แบบเสนอโครงการวิจัย (Research Project)


การจัดการศึกษาให้กับพระนิสิตจะต้องให้มีความสอดคล้องปรัชญาของหลักสูตรที่จะพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ                                                                     แบบ ว-1ด

แบบเสนอโครงการวิจัย (Research  Project)

ประกอบการของบประมาณเพื่อการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2547

……………………..

ทิศทางการวิจัย (Direction)         :  ทิศทางที่ 4

แผนวิจัย (Plan)                         :  แผนวิจัยศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

                                                   การวิจัยศักยภาพทางการศึกษา

 

สถานภาพของข้อเสนอการวิจัย

    ( / )  เป็นโครงการวิจัยอิสระ

 

ลักษณะข้อเสนอการวิจัย

          สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2545-2549)

   ( / )  ส่วนที่ 1 ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ

 

รายละเอียดแบบเสนอโครงการวิจัย

ส่วน ก.  :        สาระสำคัญของโครงการวิจัย

1. ชื่อโครงการวิจัย (Research  Project)

ภาษาไทย           :  ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมทางการเมืองของ

                           บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

                           มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา

ภาษาอังกฤษ       :  STUDY OF POLITICAL BEHAVIOR MORALITY AND

               ETHICS OF THE BACHELOR OF ARTS IN POLITICAL

               SCIENCE OF MAHACHULALONGKORNRAJAVIDLAYA

               PHAYAO CAMPUS.

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ   :         มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขตพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

             โทรศัพท์  0-5443-1556, 0-5448-1098

             โทรสาร  0-5448-2876,  0-5448-1098

 

 

3. คณะผู้วิจัย

3.1 ที่ปรึกษาโครงการ

       พระสุธรรมมุนี                     รองอธิการบดีวิทยาเขตพะเยา

       พระครูปริยัติกิตติคุณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร

       ร.ท.ดร.ปรีชา หอมประภัทร   ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป

       พระครูศรีวรพินิจ                 ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พะเยา

       พระมหาสายัน  อรินฺทโม       ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ

       พระมหาศรีบรรดร ถิรธมฺโม   ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต

พะเยา

3.2 คณะผู้วิจัย

นายคนอง  วังฝายแก้ว                  หัวหน้าโครงการวิจัย       

                        นายจักรแก้ว  นามเมือง                 ผู้วิจัย                                        

นางพิสมัย  วงศ์จำปา                    ผู้วิจัย                            

4. ประเภทของงานวิจัย     :   การวิจัยประยุกต์

5. สาขาวิชาการที่ทำการวิจัย    :   สาขาการศึกษา

6. คำสำคัญ (Keywords) ของโครงการวิจัย

                                   6.1 พฤติกรรมทางการเมือง (Political  behavior)

           6.2 คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง (Political morallity and ethics)

7. ความสำคัญ และที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย และการทบทวนเอกสาร

   ที่เกี่ยวข้อง

                     มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  ได้เปิดทำการสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครอง และการบริหารตามหลักพุทธธรรม และทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ให้สามารถใช้ความรู้ในการปกครองและการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาให้กับพระนิสิตจะต้องให้มีความสอดคล้องปรัชญาของหลักสูตรที่จะพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

                                    ปัจจุบันวิทยาเขตพะเยา มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ จำนวน 9 รุ่น ดังตารางต่อไปนี้

รุ่นที่

จำนวนที่สำเร็จการศึกษา

ปีที่สำเร็จการศึกษา

1

29

2538

2

18

2539

3

9

2540

4

14

2541

5

27

2542

6

27

2543

7

30

2544

8

42

2545

รวม

196

 

 

                                    จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์เป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นผลผลิตที่เป็นด้านปริมาณ อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยเป็นว่า การผลิตบัณฑิตจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และปรัชญาของหลักสูตรดังกล่าว จึงต้องการที่จะศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของพระนิสิต เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการบริหารจัดการศึกษาในสาขาวิชาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นข้อมูลให้กับมหาวิทยาลัย ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาทุกคณะวิชาในโอกาสต่อไป

                        ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                    1. ความหมายของพฤติกรรม คือ กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตกระทำ และบุคคลอื่นสามารถสังเกตได้หรือใช้เครื่องมือทดลองได้ เช่น การหัวเราะ การร้องไห้ การกิน การเล่นหรือการนอน ฯลฯ ซึ่งอาการกระทำทั้งหมดนี้ แสดงให้ทราบถึงลักษณะของสิ่งที่เราเรียกว่า พฤติกรรม พฤติกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ พฤติกรรมแบบ molecular ได้แก่ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ เป็นต้นว่า การกระตุกของหัวเข่าคนไข้ขณะที่นายแพทย์ใช้เครื่องเคาะที่หัวเข่า เป็นต้น และพฤติกรรมแบบ molar คือ พฤติกรรมที่สามารถแสดงความหมายให้ออกมากในรูปของการกระทำ ซึ่งทำให้ส่งิที่กระทำนั้นบรรลุถึงความพอใจและสามารถนำไปสู่ความมุ่งหมายที่ต้องการ หรือเพื่อให้หลีกเลี่ยงจากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พฤติกรรมแบบ moral นี้ ได้แก่ การกินอาหารหรือการวิ่งหนีเมื่อจะถูกตี ฯลฯ (โสภา  ชูพิกุลชัย. 2521 : 2)

                                    2. พฤติกรรมทางการเมือง เป็นการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองจึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง ได้แก่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง การเข้ารับสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น การเข้าร่วมประชาพิจารณ์ การเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมือง  ซึ่งณรงค์   สินสวัสดิ์ (2539 : คำนำ) กล่าวว่า พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคล เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระดับต่าง ๆ การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การช่วยพรรคการเมืองหาเสียง การลงสมัครรับเลือกตั้ง การเดินขบวนหรือแสดงออกซึ่งการคัดค้านรัฐบาล การเลือกพรรคการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด การเลือกอุดมการณ์ทางการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด รวมไปถึงพฤติกรรมาของผู้นำการเมือง เป็นต้น

                                    3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง บุคคลผู้มีพฤติกรรมทางการมเองที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะต้องประพฤติตน 2 ลักษณะควบคู่กัน กล่าวคือ

                                    1) ประพฤติเป็นธรรม คือ มีความเที่ยงธรรม และยุติธรรม เช่น ประพฤติตามหลักของทศพิธราชธรรม อคติ พละ เป็นต้น

                                    2) ประพฤติตามธรรม คือ การประพฤติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เช่น การปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ 10 พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สังคหะวัตถุ 4 เป็นต้น

                                    นอกจากหากดำรงตำแหน่งหรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ก็เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อุทิศตนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เหล่านี้ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

 

8. วัตถุประสงค์โครงการวิจัย

                                     1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการมเองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

                                     2. เพื่อศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและหน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

                             9.1 ได้ทราบถึงพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นผลผลิตของวิทยาเขตพะเยา

                                                9.2 ได้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อหาแนวทางพัฒนาหลักสูตรในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ ให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คู่คุณธรรม

                                    หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

                                    1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

                                    2. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวิทยาเขต

 

                        10. ทฤษฎีและกรอบแนวคิด (Conceptual  Framework)

 

ตัวแปรต้น                 ตัวแปรตาม

บัณฑิต

พฤติกรรม

ทางการเมือง

คุณธรรม/

จริยธรรม

ทางการเมือง

- การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง

- การเลือกตั้ง

- การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

- การเมืองการปกครองท้องถิ่น

- ผู้นำทางการเมือง

ฯลฯ

- พฤติกรรมที่ดี

- นำหลักพุทธธรรมไปใช้

- ใช้หลักธรรมาธิปไตย

ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

11. เอกสารอ้างอิง (Reference)  ของโครงการวิจัย

คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.  แนวคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม

เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่,  2543.

จำนง  ทองประเสริฐ. พระพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ :

ต้นอ้อ แกรมมี, 2539.

ณรงค์  สินสวัสดิ์, ดร.  การเมือง : การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์,

2539.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.

มนัส  สุวรรณ และคณะ.  การเขียนโครงการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,  2542.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พุทธ

ศักราช 2538. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538.

โสภา  ชูพิกุลชัย.  จิตวิทยาทั่วไป.  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช,  2520.

12. ระเบียบวิธีวิจัย

                                    12.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

12.1.1 ประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้คือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา วิชาเอกการเมืองการ

ปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 8 จำนวน 196 รูป/คน 

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างงาน  ของบัณฑิตที่เป็นกลุ่ม

ตัวอย่าง จำนวน 196 รูป/คน 

            12.1.2 กลุ่มตัวอย่าง   ได้แก่  บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอก

การเมืองการปกครอง  สาขาวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 8  จำนวน 132 รูป/คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan    และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย   (Simple random sampling)   โดยวิธีการจับฉลาด และผู้บังคับบัญชา / ผู้จ้างงาน ของบัณฑิตกลุ่มตัวอย่าง    จำนวน  132  รูป/คน    รวม 264 รูป/คน

12.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          12.2.1 แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยชุดที่ 1 สอบถามข้อ

มูลจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ส่วนชุดที่ 2 สอบถามผู้บังคับบัญชา / ผู้จ้างงาน   ทั้งสองชุดมีขั้นตอนดังนี้

                                                1) สร้างแบบสอบถาม   โดยกำหนดเนื้อหาออกเป็น     สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม     ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง    คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

                                                2) นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาความเที่ยง และนำไปทดลองใช้  (Try out)   กับกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง    เพื่อหาความเชื่อมั่น

                                                3) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                                                4) ประเมินแบบสอบถามความคิดเห็น และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล

12.3 การรวบรวมข้อมูล

        การเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดำเนินการดังต่อไปนี้

1) ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการทำการศึกษาถึงกลุ่มตัว

อย่างและให้ส่งข้อมูลกลับทางไปรษณีย์

                                                2) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม

                                                3) นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ

                             12.4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                        12.4.1 แบบทดสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ              

13. ขอบเขตของโครงการวิจัย  : งานวิจัยเชิงปริมาณ

                   คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหางานวิจัย      ตามกรอบแนวคิดด้าน

พฤติกรรมทางการเมือง การมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

14. ระยะเวลาที่ทำการวิจัย  : 1 ปี ในปีงบประมาณ 2547 (1 ตุลาคม 2546-30

         กันยายน 2547)

                               สถานที่เก็บข้อมูล           :  ตามที่อยู่ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

15. แผนการดำเนินงานโครงการวิจัย

 

ที่

การดำเนินงาน

ปีงบประมาณ 2547

 

ตค.

พย.

ธค.

มค.

กพ.

มีค.

เมย

พค.

มิย.

กค.

สค.

กย.

1

2

 

3

 

 

4

5

6

7

 

8

9

-ศึกษาข้อมูลเอกสาร

-วางแผนการปฏิบัติงาน

  โครงการวิจัย

-การศึกษาและทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-การสร้างเครื่องมือวิจัย

-การเก็บรวมรวมข้อมูล

-วิเคราะห์ข้อมูล

-สรุปและเขียนรายงาน

  การวิจัย

-นำเสนอผลงานวิจัย

-เผยแพร่ผลงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

16. แผนการถ่ายทอดผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

16.1 นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการวิจัยให้กับผู้บริหารวิทยาเขต     และ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

       16.2 นำเสนอผลงานวิจัยลงในวารสาร “แสงโคมคำ”  ของมหาวิทยาลัยมหา

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 

                  16.3 นำเสนอผลงานวิจัยวิทยาเขตทุกวิทยาเขต

      16.4 นำเสนอผลงานวิจัยลงในระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัย

                                    ระยะเวลาในการเผยแพร่ผลงานวิจัยจะกำหนดช่วงเดือน กันยายน-พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

 

 

 

 

 

17. งบประมาณ

          17.1 รายละเอียดงบประมาณการวิจัย    จำแนกตามหมวดเงิน

ประเภทต่าง ๆ  (ปีงบประมาณ 2547)

รายการ

จำนวนเงิน

. หมวดค่าจ้างชั่วคราว

- ค่าจ้างวิเคราะห์ข้อมูล

- ค่าจ้างพิมพ์และจัดทำรูปเล่ม

                         รวม

. หมวดค่าใช้สอย

- ค่าพาหนะ

- ค่าถ่ายเอกสาร

- ค่าติดต่อประสานงาน

- ค่าเผยแพร่ผลงานวิจัย

                       รวม

. หมวดค่าตอบแทน

      - ค่าอาหารทำงานนอกเวลา  

      - ค่าเบี้ยเลี้ยงทำงานนอกเวลา

                                 รวม

. หมวดค่าวัสดุ

      -ค่าวัสดุสำนักงาน

      -ค่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

                                  รวม 

 

3,000

        5,000

8,000

 

6,000

2,000

4,000

5,000

17,000

 

5,000

5000

10,000

 

5,000

5,000

10,000

                                           รวมงบประมาณที่เสนอขอ

45,000

 

 

 

                                                             (นายคนอง  วังฝายแก้ว)

                                                               หัวหน้าโครงการวิจัย

                                                        วันที่  3  กันยายน  พ.ศ. 2546

 

 

ประวัติหัวหน้าโครงการวิจัย

 

1. ชื่อ  (ภาษาไทย)        :   คนอง  วังฝายแก้ว

          (ภาษาอังกฤษ)    :   KANONG  WANGPHAIKAEW

2. รหัสประจำตัว  : 00001848

3. ตำแหน่ง  :     อาจารย์ / หัวหน้าสาขาวิชารัฐศาสตร์

4. สังกัด  :         สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

                        วิทยาลัยสงฆ์พะเยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                        วิทยาเขตพะเยา 56000 โทร.(054) 481098 โทรสาร. 482876

5. ประวัติการศึกษา

     5.1 พ.ศ. 2523          เปรียญธรรม 4 ประโยค

     5.2 พ.ศ. 2532          ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยา)

     5.3 พ.ศ. 2543          ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

                                    มหาวิทยาลัยนเรศวร

6. สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ

6.1 สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

6.2  สาขาภาษาบาลี

6.3  ภาษาล้านนา

7. ประสบการณ์

     7.1 งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว

            7.1.1 ผู้ช่วยนักวิจัย เรื่อง  การศึกษาวิเคราะห์เอกสารโบราณเมืองพะเยา : ศึกษาเฉพาะกรณีเอกสารบันทึกโบราณเกี่ยวกับพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา (2543)

7.1.2 นักวิจัย เรื่อง     ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ ตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตภาคเหนือ (2544)

            7.1.3  นักวิจัย เรื่อง  การศึกษาสภาพการดำเนินงาน โครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาาลัย วิทยาเขตพะเยา (2544)

      7.2 งานวิจัยที่กำลังทำ

- ผู้ประสานงาน/นักวิจัยชุดโครงการวิจัย เรื่อง  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับชั้นมัธยมศึกษา  (2545-2546)

 

หมายเลขบันทึก: 494563เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท