การฟังที่ดีย่อมได้ปัญญา (สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ) เป็นหลักการฟังตามหลักพระพุทธศาสนา


การฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ ต่อไป การฟังจึงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นมากในยุคโลกานุวัตน์ เพราะข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ จะแพร่ขยายจากสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรวดเร็วทั่วถึงกัน การแก้ไขข้อบกพร่องในการฟังก็แก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดก็แก้ไขตรงจุดนั้น การฟังเป็นทักษะที่ฝึกฝนให้เกิดความคล่องตัวได้ เพราะการฟังเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดปัญญา ถ้าผู้ฟังรู้จักเลือกฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็จะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ถ้าบุคคลใดที่มีทักษะการฟังดี ทักษะอื่น ๆ ก็จะดีตามไปด้วย ดังนั้น การฝึกทักษะการฟังจึงควรฝึกเรียงไปตามลำดับขั้นจากง่ายไปสู่ยากเมื่อรับฟังเรื่องใดแล้วต้องรู้จักใช้วิจารณญาณว่า เรื่องที่ฟังนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน มีเหตุมีผลที่จะสามารถอธิบายให้สังคมได้รับทราบอย่างช้ดเจน ก็จะทำให้การฟังนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น.

การฟังที่ดีย่อมได้ปัญญา (สุสฺสูสํ  ลภเต  ปญฺญํ) เป็นหลักการฟังตามหลักพระพุทธศาสนา

       การฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสาร หากฟังแล้วเข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้พูด จะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามหากไม่เข้าใจจะทำให้การสื่อสารเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคม ก่อให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร อย่างเช่น การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์บางฉบับ บางช่องในปัจจุบันบางครั้งการนำเสนอข่าวทำให้สังคมสับสนเกิดความขัดแย้งในการนำเสนอข่าวเลือกข้างสีเสื้อต่างๆ การนำเสนอข่าวไม่เป็นกลาง เพราะฉะนั้นผู้ฟังต้องฟังแบบมีสติ มีเหตุมีผลใช้ปัญญาพิจารณาเนื้อหาของข่าวแต่ละข่าวอย่างพินิจพิเคราะห์เป็นกลางในการรับฟังข่าวสารนั้นๆ อย่างไม่มีอคติไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง  พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวไว้ว่า[1] การฟัง ตามคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ”สุตะ”  แปลว่า สิ่งที่ได้สดับ หมายถึงความรู้ที่ได้จากการได้ยินได้ฟัง การสดับ การอ่าน การเล่าเรียน ความรู้ที่ได้จากการศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ  เกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพและการประกอบกิจต่าง ๆ ในทางโลก สุตะที่เป็นคุณสมบัติของอริยสาวกนั้น หมายถึงความรู้ที่จำเป็นสำหรับทุกคนเพื่อให้รู้จักวิธีที่จะดำเนินชีวิตให้ดีงาม ทำให้รู้จักใช้สุตะ อื่น ๆ มีวิชาชีพ เป็นต้น ไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เป็นส่วนเสริมสำหรับปิดกั้นโทษช่วยทำให้สุตะอื่นมีคุณค่าเต็มบริบูรณ์ เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาตามความหมายที่แท้จริง เป็นคุณด้านเดียว ยิ่งกว่านั้น สุตะ อย่างนี้เท่านั้น เป็นความรู้ที่ทำให้ปุถุชนกลายเป็นอริยะหรืออารยชนได้ สุตะ นี้ก็คือความรู้ในอริยธรรม คือหลักความจริงความดีงามที่อริยชนแสดงไว้ หรือ คำแนะนำสั่งสอนต่าง ๆ  ที่แสดงหลักการครองชีวิตประเสริฐ ชี้มรรคาไปสู่ความเป็นอริยชน สุตะในศิลปวิทยาต่าง ๆ  จะต้องมีสุตะในอริยธรรมนีควบหรือแทรกอยู่ด้วยเป็นส่วนเติมเต็มเสมอไป

          ในมงคล ๓๘ ประการได้กล่าวถึง การเป็นพหูสูต หมายถึง ผู้ได้ฟังมาก หรือ บางครั้งเรียกว่า การฟังธรรมตามกาล ซึ่งหมายถึง การได้ฟังธรรมตามเวลาที่สมควร หรือตามโอกาสที่มาถึง เช่น ได้ฟังธรรมในวันธรรมสวนะ ๘ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ 

          เกรียงศักดิ์ พลอยแสง ได้กล่าวว่า [2]การฟัง คือ กระบวนการรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยินทั้งนี้โดยผ่านขั้นตอนของการรับสาร ติดตามเรื่องราว เข้าใจสาร และสามารถจับใจความสำคัญของสาร  ที่ผู้ฟังควรแสดงปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีความคิดเห็นคล้อยตามหรือโต้แย้งต่อสารนั้น

          สรุป..การฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ  ต่อไป การฟังจึงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นมากในยุคโลกานุวัตน์ เพราะข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ  จะแพร่ขยายจากสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรวดเร็วทั่วถึงกัน การแก้ไขข้อบกพร่องในการฟังก็แก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดก็แก้ไขตรงจุดนั้น การฟังเป็นทักษะที่ฝึกฝนให้เกิดความคล่องตัวได้ เพราะการฟังเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดปัญญา ถ้าผู้ฟังรู้จักเลือกฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็จะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ถ้าบุคคลใดที่มีทักษะการฟังดี  ทักษะอื่น ๆ  ก็จะดีตามไปด้วย ดังนั้น การฝึกทักษะการฟังจึงควรฝึกเรียงไปตามลำดับขั้นจากง่ายไปสู่ยากเมื่อรับฟังเรื่องใดแล้วต้องรู้จักใช้วิจารณญาณว่า เรื่องที่ฟังนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน  มีเหตุมีผลที่จะสามารถอธิบายให้สังคมได้รับทราบอย่างช้ดเจน ก็จะทำให้การฟังนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น.



[1] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๙,(กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๓) หน้า ๔๒๐-๔๒๑.

[2] เกรียงศักดิ์  พลอยแสง,  เข้าใจภาษา....เข้าใจสื่อสาร, หน้า ๓๓-๓๔.

หมายเลขบันทึก: 494535เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท