รายงานการวิจัย


วิชาพุทธวิธีการบริหารงานเป็นวิชาที่พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ วิชาเอกการจัดการเชิงพุทธ ชั้นปีที่ ๔ เป็นวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ จำนวน ๒ หน่วยกิต เพื่อให้พระนิสิตได้ทราบถึงกระบวนการเรียนการสอนของวิชาพุทธวิธีการบริหารงานในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ได้ทราบถึงแนวคิดและทฤษฎีหลักการบริหารงาน การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาสำคัญของสังคม วิเคราะห์ คุณค่าของพุทธธรรมและคุณค่าของวิชาการบริหารในเชิงเปรียบเทียบ

บทที่  ๑

                                                       บทนำ

 

๑.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

             ด้วยวิทยาลัยสงฆ์พะเยา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา ได้ตระหนักถึงพันธะกิจของมหาวิทยาลัยในส่วนของการผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการแก่สังคม  และได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนา  เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรค ๒  ความว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์    รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

                  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา  ดังนั้น วิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัยชั้นเรียน  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นพิธีกรบรรยาย เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา  เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

                 วิชาพุทธวิธีการบริหารงานเป็นวิชาที่พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ  วิชาเอกการจัดการเชิงพุทธ ชั้นปีที่ ๔ เป็นวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์   จำนวน  ๒ หน่วยกิต เพื่อให้พระนิสิตได้ทราบถึงกระบวนการเรียนการสอนของวิชาพุทธวิธีการบริหารงานในแง่มุมต่าง ๆ   เช่น ได้ทราบถึงแนวคิดและทฤษฎีหลักการบริหารงาน การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาสำคัญของสังคม วิเคราะห์ คุณค่าของพุทธธรรมและคุณค่าของวิชาการบริหารในเชิงเปรียบเทียบ

        การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยแบ่งสาเหตุของปัญหาไว้  ๓ ระดับคือ ปัญหาด้านหลักสูตร  ปัญหาด้านผู้เรียน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาการเรียนการสอนดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและแก้ไขให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนากระบวนการการสอนดังกล่าว โดยใช้หลักของอริสัจ ๔ มาแก้ปัญหา[1] ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ                  

                   ๑. ระดับทฤษฎี แบ่งออกเป็น  ๓ ขั้นตอน คือ

                   ๑.๑ ขั้นกำหนดปัญหา ได้แก่ การทำเข้าใจว่าปัญหาการเรียนการสอนคืออะไร อยู่ที่ไหน และมีขอบเขตอย่างไร

                   ๑.๒ ขั้นสืบสาวหาสาเหตุ คือหยั่งหาสาเหตุของปัญหาหรือ ปัญหาเกิดจากอะไร

                   ๑.๓ ขั้นตั้งสมมติฐาน คือให้เห็นกระบวนการที่แสดงว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้และอย่างไร

                    ๒. ขั้นการเฟ้นหามรรค  ซึ่งแยกออกเป็น  ๓  ขั้นตอน

                   ๒.๑ เอสนา  คือ ขั้นตอนการแสวงหาข้อพิสูจน์ หรือขั้นทดลอง ขั้นวิจัยและการเก็บข้อมูล

                   ๒.๒ วิมังสา  คือ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำการตรวจสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่เพียงใด

                   ๒.๓ อนุโพธ  คือ ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการตัดสินสิ่งที่ผิดออกไป เลือกมรรคที่แท้ที่จะนำไปสู่ผล คือ การแก้ปัญหาการเรียนการสอน

                   จากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอันเกิดมาจากสาเหตุของปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านตัวผู้เรียน  และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขได้โดยใช้หลักอริยสัจ ๔ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในอนาคตต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยใช้หลักอริยสัจ ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

ขอบเขตของการวิจัย

          ๑. ขอบเขตด้านประชากร  : 

     ประชากร ได้แก่ พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธวิชาเอกการจัดการเชิงพุทธ ชั้นปีที่ ๔ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  จำนวน ๑๐  รูป

          ๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา  :

      ผู้วิจัยได้ศึกษาขอบเขตด้านเนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้หลักอริยสัจประกอบด้วย

                     ๑. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)

                      ๒. ขั้นกำหนดสาเหตุของปัญหา (สมุทัย)

                     ๓. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (นิโรธ)

                     ๔. ขั้นสรุปผล (มรรค)

                     .

.วิธีดำเนินการวิจัย

                        ๓.๑ ประชากร :

ประชากร ได้แก่ พระนิสิตที่เรียนวิชาพุทธวิธีการบริหารงานชั้นปีที่ ๔ ภาคเรียนที่  ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา จำนวน ๑๐ รูป

                   ๓.๒เครื่องมือในการวิจัย : 

เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยแบบการสนทนากลุ่ม

(Group Discusion)

 

                   ๓.๓ การสร้างเครื่องมือในการวิจัย  : 

                              ๑. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิด

                                  ในการสร้างเครื่องมือ

                              ๒. กำหนดกรอบแนวคิดการสร้างเครื่องมือ ในการสนทนากลุ่ม

                             ๓. ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน ตรวจสอบกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม

                               ๔. ปรับปรุงกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม ตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะจาก    ผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์

                   ๓.๔ การเก็บข้อรวบรวมข้อมูล :

๑. ชี้แจงกระบวนการสนทนากลุ่ม

๒. จัดกลุ่มสนทนา

๓. บันทึก และรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม

๔. สรุปผลการสนทนากลุ่ม

 

. การวิเคราะห์ข้อมูล  : 

       ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบพรรณนาความ

 

. นิยามศัพท์เฉพาะ

          การวิเคราะห์ปัญหา หมายถึง การใช้หลักอริยสัจ ๔ มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน

          อริสัจ ๔  หมายถึง  ทุกข์  สมุทัย   นิโรธ   และมรรค

          วิชาพุทธวิธีการบริหาร หมายถึง เป็นวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์  จำนวน ๒ หน่วยการเรียน โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการบริหารงาน

พระนิสิต  หมายถึง พระนิสิตที่เรียนวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน ชั้นปีที่  ๔ ภาคเรียนที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๔  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา

          มหาวิทยาลัย  หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   ๑. เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยใช้กระบวนการหลักอริสัจ ๔ ในการแก้ปัญหา

                   ๒. เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาข้อบกพร่องของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพุทธวิธีการบริหารงานในอนาคต

                   ๓. เพื่อพัฒนาพระนิสิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาโดยใช้หลักอริยสัจ ๔ และมีความรู้ความเข้าใจหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการพัฒนาสังคมต่อไป

 



[1] พระราชวรมุนี : ๒๕๓๕  :  ๗๓๑ - ๗๓๒

หมายเลขบันทึก: 494545เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท