รายงานการวิจัย


พฤติกรรมเป็นการแสดงออกของบุคคล ทั้งส่วนที่เป็นพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงมีการแสดงพฤติกรรมได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในคือจิตใจ และปัจจัยภายนอก คือสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม ในส่วนของพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกที่ส่งผลต่อการเมืองการปกครอง หรือส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมมีความสงบสุข ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศ

บทที่ 1

                                                   บทนำ

 

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                    พฤติกรรมเป็นการแสดงออกของบุคคล ทั้งส่วนที่เป็นพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงมีการแสดงพฤติกรรมได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในคือจิตใจ และปัจจัยภายนอก คือสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม ในส่วนของพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกที่ส่งผลต่อการเมืองการปกครอง หรือส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมมีความสงบสุข  ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศดังกล่าว เช่น จากการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของ ฐิตินันท์ เวตติวงศ์ (2531: 66-67) ได้กล่าวว่า “พฤติกรรมและกระบวนการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงของประชาชนในปัจจุบันเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยที่ได้สะสมติดต่อกันเป็นเวลานานการซื้อ-ขายเสียงและระบบหัวคะแนน เป็นเพียงปัญหารูปธรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด และมีผลกระทบต่อการปกครองและการบริหารประเทศอย่างชัดเจน”

                        จากพฤติกรรมทางการเมืองดังกล่าว หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากตัวบุคคลเป็นสำคัญ ทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง จึงส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองโดยตรง และพฤติกรรมดังกล่าวเป็นผลมาจากการขาดคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

                        ในสังคมไทยได้มีการสอนคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง      ให้กับนักการปกครองและนักบริหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์มาจนถึงสถาบันการปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันครอบครัว โดยกำหนดให้เป็นราชธรรม  การเทศนา  การ อบรมสั่งสอนและการฝึกอบรม

                        โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  ได้เปิดทำการสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครอง และการบริหารตามหลักพุทธธรรม และทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ให้สามารถใช้ความรู้ในการปกครองและการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

                 จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาให้กับพระนิสิตจะต้องให้มีความสอดคล้องปรัชญาของหลักสูตรที่จะพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

จึงเป็นที่คาดหวังว่าพระนิสิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วจะมีพฤติกรรมทางการเมืองที่ดี เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาสังคม และส่งผลให้สังคมเกิดสันติสุขได้ในที่สุด

                        ปัจจุบันวิทยาเขตพะเยา มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ จำนวน 9 รุ่น ดังตารางต่อไปนี้

รุ่นที่

จำนวนที่สำเร็จการศึกษา

ปีที่สำเร็จการศึกษา

1

29

2538

2

18

2539

3

9

2540

4

14

2541

5

27

2542

6

27

2543

7

30

2544

8

42

2545

รวม

196

 

                        จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์เป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นผลผลิตที่เป็นด้านปริมาณ อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยเห็นว่า การผลิตบัณฑิตจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และปรัชญาของหลักสูตรดังกล่าว จึงต้องการที่จะศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของพระนิสิต เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการบริหารจัดการศึกษาในสาขาวิชาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นข้อมูลให้กับมหาวิทยาลัย ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาทุกคณะวิชาในโอกาสต่อไป

 

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

 

                                2.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

                                2.2 เพื่อศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

3. วิธีวิจัย  เชิงคุณภาพ

 

4. ขอบเขตของการวิจัย

 

                        4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา

 

                               ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาออกเป็น 2 ประเด็นคือ 

                          4.1.1 ด้านพฤติกรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง  การเลือกตั้ง  การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง  การเมืองการปกครองท้องถิ่น  ผู้นำทางการเมือง เป็นต้น

                                4.1.2 ด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา เช่น การมีพฤติกรรมที่ดี การนำหลักพุทธธรรมไปใช้ และการใช้หลักธรรมาธิปไตย เป็นต้น

 

 

                        4.2 ขอบเขตด้านประชากร

      4.2.1 ประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้คือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา วิชาเอกการเมืองการ

ปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 8 จำนวน 196 รูป/คน 

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างงาน  ของบัณฑิตที่เป็นกลุ่ม

ตัวอย่าง จำนวน 196 รูป/คน 

      4.2.2 กลุ่มตัวอย่าง   ได้แก่  บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการเมือง  การปกครอง  สาขาวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 8  จำนวน 132 รูป/คน  และผู้บังคับบัญชา / ผู้จ้างงาน ของบัณฑิต    จำนวน  132  รูป/คน    รวม 264 รูป/คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan    และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย   (Simple random sampling)   โดยวิธีการจับสลาก (มนัส  สุวรรณ และคณะ. 2542 : 118)

 

5. กรอบแนวคิด

 

- การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง

- การเลือกตั้ง

- การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

- การเมืองการปกครองท้องถิ่น

- ผู้นำทางการเมือง

ฯลฯ

ตัวแปรต้น                 ตัวแปรตาม

 

 

บัณฑิต

       พฤติกรรม

ทางการเมือง

คุณธรรม/

จริยธรรม

ทางการเมือง

- พฤติกรรมที่ดี

- นำหลักพุทธธรรมไปใช้

- ใช้หลักธรรมาธิปไตย

ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. นิยามศัพท์เฉพาะ

 

                        6.1 พฤติกรรมทางการเมือง หมายถึง พฤติกรรมของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง    สาขาวิชารัฐศาสตร์    ภาควิชารัฐศาสตร์    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึง รุ่นที่ 8

                                6.2 คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่ดีทางด้านการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึง รุ่นที่ 8

                        6.3 บัณฑิต หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากวิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึง รุ่นที่ 8

                        6.4 มหาวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา  อำเภอเมือง  จังหวัดพะเยา

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                                         7.1 ได้ทราบถึงพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นผลผลิตของวิทยาเขตพะเยา

                                        7.2 ได้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อหาแนวทางพัฒนาหลักสูตรในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ ให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คู่คุณธรรม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 494558เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท