รายงานการวิจัย


การวิจัยเรื่อง ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

 

                        การวิจัยเรื่อง ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง    สาขาวิชารัฐศาสตร์    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้

 

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 

1.1 ประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้คือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา  วิชาเอกการเมืองการปกครอง

สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 8 จำนวน 196 รูป/คน 

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างงาน  ของบัณฑิตที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน 196 รูป/คน 

1.2 กลุ่มตัวอย่าง   ได้แก่  บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการเมืองการปกครอง  สาขาวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 8  จำนวน 132 รูป/คน และผู้บังคับบัญชา / ผู้จ้างงานของบัณฑิต จำนวน  132  รูป/คน    รวม 264 รูป/คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan    และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย   (Simple random sampling)   โดยวิธีการจับสลาก (มนัส  สุวรรณ และคณะ. 2542 : 118)

 

 

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

2.1 แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ชุด  โดยชุดที่ 1    สอบถามข้อมูลจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา  ส่วนชุดที่ 2 สอบถามผู้บังคับบัญชา / ผู้จ้างงาน  

ลักษณะของแบบสอบถามจะแบ่งเป็น 3 ตอนคือ

ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ เป็นต้น

ตอนที่ 2 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการทางการเมือง เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง รูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น

ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง เช่น การประพฤติเป็นธรรม การประพฤติตามธรรม การมีบทบาททางการเมืองที่ดี เป็นต้น ในส่วนของแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ใช้แบบสอบถามประมาณค่า  5 ระดับ  ของลิเคอร์ท (Likert’s Scale) คือ

5          หมายถึง             มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองมากที่สุด

4          หมายถึง มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองมาก

3          หมายถึง มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองปานกลาง

2          หมายถึง มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองน้อย

1          หมายถึง มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองน้อยที่สุด

2.2 การสร้างแบบสอบถาม  โดยกำหนดขั้นตอนการสร้างดังนี้

                                    1) สร้างแบบสอบถาม   โดยกำหนดเนื้อหาออกเป็น     สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม     ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง    คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

                                    2) นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น      ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเนื้อหา แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

 3) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้      (Try out)     กับกลุ่ม

ประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง    เพื่อหาความเชื่อมั่น

                                    4) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                                    5) เก็บรวมรวบแบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล

 

3. การรวบรวมข้อมูล

 

การเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดำเนินการดังต่อไปนี้

1) ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ ในการเก็บข้อมูลถึงกลุ่มตัวอย่างและให้ส่งข้อมูลกลับทางไปรษณีย์

                                    2) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม

                                    3) หากข้อมูลนำกลับมายังไม่ครบ จะมีการทวงแบบสอบถามทางไปรษณีย์ เป็นให้ได้แบบสอบถามย้อนกลับมาให้มากที่สุด

                                    4) คณะผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจากบัณฑิตและผู้บังคับบัญชา จำนวน 99 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75

                                    5) นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์

 

4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

นำแบบสอบถาม  และข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าสถิติ  เป็นค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (content  analysis) โดยมีเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล         ในกรณีใช้แบบสอบถามประมาณค่า  5 ระดับ  ของลิเคอร์ท (Likert’s Scale) โดยกำหนดเกณฑ์ดังนี้

มากที่สุด            เท่ากับ               5  คะแนน

มาก                   เท่ากับ               4  คะแนน

ปานกลาง           เท่ากับ               3  คะแนน

น้อย                  เท่ากับ               2  คะแนน

น้อยที่สุด           เท่ากับ               1  คะแ

หมายเลขบันทึก: 494560เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท