ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้ 1


ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้
   

"แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ"

        การเตรียมรบให้พร้อมสรรพ คือ การตระเตรียมกำลังทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ให้พรักพร้อม  แต่จะคิดให้ไกลและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ไปอีก น่าจะหมายถึงการ "เตรียมจิตใจ" และ "ความคิด"  ในเรื่องของ การศึกสงครามไว้ให้พร้อมด้วย         การทำศึกสงคราม ถือเอาชัยชนะด้วยการใช้สติปัญญาเป็นเรื่องสำคัญกว่าการใช้เพียงกำลัง     ซุนจู้สอนว่า....         "สงครามทุกรูปแบบ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลอุบาย" และ "นโยบายที่ดีที่สุดของการชนะสงคราม คือ การทำให้ข้าศึก ยอมแพ้โดยไม่ต้องสู้รบ"         หมายถึง การใช้สติปัญญา ความรอบรู้ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ เพื่อทำลายล้างข้าศึก หรือทำให้ข้าศึก เกิดความอ่อนแอภายในเสียก่อนที่จะต้องใช้กำลังทหารเข้าทุ่มเท          ซุนจู้กล่าวว่า.....             "แม่ทัพที่ชำนาญการสงคราม เอาชนะข้าศึกได้โดยมิต้องสู้รบ    ยึดเมืองได้โดยมิต้องใช้กำลังเข้าตี    และล้มอาณาจักรของศัตรูได้โดยมิต้องทำการรบเรื้อรัง"  การได้อ่าน และทบทวนตำราพิชัยสงครามของซุนจู้หลายๆครั้ง ไม่เพียงจะทำให้เกิดสติปัญญา และความคิดอันเป็นประโยชน์ในการรู้สึกไหวตัว  ยังช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆในโลกปัจจุบันได้ง่าย    สงครามเป็นเรื่องร้ายแรงยิ่ง     คู่สงครามไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้ หรือฝ่ายชนะ ต่างต้องได้รับความเสียหาย ชีวิตของผู้คนพลเมือง ทรัพย์สินของบ้านเมืองต้องสูญเสียสิ้นเปลืองอย่างน่าอเนจอนาถ    สงครามเป็นเหตุแห่งความเดือดร้อนใหญ่หลวงของประชาชน และผู้ต้องภัยพิบัติมากที่สุดจากสงคราม ก็คือประชาชนโดยตรง     ม่อตี๊ เป็นนักคิด นักบันทึกจดหมายเหตุ (พ.ศ.64-162) ประณามการทำสงครามไว้อย่างน่าพิจารณาว่า             " ความถูกต้อง และความควรมิควร เป็นสิ่งชี้ขาดได้ยาก"                 ผู้ที่ทำความผิดขนาดเล็ก ถือเป็นอาชญากร แต่ผู้ที่ทำผิดขนาดใหญ่กว่า เช่น การยกกองทัพ ไปรุกรานโจมตีเข่นฆ่าผู้คนพลเมืองของเมืองอื่นล้มตายนับพันนับหมื่น กลับไม่ถือกันว่าเป็นความผิด     แต่กลายเป็นสิ่งอันควรยกย่องสรรเสริญ  แล้วเช่นนี้ ความถูกต้อง และความควรมิควรอยู่ที่ใดกันแน่"  ซุนจู้ และตำราพิชัยสงครามสิบสามบท          ขบวนศึกของจีนในยุคนั้น มีการจัดกำลังเพื่อทำการรบ ได้ทั้งแบบปรกติธรรมดา ซึ่งเรียกว่าเจิ้ง หรือเจี่ย และแบบพิสดาร เรียกว่า ฉี หรือคี้  ซึ่งหมายถึงผิดจากธรรมดา             เช่นการใช้กองทัพใหญ่เข้าตีตรงหน้า เป็นหลักธรรมดา เป็นเจิ้ง ขณะเดียวกัน ใช้หน่วยจู่โจม ต่างหาก เข้าตีทางปีกซ้ายของข้าศึก หรือปีกขวา หรือด้านหลัง ในลักษณะลอบเข้าตีโดยที่ข้าศึกไม่คาดคิด ถือเป็น ฉี คือ พิสดาร             กลอุบายสร้างความพะวักพะวังลังเลให้ข้าศึก เป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งซึ่งจะเอาชนะข้าศึกได้   "เจิ้ง และ ฉี" จึงปรากฎอยู่เสมอในการทำสงครามยุคนั้น การสงครามทัศนะของซุนจู้        สงครามเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของบ้านเมือง จะต้องศึกษากันให้ถ่องแท้         ซุนจู้ เชื่อว่า "กำลังใจ" และ "สติปัญญา" ของมนุษย์ คือสิ่งสำคัญที่จะชี้ขาดผลของสงคราม         ผู้พิชิตศึกได้ดีเยี่ยมย่อ "ทำลายแผนของข้าศึก" สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างข้าศึกและ พันธมิตร ระหว่างขุนนาง ระหว่างแม่ทัพกับทหาร ก่อวินาศกรรมในเขตของข้าศึก  ข้าศึกจะเสียขวัญ หมดกำลังใจต่อสู้ต้านทาน กองทัพข้าศึกก็จะยอมแพ้ เว้นแต่เมื่อเอาชนะข้าศึกด้วยวิธีดังกล่าวมิได้ การใช้กำลังทหารจึงจะเป็นเรื่องจำเป็น
หมายเลขบันทึก: 49447เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอเล่าเรื่องสามก๊กมั่ง (จากหนังสือกลั่นสามก๊ก, บูรชัย ศิริมหาสาคร เรียบเรียง)  คนที่อ่านสามก๊กทุกคนจะต้องรู้จักขบเบ้ง ซึ่งเป็นบุรุษที่ฉลาดที่สุด เก่งที่สุด แต่หากมองให้ลึกกว่านั้น แท้จริงแล้วบุคคลที่เป็นสุดยอดที่สุดคือ เล่าปี่ จึงสามารถใช้คนอย่างขงเบ้งได้

เล่าปี่ทำอย่างไรจึงทำอย่างนั้นได้.... เพราะการที่เขาเป็นคนที่จริงใจและอดทน(ที่ต้องเชิญขงเบ้งมาเป็นที่ปรึกษาถึง 3 ครั้ง) ให้เกียรติ โดยการคำนับขงเบ้งขอให้เขามาเป็นที่ปรึกษาให้ ถึงแม้ว่าตนเป็นผู้สูงศักดิ์กว่า

เรื่องนี้บอกว่าการที่จะเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ได้ได้จะต้อง

1. ทำตนให้เล็กที่สุด รู้จักให้เกียรติผู้อื่น ขงจื้อจึงว่า "ที่นั่งที่ดีที่สุด คือ ที่นั่งในหัวใจคน"

2. ผู้บริหารที่ดีต้องใช้ความแข็งแผงไว้ด้วยความอ่อนและใช้ความอ่อนซ่อนไว้ในความแข็ง หรือต้องอ่อนแต่เหนียว คือ นุ่มนวลโดยวิธีปฏิบัติแต่ยืนหยัดในหลักการ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท