อง ไหนลองตอบข้าหน่อยซิว่า เส้นผมบนศรีษะทานนั้นมีกี่เส้น”

            นักปราชญ์นึ่งงัน อึ้งกับคำถามเด็กน้อย ไม่ตอบว่ากระไร  เดินกลับขึ้นรถม้า แล้ว บอกให้ คนขับ วนรถม้ากลับไปทางเดิม …………………

 

           จากนิทานเรื่องนี้มันทำให้ชลัญ นึกถึง  ใครหลายคนที่มีอำนาจ ใหญ่โตคิดว่าตัวเองเก่งกาจกว่าใครในหล้า  จนลืมนึกถึงว่า  สิ่งที่ตนเองรู้นั้น  ลืมที่จะรู้เรื่องของตนเองหรือไม่  ลืมศึกษาหลุมดำของเราเอง หรือไม่  จนทำให้ เห็น ทุกสิ่งอย่าง หรือ แม้แต่บุคคลอื่น  เป็นเพียงเงาที่สะท้องในกระจก  ประเมินประมวล สิ่งที่เห็นจาก  ภาพ และ   จินตนาการและ ทัศนคติที่เป็นมุมมองของตัวเอง  ไป จนทำให้  ความเข้าใจในสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นนั้น  เป็นเพียง  ถูกและผิด ขึ้นอยู่กับ มาตรวัดที่ตัวเองตั้งขึ้นมาจากความรู้ทัศนคติของตัว   เป็นคนตัดสิน

           

          เรื่องนี้ชลัญจึงฝากให้เป็นข้อคิดของทุกท่าน  ในการมอง และตัดสิน ทุกสิ่งอย่าง  อย่า มองเพียงภาพ  เพราะสิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่  สิ่งที่ใช่ อาจไม่เห็น

 

 

ชลัญธร

 

 

หมายเลขบันทึก: 494638เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 05:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 08:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

หลายครั้งชีวิตของผมที่ผ่านมา...ผ่านทั้งสุขและทุกข์...อยู่กับผมไม่นานเลย...แต่ความรักและมิตรภาพเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้ชีวิตเดินข้างหน้าต่อไป....การทบทวนความคิดผมว่ายังคงสำคัญกับทุกชีวิต....ไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้น หรือสถานภาพใด....ชอบคำที่ว่า...เพราะบางสิ่งที่เรามองตรงหน้า...อาจบังสิ่งล้ำค่าที่อยู่ข้างใน.....สักวันจะไปเที่ยวพิมายนะครับ...ระลึกถึงทุกโมงยามครับ

ขอบคุณบทความเตือนสติ ที่ช่วยใ้นึกถึงหลุมดำของตัวเอง

สวัสดียามเช้าค่ะคุณชลัญ

ก่อนที่จะรู้คนอื่น ต้องรู้ตนเองให้ดี สวัสดีครับ คุณชลัญฯ สำหรับ สาระที่ให้ข้อคิด ที่ดี ขอบคุณครับ

ยินดีกับรางวัลสุดคะนึง มิถุนายน ด้วยค่ะ :-D

ขอชื่นชมกับคุณชลัญธรในการบันทึกนี้และการได้รับรางวัลครับผม

..ถ้าเด็กถามว่าบนหัวมีผมกี่สี ก็คงจะตอบได้

ขออาศัยพื้นที่ตรงนี้ตามมาแสดงความยินดีอีกทีนะครับ แม่ไจ่ไจ่ "ขอแสดงความยินดี กับแม่ไจ่ไจ๋ ชลัญธร ด้วยครับ ดีใจ สุขใจ ที่ได้เห็นพยาบาลสุดขยัน หมั่นขีดเขียน เพียรศึกษาคนไข้ นำมาเล่าขานให้อ่าน กันแสนชื่นใจ ขอให้ความแสนดีทื่สะสมมานี้ ดลบันดาลให้ อายุวรรณโณ สุขขังพลัง ตลอดไป ทั้งครอบครัวนะครับ"

* ขอบคุณแนวดิดดีๆนี้ค่ะ..

* ร่วมยินดีกับรางวัลสุดคนึงเดือนมิย.ค่ะ..

บันทึกนี้ เหมือนจะอึดอัดขัดใจใครบางคนมา แต่ก็เอาความขัดใจมาเขียนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นได้ด้วย ให้ข้อคิดดีๆสมกับที่ได้รับรางวัลจริงๆค่ะ

ยินดีด้วยนะคะ น้องชลัญธร สำหรับ

รางวัลสุดคะนึงเดือนมิถุนายน 2555

ไม่ได้เข้ามาแค่ ๔-๕ วันเอง.. ช้าไปนิด..

แต่ก็ขอแสดงความยินดีกับรางวัลสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ นะจ๊ะน้องชลัญ

ได้ข้อคิดเยอะเลยค่ะ รู้สึกดีที่ได้มีโอกาสอ่านบทความดีๆแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท