รายงานการวิจัย


การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหาร โดยใช้หลักอริสัจ ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

 

  การวิจัยเรื่อง    การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหาร โดยใช้หลักอริสัจ  ๔    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา   ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้

. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  ประชากร ได้แก่ พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ วิชาเอกการจัดการเชิงพุทธ ชั้นปีที่ ๔  ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  จำนวน  ๑๐  รูป

.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

            เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยแบบการสนทนากลุ่ม (Group Discusion)

ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง [1] กรณีศึกษาคุณลักษณะของผู้ดำเนินการสนทนาในการวิจัยแบบสนทนากลุ่ม 

           ศึกษาคุณลักษณะของผู้ดำเนินการสนทนาในการวิจัยแบบสนทนากลุ่ม โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษารายกรณีนักวิจัยที่มีความรู้และมีคุณสมบัติเหมาะสม รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การศึกษาเอกสาร และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความเพื่อสรุป ผลการวิจัยสรุปได้ว่าคุณลักษณะของผู้ดำเนินการสนทนาในการวิจัยแบบสนทนากลุ่มที่สำคัญ มีดังนี้ ๑) การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๒) แสดงออกซึ่งสีหน้า กริยา ท่าทาง คำพูดที่พึงประสงค์ ๓) ให้เกียรติแก่ผู้เข้าร่วมสนทนา ๔) ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ๕) มีสติปัญญาดี ความคิดความจำดี ๖) มีทักษะความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ๗) มีความรู้ในวิธีวิทยาวิจัยและเทคนิคต่าง ๆ ๘) มีความรู้ความสามารถทางด้านจิตวิทยาสังคม ๙) มีทักษะการเขียนรายงานผลการวิจัยที่ดี ๑๐) มีพฤติกรรมการสื่อสารที่มีชีวิตชีวาและเป็นธรรมชาติ ๑๑)มีน้ำเสียงน่าฟัง เน้นเนื้อความเพื่อให้น่าสนใจ ๑๒) พูดชัดเจน สื่อสารถูกต้องทั้งรูปประโยคและความหมาย ๑๓) เป็นผู้ฟังที่ดีและสามารถจับประเด็นสำคัญได้ดี ๑๔) มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการวิจัยแบบสนทนากลุ่ม ๑๕) มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย ๑๖) มีความเข้าใจในคำถามการสนทนา ๑๗) มีทักษะการกล่าวเริ่มต้นและจบการสนทนา ๑๘) มีทักษะในการใช้คำถามประเภทต่าง ๆ ๑๙) มีความคิดคล่องแคล่วเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจุดประเด็นคำถามได้ ๒๐) สร้างบรรยากาศผ่อนคลายได้ ๒๑) มีความยืดหยุ่น และ ๒๒) มีความเข้าใจและสามารถใช้เทคนิคในการปรับพฤติกรรม                       

.๑ การสร้างเครื่องมือในการวิจัย  : 

                 ๑. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนว      คิดในการสร้างเครื่องมือ

                 ๒. กำหนดกรอบแนวคิดการสร้างเครื่องมือ ในการสนทนากลุ่ม

                 ๓. ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน ตรวจสอบกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม คือ

                      ๓.๑  นายธำรงวาท  วงศ์ใหญ่  อดีตศึกษานิเทศก์เขตพื้นการศึกษาที่ ๑ จังหวัดพะเยา

                      ๓.๒  ผศ. จักรแก้ว  นามเมือง  หัวหน้าสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                      ๓.๓  ผศ.ณรงค์ โวหารเสาวภาคย์  อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                ๔.ปรับปรุงกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม ตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์

 

.๒ การเก็บข้อรวบรวมข้อมูล :

๑. ชี้แจงกระบวนการสนทนากลุ่ม

๒. จัดกลุ่มสนทนา

๓. บันทึก และรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม

๔. สรุปผลการสนทนากลุ่ม

         ๓. การวิเคราะห์ข้อมูล

                 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบพรรณนาความ

 

 



[1] กนกวรรณ   ชูชีพ  :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๒๕๑๘.

หมายเลขบันทึก: 494550เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท