แผนพัฒนาสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการปกครอง วิทยาลัยสงฆ์พะเยา


วิสัยทัศน์ (vision)

แผนพัฒนาสาขาวิชารัฐศาสตร์  วิชาเอกการปกครอง  วิทยาลัยสงฆ์พะเยา

ระยะที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ -๒๕๕๙)

          
               ๑. ประวัติความเป็นมา

                 วิทยาลัยสงฆ์พะเยา จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะสงฆ์จังหวัดพะเยา ที่๑/๒๕๓๔ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ลงนามโดย พระโสภณธรรมเมธี เจ้าคณะจังหวัดพะเยา  โดยมีพระเทพวิสุทธิเวที เป็นประธานกรรมการบริหารเปิดทำการเรียนการสอนคณะสังคมศาสตร์ภาควิชารัฐศาสตร์วิชาเอกการเมืองการปกครองเพียงคณะเดียงเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๔ ที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พะเยา  เป็นวิทยาเขต ในนาม “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตพะเยา”  ตามประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๔๐/๒๕๓๔  การเปิดนำเนินการเรียนการสอนก็คงมีเพียงคณะเดียวเท่านั้นก็คือคณะสังคมศาสตร์ซึ่งถือว่าเป็นคณะแรกที่เปิดทำการเรียนการสอนของวิทยาเขตพะเยา มีพระนิสิตชั้นปีที่ ๑ จำนวน  ๔๙ รูป โดยมีคณาจารย์  ๓ รูป/คน  อาจารย์พิเศษ  ๕ รูป/คน  และมีเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน  ๓ รูป/คน  แต่ปัจจุบันนี้สาขาวิชารัฐศาสตร์วิชาเอกการปกครอง ทุกชั้นปีจำนวน ๓๙๕  รูป/คน มีพระนิสิตจบการศึกษาไปแล้ว   ๑๗  รุ่น  นิสิตคฤหัสถ์จำนวน  ๒  รุ่น รวมทั้งหมด ๘๖๙ รูป/คน มีคณาจารย์ประจำสาขาวิชา  ๖ รูป/คน  คณาจารย์พิเศษจำนวน ๑๒ รูป/คน                                                                                               

                 

                   ๒. วิสัยทัศน์  (vision)

                     ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองตามหลักพุทธธรรมและทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่และสร้างนักปกครองแบบมืออาชีพ เช่น   เป็นผู้มีคุณธรรม (moral) เป็นผู้มีความรู้ (knowledge) เป็นผู้มีความเป็นผู้นำ (leadership)    และเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (vision)

 

  ๓.  พันธกิจ (mission)

                     สาขาวิชารัฐศาสตร์   วิชาเอกการปกครอง  เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่สังกัดวิทยาลัยสงฆ์พะเยา  และมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา  วิจัย  ส่งเสริม  และให้บริการวิชาการการปกครองตามหลักพุทธธรรมแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์  รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  จึงกำหนดพันธะกิจดังต่อไปนี้

                     ๓.๑  ด้านการผลิตบัณฑิต

                          ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถประยุกต์หลักการปกครองแบบพุทธศาสตร์เข้ากับศาสตร์สาขาต่าง ๆ มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส  ใฝ่รู้ใฝ่คิด  มีความเป็นผู้นำทางจิตใจและปัญญา  มีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีโลกทัศน์กว้างไกล  สามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก  มีศรัทธาที่จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรม จริยธรรม  และเสียสละเพื่อส่วนรวม

 ๓.๒  ด้านการวิจัย

                           ดำเนินการวิจัยและพัฒนางานวิชาการ ให้แก่คณาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาองค์ความรู้หลัก การปกครองที่มีในพระไตรปิฎก (รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก) โดยวิธีสหวิทยาการแล้วนำองค์ความรู้ ที่ค้นพบมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาจริยธรรมของสังคม  รวมทั้งพัฒนาคุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา

                    ๓.๓  ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม 

                             ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งบริการวิชาการแก่คณะสงฆ์เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านการศึกษาแก่พระสงฆ์ในชุมชน (หลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์  สาขาวิชารัฐศาสตร์)   และตลอดถึงชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                   ๓.๔  ด้านการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

                         เสริมสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า  เพื่อสร้างจิตสำนึกและภาคภูมิใจในความเป็นไทย สนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นรากฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืน ตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             ๔. วัตถุประสงค์  (objective)

               ๔.๑เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และสามารถประยุกต์องค์ความรู้เข้ากับศาสตร์สาขาต่าง ๆ

                ๔.๒เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองตามหลักพุทธธรรมและทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่

               ๔.๓เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้ความรู้ในการปกครองและการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ๔.๔เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อแก้ปัญหาสังคมชุมชนและพัฒนาสังคม 

            ๕.  เป้าหมายการรับพระนักศึกษาพระนิสิตและนิสิตคฤหัสถ์ชายหญิงของสาขาวิชารัฐศาสตร์  วิชาเอกการปกครอง  วิทยาลัยสงฆ์พะเยา   ช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย  ระยะที่  ๑๑

                             ๕.๑  เป้าหมายการรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์

หน่วยนับ : รูป

 

ชื่อหลักสูตร  /  สาขาวิชา

เป้าหมายการรับนักศึกษา   ปีการศึกษา

 

รวม

๒๕๕๕

๒๕๕๖

๒๕๕๗

๒๕๕๘

 

๒๕๕๙

 

หลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการปกครอง)

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๑๐๐

รวมระดับประกาศนียบัตร

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๑๐๐

                  

                     ๕.๒  เป้าหมายการรับนิสิตใหม่ในหลักสูตร / สาขาวิชา (ภาคปกติ)

                           ๕.๒.๑  ระดับปริญญาตรี  (พธ.บ.)  

 หน่วยนับ  : รูป / คน

 

ชื่อหลักสูตร / สาขาวิชา

เป้าหมายการรับนิสิต ปีการศึกษา

 

รวม

๒๕๕๕

๒๕๕๖

๒๕๕๗

๒๕๕๘

๒๕๕๙

สาขาวิชารัฐศาสตร์

        ๑.วิชาเอกการปกครอง (พระภิกษุสามเณร)

        ๒.วิชาเอกการปกครอง(คฤหัสถ์ ชายหญิง)

 

๕๐

 

๑๐๐

 

๕๐

 

๑๐๐

 

๕๐

 

๑๐๐

 

๕๐

 

๑๐๐

 

 

๕๐

 

๑๐๐

 

๒๕๐

 

๕๐๐

รวม

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๗๕๐

            

         ๕.๓   เป้าหมายการรับนิสิตระดับปริญญาโท (พธ.ม.)

หน่วยนับ  :  รูป / คน

 

ชื่อหลักสูตร / สาขาวิชา

เป้าหมายการรับนิสิตปริญญาโท  ปีการศึกษา

 

รวม

๒๕๕๕

๒๕๕๖

๒๕๕๗

๒๕๕๘

๒๕๕๙

บัณฑิตวิทยาลัย (สาขาวิชารัฐฯ)

๑.วิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ (พระภิกษุ)

๒.วิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ (คฤหัสถ์)

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๒๐

 

๑๐๐

 

๑๐๐

รวม

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๒๐๐

          ๕.๔ ชื่อโครงการ  :  โครงการหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์สำหรับคฤหัสถ์

 

                          ๑. ลักษณะโครงการ  :  โครงการใหม่

                     ๒.  ชื่อแผนงาน  :  งานจัดการศาสนศึกษา

                     ๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ 

          สาขาวิชารัฐศาสตร์  วิทยาลัยสงฆ์   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

๔.  หลักการและเหตุผล

          ด้วยสาขาวิชารัฐศาสตร์  วิทยาลัยสงฆ์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา ได้ตระหนักถึงพันธะกิจของมหาวิทยาลัยในส่วนของการผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการแก่สังคม  และได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางการเมืองการปกครอง และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่และนำไปประยุกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรค ๒  ความว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นวิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำโครงการหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์สำหรับผู้นำชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ (การปกครอง) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้การบริหารงานในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

๕. วัตถุประสงค์

                   ๑. เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองและการบริหารตามหลักพุทธธรรม และทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่

                   ๒. เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำชุมชนให้สามารถใช้ความรู้ในการปกครอง และการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๓. เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำชุมชนให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

๖. เป้าหมายการรับนิสิตคฤหัสถ์ในปีการศึกษา  ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ (ภาคพิเศษ-เสาร์  อาทิตย์)

ปีการศึกษา/ชั้นปี

ชั้นปีที่ ๑

ชั้นปีที่ ๒

ชั้นปีที่ ๓

ชั้นปีที่ ๔

รวม

๒๕๕๕

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

-

๓๐๐

๒๕๕๖

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

-

๓๐๐

๒๕๕๗

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

-

๓๐๐

๒๕๕๘

-

-

-

-

 

รวม

๓๐๐

๓๐๐

๓๐๐

-

๙๐๐

๗. ระยะเวลาดำเนินการ  :  ตั้งแต่ปีการศึกษา  ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

๘. คุณสมบัติของผู้สมัคร

                   ผู้สมัครเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  วิชาเอกการปกครอง  สาขาวิชารัฐศาสตร์  จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

                   ๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ

                   ๒. เป็นหรือเคยเป็นผู้นำชุมชนทุกระดับชั้น

                   ๓. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา

๙. หลักฐานการรับสมัคร

                   ๑. รูปถ่าย ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๕ รูป

                   ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ชุด

                   ๓. สำเนาบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน ๒ ชุด

                   ๔. สำเนาใบประกาศนียบัตรหรือใบรายงานผลการเรียน

                   ๕. สำเนาใบแต่งตั้งหรือใบรับรองตำแหน่ง

๑๐. ระบบการศึกษา

                   ระบบการศึกษา เป็นแบบระบบทวิภาค โดยนิสิตต้องศึกษาตามโครงการสร้างหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์  วิทยาลัยสงฆ์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเวลา ๔ ปี จำนวน ๑๔๐ หน่วยการเรียน

๑๑. ระยะเวลาการศึกษา

                   ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๔ ปี หรือต้องไม่ต่ำกว่า ๘ ภาคการศึกษาปกติ แต่อย่างมากไม่เกิน ๒ เท่าของระยะเวลาการศึกษาปกติของหลักสูตร

๕.๕   อาจารย์ผู้สอน

๕.๕.๑ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์

ที่

ชื่อ  ฉายา/นามสกุล

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่ง

พระครูโสภณปริยัติสุธี,ผศ.ดร.

-ป.ธ. ๖

-ร.บ. (รัฐศาสตร์)

-M.A. (รัฐประศาสนศาสตร์)

-ร.ม. (สาขาวิชาวิทยาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น)

-ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)

รักษาการผู้อำนวยการ

สำนักงานวิทยาเขต

- อาจารย์ประจำ

พระใบฎีกาวชิรวิชญ์ ปญฺญาวชิโร

-พธ.บ. (รัฐศาสตร์)

-M.A. (รัฐศาสตร์)

      -อาจารย์ประจำ

พระมหาโยธิน  ฐานิสฺสโร, ดร.

-ป.ธ. ๕

-ศศ.ม.(พัฒนาสังคม)

-ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)

      -อาจารย์ประจำ

 ผศ. คนอง  วังฝายแก้ว

-ป.ธ. ๔

-พธ.บ. (สังคมวิทยา)

-กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

หัวหน้าสาขาวิชารัฐศาสตร์

     - อาจารย์ประจำ

นางพิสมัย  วงศ์จำปา

-ศศ.บ. (รัฐศาสตร์)

-ร.ม. (การปกครอง)

- อาจารย์ประจำ

พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก

-ป.ธ. ๕

-พธ.บ.(รัฐศาสตร์)

-ร.ม. (รัฐศาสตร์)

 -อาจารย์ประจำ

๕.๕.๒  อาจารย์พิเศษสาขาวิชารัฐศาสตร์

ที่

ชื่อ  ฉายา/นามสกุล

วุฒิการศึกษา

พระมงคลชัย ขนฺติธโร

-ร.ม. (รัฐศาสตร์)

นายคมขำ อัตโถปกรณ์

-ร.ม. (การปกครอง)

นายชาญพิชิต  หงษ์สี่

-น.บ.(นิติศาสตร์) ร.ม. (การปกครอง)

แม่ชีภิชมาภรณ์ อิทธิรัตน์ภาธรรม

-อภิธรรมมัตติกะ

ดร.ใจ  บุญชัยมิ่ง

-PH.D. (พระพุทธศาสนา)

ผศ.(พิเศษ)พูล พัฒใหม่

-M.A. (ประวัติศาสตร์) M.A. (รัฐศาสตร์)

นายสุนิตย์ เรืองธรรม

-M.A. (ปรัชญา)

นายสมศักดิ์   วุฒิสารวัฒนา

-ร.ม. (การปกครอง)

พ.ต.อ. คะนอง  ไข่ทา

-น.บ. (นิติศาสตร์) กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

๑๐

นายนิรันดร์  นันตาลิต

-ร.ม. (การปกครอง)

๑๑

พ.ต.ท. ชญาณ์นนท์ อุ่นแก้ว

-น.บ.(นิติศาสตร์) กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

๑๒

นายวิมล  ปิงเมืองเหล็ก

-ค.บ.(ภาษาไทย) กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

. ชื่อหลักสูตร

          ๑.๑ ชื่อหลักสูตรภาษาไทย :     หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชารัฐศาสตร์

            ๑.๒  ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ  : Bachelor  of Art    programme  in   political  Science

    ๒. ชื่อปริญญา

            ๒.๑ ชื่อเต็มภาษาไทย           :  พุทธศาสตรบัณฑิต(รัฐศาสตร์)

                 ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ        :  Bachelor  of Art (political  Science)

            ๒.๒ ชื่อย่อภาษาไทย            :  พธ.บ. (รัฐศาสตร์)

                ชื่อย่อภาษาอังกฤษ           :  B.A  (Political  Science

       ๓.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

            สาขาวิชารัฐศาสตร์  วิทยาลัยสงฆ์   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

        ๔.  วัตถุประสงค์

               ๔.๑ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองและการบริหารตามหลักพุทธธรรมและทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่        

              ๔.๒  เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้ความรู้ในการปกครองและการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ๔.๓  เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อ                         แก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

        ๕.  โครงสร้างหลักสูตร

             จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร                              ๑๔๐      หน่วยกิต

                      ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ๓๐  หน่วยกิต

                             - กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                               ๘        หน่วยกิต

                             - กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                              ๘        หน่วยกิต

                             - กลุ่มวิชาภาษา                                       ๘        หน่วยกิต

                              - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์           ๖        หน่วยกิต

                   ข. หมวดวิชาเฉพาะ  ๑๐๔   หน่วยกิต

                             - วิชาแกนพระพุทธศาสนา                               ๓๐      หน่วยกิต

                                      - วิชาภาษาบาลี                             ๖        หน่วยกิต

                                      - วิชาพระพุทธศาสนา                       ๒๔     หน่วยกิต

                             - วิชาเฉพาะด้าน                                              ๗๔     หน่วยกิต

                                      - วิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์             ๑๐      หน่วยกิต

                                      - วิชาบังคับสาขา                            ๒๗     หน่วยกิต

                                      - วิชาบังคับวิชาเอก                         ๒๑      หน่วยกิต

                                      - วิชาเลือกวิชาเอก                          ๑๖      หน่วยกิต

                             ค. หมวดวิชาเลือกเสรี  ๖  หน่วยกิต

                 ๒.  หมวดวิชาเฉพาะ  ๑๐๔  หน่วยกิต

                        ๒.๒  วิชาเฉพาะด้าน  ๗๕  หน่วยกิต

                             ๒.๒.๑ วิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์  ๑๐ หน่วยกิต

                         ๔๐๑ ๓๐๑   พระพุทธศาสนากับการพัฒนาการเมืองการปกครอง           ๒(๒-๐-๔)

                   ๔๐๑ ๓๐๒   รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา                                ๒(๒-๐-๔)

                   ๔๐๑  ๔๐๓  พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของมนุษย์                        ๒(๒-๐-๔)

                   ๔๐๑ ๔๐๔   รัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา                     ๒(๒-๐-๔)

                   ๔๐๑ ๔๐๕   พุทธธรรมกับการบริหาร                                           ๒(๒-๐-๔)

                             ๒.๒.๒ วิชาบังคับสาขา                                                

                        ๔๐๑  ๒๐๖ ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น                                                     ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑  ๒๐๗ ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์                                                ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๐๘  ความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ                                        ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๐๙   ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ                         ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๑๐   การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ                               ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๑๑    ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์                                        ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๑๒   การวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทย                     ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๑๓    การเมืองการปกครองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้             ๓ (๓-๐-๖)

     ๔๐๑ ๓๑๔    ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์                                ๓ (๓-๐-๖)

                             ๒.๒.๓ วิชาบังคับวิชาเอก  (วิชาเอกการปกครอง)

                        ๔๐๑ ๓๑๕  เหตุการณ์ปัจจุบันในการเมืองไทย                                  ๓(๓-๐-๖)

          ๔๐๑ ๓๑๖   พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง             ๓(๓-๐-๖)

๔๐๑ ๓๑๗   การเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทย     ๓(๓-๐-๖)

                   ๔๐๑ ๔๑๘    ระบบราชการไทย                                                 ๓(๓-๐-๖)

                   ๔๐๑ ๔๑๙    ทฤษฎีว่าด้วยสังคมและการเมือง                                 ๓(๓-๐-๖)

                   ๔๐๑   ๔๒๐  สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญ                                 ๓(๓-๐-๖)

                   ๔๐๑   ๔๒๑  การศึกษาอิสระทางการปกครอง                                          ๓ (๓-๐-๖)

                           ๒.๒.๔ วิชาเลือกวิชาเอก  (วิชาเอกการปกครอง)

                   ๔๐๑ ๓๓๖ วิวัฒนาการทางชีววิทยาของมนุษย์กับการเมือง                  ๓(๓-๐-๖)

                   ๔๐๑ ๓๓๗ แนวคิดทางการเมืองในอุดมคติ                       &nbs

หมายเลขบันทึก: 494567เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท