เค้าโครงงานวิจัย


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา ดังนั้นวิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัยชั้นเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อมาให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เค้าโครงงานวิจัย

 

ชื่อเรื่อง  : “การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน โดยใช้

หลักอริสัจ  ๔    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา” 

ชื่อผู้วิจัย  :    ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนอง   วังฝายแก้ว พธ.บ. (สังคมวิทยา)

                 กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

ชื่อหน่วยงาน  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาลัยสงฆ์  วิทยาเขตพะเยา

 

ที่ปรึกษาโครงการ  :  ผศ. จักรแก้ว   นามเมือง, ผศ. ณรงค์  โวหารเสาวภาคย์ 

 

ปีที่ทำวิจัย / ปีงบประมาณ  :  ๒๕๕๔

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         ด้วยวิทยาลัยสงฆ์พะเยา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา ได้ตระหนักถึงพันธะกิจของมหาวิทยาลัยในส่วนของการผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการแก่สังคม  และได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนา  เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรค ๒  ความว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์    รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

                  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา ดังนั้นวิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัยชั้นเรียน  โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อมาให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา  เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

               

            วิชาพุทธวิธีการบริหารงานเป็นวิชาที่พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ วิชาเอกการจัดการเชิงพุทธชั้นปีที่ ๔ เป็นวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์   จำนวน  ๒ หน่วยกิต เพื่อให้พระนิสิตได้ทราบถึงกระบวนการเรียนการสอนของวิชาพุทธวิธีการบริหารงานในแง่มุมต่าง ๆ   เช่น ได้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาสำคัญของสังคม วิเคราะห์ คุณค่าของพุทธธรรมและคุณค่าของวิชาการบริหารงานในเชิงเปรียบเทียบ

         การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน โดยแบ่งสาเหตุของปัญหาไว้  ๓  ด้านคือ ปัญหาด้านหลักสูตร  ปัญหาด้านผู้เรียน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาการเรียนการสอนดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและแก้ไขให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนากระบวนการการสอนดังกล่าว โดยใช้หลักของอริสัจ ๔ มาแก้ปัญหา(พระราชวรมุนี, ๒๕๓๕ : ๗๓๑-๗๓๒) ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ               

              ๑. ระดับทฤษฎี แบ่งออกเป็น  ๓ ขั้นตอน คือ

                   ๑.๑ ขั้นกำหนดปัญหา ได้แก่ การทำเข้าใจว่าปัญหาการเรียนการสอนคืออะไร อยู่ที่ไหน และมีขอบเขตอย่างไร

                   ๑.๒ ขั้นสืบสาวหาสาเหตุ คือหยั่งหาสาเหตุของปัญหาหรือ ปัญหาเกิดจากอะไร

                   ๑.๓ ขั้นตั้งสมมติฐาน คือให้เห็นกระบวนการที่แสดงว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้และอย่างไร

             ๒. ขั้นการเฟ้นหามรรค  ซึ่งแยกออกเป็น  ๓  ขั้นตอน

                   ๒.๑ เอสนา  คือ ขั้นตอนการแสวงหาข้อพิสูจน์ หรือขั้นทดลอง ขั้นวิจัยและการเก็บข้อมูล

                   ๒.๒ วิมังสา  คือ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำการตรวจสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่เพียงใด

                   ๒.๓ อนุโพธะ  คือ ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการตัดสินสิ่งที่ผิดออกไป เลือกมรรคที่แท้ที่จะนำไปสู่ผล คือ การแก้ปัญหาการเรียนการสอน

            จากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอันเกิดมาจากสาเหตุของปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านตัวผู้เรียน  และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขได้โดยใช้หลักอริสัจ ๔ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในอนาคตต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน โดยใช้หลักอริยสัจ ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

ขอบเขตของการวิจัย

          ๑. ขอบเขตด้านประชากร  : 

     ประชากร ได้แก่ พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ วิชาเอกการจัดการเชิงพุทธชั้นปีที่ ๔  ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  จำนวน  ๑๐  รูป

         

๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา  :

      ผู้วิจัยได้ศึกษาขอบเขตด้านเนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้หลักอริยสัจประกอบด้วย

                      ๑. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)

                       ๒. ขั้นกำหนดสาเหตุของปัญหา (สมุทัย)

                      ๓. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (นิโรธ)

                      ๔. ขั้นสรุปผล (มรรค)

                   .

.วิธีดำเนินการวิจัย

                        ๓.๑ ประชากร :

ประชากร ได้แก่ พระนิสิตที่เรียนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน ชั้นปีที่ ๔ ภาคเรียนที่  ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๔  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา จำนวน ๑๐ รูป

                   ๓.๒ เครื่องมือในการวิจัย : 

เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยแบบการสนทนากลุ่ม (Group Discusion)

                   ๓.๓ การสร้างเครื่องมือในการวิจัย  : 

๑. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนว คิดในการสร้างเครื่องมือ

                             ๒. กำหนดกรอบแนวคิดการสร้างเครื่องมือ ในการสนทนากลุ่ม

                             ๓. ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน ตรวจสอบกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม

                               ๔. ปรับปรุงกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม ตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์

                   ๓.๔ การเก็บข้อรวบรวมข้อมูล :

๑. ชี้แจงกระบวนการสนทนากลุ่ม

๒. จัดกลุ่มสนทนา

๓. บันทึก และรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม

๔. สรุปผลการสนทนากลุ่ม

. การวิเคราะห์ข้อมูล  : 

ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบพรรณนาความ

 

 

. นิยามศัพท์เฉพาะ

          การวิเคราะห์ปัญหา หมายถึง การใช้หลักอริยสัจ ๔ มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก

          อริสัจ  4   หมายถึง ทุกข์  สมุทัย   นิโรธ   และมรรค

          วิชาพุทธวิธีการบริหาร หมายถึง เป็นวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ จำนวน ๒ หน่วยการเรียน โดยศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมการบริหารงานในคัมภีร์ในพระไตรปิฎก

พระนิสิต  หมายถึง พระนิสิตที่เรียนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน ชั้นปีที่  ๔  ภาคเรียนที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๔  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา

          มหาวิทยาลัย  หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   ๑. เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยใช้กระบวนการหลักอริสัจ ๔ ในการแก้ปัญหา

                   ๒. เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาข้อบกพร่องของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพุทธวิธีการบริหารงานในอนาคต

                   ๓. เพื่อพัฒนาพระนิสิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาโดยใช้หลักอริยสัจ ๔ และมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมในพระไตรปิฎก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการพัฒนาสังคมต่อไป

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก  ข

ประวัตินักวิจัยชั้นเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัตินักวิจัย

 

. ชื่อภาษาไทย                   : ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนอง วังฝายแก้ว

   ชื่อภาษาอังกฤษ                   : KANONG  WANGPHAIKAEW

.รหัสประจำตัวนักวิจัย         : ๐๐๐๐๑๘๔๘

. ตำแหน่ง                        : ผู้ช่วยศาสตราจารย์  / หัวหน้าสาขา

. หน่วยงานที่สังกัด                 : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

                               อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ๕๖๐๐๐

                               โทร. ๐-๕๔๔๓-๑๕๕๖  โทรสาร ๐-๕๔๔๘-๒๘๗๖

.  ประวัติการศึกษา  

๕.๑ เปรียญธรรม ๔ ประโยค

๕.๒ ปริญญาตรี   :      พุทธศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยา)

                             มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๕.๓ ปริญญาโท   :      การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก

.  สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ

๖.๑ สาขาพระพุทธศาสนา

๖.๒ สาขาภาษาบาลี

๖.๓ ภาษาล้านนา

. ประสบการณ์

.๑ งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว

          ๗.๑.๑ ผู้ช่วยนักวิจัย เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์เอกสารโบราณเมืองพะเยา           : ศึกษาเฉพาะกรณีเอกสารบันทึกโบราณเกี่ยวกับพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา” (๒๕๔๓)

          ๗.๑.๒ นักวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานวิชาการ ตามทัศนะของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ” (๒๕๔๓)

          ๗.๑.๓ นักวิจัย เรื่อง “การศึกษาสภาพการดำเนินงาน โครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา” (๒๕๔๔)

            ๗.๑.๔ นักวิจัย เรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาพระพุทธศาสนา (ส ๐๔๘, ส ๐๔๑๐, ส ๐๔๑๐) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔, ๕ และ ๖”    (๒๕๔๕)

๗.๑.๕ นักวิจัย เรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาพระพุทธศาสนา (ส ๐๑๘, ส ๐๑๑๐, ส ๐๑๑๒) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑, ๒ และ ๓”      (๒๕๔๓)

           ๗.๑.๖ นักวิจัย เรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น”     (๒๕๔๖)

         

                  ๗.๑.๗ นักวิจัย เรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย”  (๒๕๔๖)

          ๗.๑.๘ หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “ศึกษาพฤติกรรม จริยธรรมและคุณธรรม ของนิสิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา” (๒๕๔๗)

.๒ งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

                   ๗.๒.๑ นักวิจัย เรื่อง “การศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาด้าน     ประสิทธิภาพและสมรรถภาพของผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” (๒๕๔๘)

                   ๗.๒.๒ นักวิจัย เรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนวิถีพุทธ”  (๒๕๔๙)

            ๗.๓ งานประเมิน

                          ๗.๓.๑ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  (๒๕๕๑)

สถานภาพ : ผู้ประเมิน

                 ๗.๓.๒ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทศบาลตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา (๒๕๕๒)

สถานภาพ : ผู้ประเมิน

                          ๗.๓.๓ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา (๒๕๕๓)

 สถานภาพ : ผู้ประเมิน

                           ๗.๓.๔ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทศบาลตำบลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (๒๕๕๓)

 สถานภาพ : ผู้ประเมิน

                           ๗.๓.๕ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทศบาลตำบลบ้านทราย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา  (๒๕๕๔)

 สถานภาพ : ผู้ประเมิน

                           ๗.๓.๖ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทศบาลตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา   (๒๕๕๔)

สถานภาพ : ผู้ประเมิน

                          ๗.๓.๗ การประเมินโครงการจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน (Check Dam) ตามแนวพระราชดำริ ของจังหวัดพะเยา โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา  (๒๕๕๔)        

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 494553เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท