๔๕.สมัน..ในความทรงจำ


  

ต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๕ คุณพี่ธนพล สาระนาค ประธานชมรมอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ

 

         ได้ส่งหนังสือเรื่อง “ สมัน “

 

 

ที่นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล เขียนไว้เมื่อ ปี ๒๔๙๗.... มาให้ผมเล่มหนึ่ง ขอขอบพระคุณ คุณพี่ธนพล ไว้ ณ โอกาสนี้ ทำให้ผมได้ความรู้เพิ่ม ไปพร้อมๆ กับการได้ฟื้นความทรงจำ ในเหตุการณ์ครั้งอดีต ..เป็นต้นว่า....

      เรื่องแรก ผมได้รับความรู้ใหม่ เพราะเพิ่งรู้ว่า “ สมัน “ เป็นกวางชนิดหนึ่ง ที่ตัวเมียไม่มีเขา ส่วนตัวผู้จะมีเขาขนาดใหญ่ แตกกิ่งออกไปหลายแขนง โค้งงอนสวยงาม ในอดีต เมืองไทยจะพบมากในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เป็นกวางที่ชอบหากินใน เวลาเย็นจนถึงรุ่งเช้า ตามป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้าน้ำแฉะ ไม่ชอบป่าทึบ รกชัฏ เพราะเถาวัลย์หรือกิ่งไม้พันเกี่ยวเขาของมัน จนเป็นอุปสรรคต่อการหากินและการหลบซ่อนตัว



เมื่อฤดูน้ำหลาก สมันจะหนีไปอยู่บนเนินที่น้ำท่วมไม่ถึง ทำให้เป็นเป้า



ถูกล่าได้ง่าย บางแห่งชาวบ้านจะเอาเขาสมัน ผูกติดที่ศีรษะ แล้วคลานเข้าไปหาฝูงสมัน พอสมันตัวผู้เห็น จะวิ่งเข้ามาไล่ขวิด โดยคิดว่าเป็นตัวผู้ที่จะเข้ามาแย่งตัวเมียในฝูง เลยถูกแทงตายเอาง่ายๆ.



ปัจจุบัน กวางชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของเมืองไทย ราวช่วงปี ๒๔๗๕-๒๔๘๑


         เรื่องที่ ๒ เป็นสำนวนที่เกิดและดับ..ตามยุค ตามสมัย เรื่องนี้ไปเกี่ยวโยงกับปู่(๒๔๕๐-๒๕๔๕)ของผมเอง ซึ่งเกิดรุ่นราวคราวเดียวกับคุณหมอบุญส่ง.เลขะกุล .ที่มักชอบพูด..เมื่อพบหรือกระทำสิ่งใดๆ ประสบกับความสำเร็จได้โดยง่าย ปู่ก็มักจะพูดว่า .. “ สมันๆ จริงๆ “หรือ “ ของ สมันๆ “ ..ตอนนั้นผมยังเป็นเด็กประถมต้น ฟังแบบนกแก้วนกขุนทอง ไม่ได้รู้ว่า มันมีความหมายว่ากระไร...จนโตขึ้นมา..คำพูดเกี่ยวกับสมัน..ก็ไม่เคยได้ยินอีก...คงสูญพันธุ์ตามสมันและยุคสมัย..แต่มีสำนวนใหม่ ได้แก่ “ ของกล้วยๆ เรื่องกล้วยๆ หรือ ของหมูๆ ...เข้ามาแทน


         เรื่องที่ ๓ จากนิทานอีสป เรื่อง กวางกับพุ่มไม้ เรื่องมีอยู่ว่า เจ้ากวางใหญ่วัยคะนอง หนีการตามล่าของนายพราน เข้าไปซ่อนกำบังตัวในพุ่มไม้ใบอ่อนหนา จนนายพรานมองไม่เห็น เดินเลยผ่านไป เจ้ากวางที่ซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ แทนที่จะสำนึกถึงบุญคุณของพุ่มไม้ ที่ช่วยกำบังให้รอดตายจากนายพราน ..กลับเล็ม กินใบอ่อน จนนายพรานเดินกลับมาเห็นเจ้ากวางซ่อนตัวอยู่ จึงยิงด้วยหน้าไม้ ..ก่อนจะสิ้นใจ กวางได้รำพึงขึ้นว่า “ต้นไม้ ใบไม้ช่วยชีวิตเราแท้ๆ แต่เรากลับเนรคุณ กินและทำลายมัน ”


         คงไม่ต่างไปจากความร่มเย็นเป็นสุขบนแผ่นดินถิ่นไทย ที่ถูกยาเสพติดและการคอรัปชั่นไขชอนบ่อนทำลายแพร่หลายทั่วแห่งหน จนยากแก่การแก้ไข ให้สูญสิ้นจากแผ่นดินไทย ..ครั้นจะหันไปพึ่งพาผู้แทนปวงชน..รึก็แสนจะสลดหดหู่ใจ ..กับพฤติกรรม..อ่อนด้อย น้อยคุณธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ชาติบ้านเมือง .ของผู้แทน(บางคน) .ดั่งจะเห็นได้จากความสับสนวุ่นวาย..ที่เกิดกลางประชุมสภา..อยู่เป็นเนืองนิจ


         การเลือกตั้งในอนาคต. น่าจะมีการทดลองประยุกต์ใช้ Pharmacogenomics ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ของการรักษาผู้ป่วยเฉพาะบุคคล โดยแพทย์จะดูลายแทงพันธุกรรม ซึ่งจะสามารถบ่งบอกถึง..ขนาดการให้-ใช้ยา ผลการใช้ยา การเกิดภาวะแทรกซ้อนและโอกาสการ เกิดโรคร้ายทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ชนิด Familai adenomatous polyposis ..ฯ ..ก่อนจะรักษาให้ยา....


          ให้ประชาชนได้เรียนรู้ เอาแนวทางไปปรับ -ประยุกต์ใช้ พิจารณาคัดกรอง-วินิจฉัย-คัดเลือก-คัดสรร ผู้แทน/ตัวแทน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ ให้ได้มา ซึ่งบุคคลที่มากด้วยการปฏิบัติดี มีคุณธรรม ... ได้แก่..****


        “ ๑) การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

          ๒) คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดีนั้น

          ๓) คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด

          ๔) การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง “


          . ถึงเวลา.ที่แผ่นดินไทย ควรร่มเย็น.. เป็นสุข .ด้วยมือและใจรักบ้านรักเมืองของฅนในชาติอย่างแท้จริง. กันหรือยัง..??.


 

                                         สามสัก

                                    ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕


อ้างอิง

*** ๑.อัญเชิญมาจากพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕

        ๒.หนังสือชุดนิยมไพร เรื่อง” สมัน “ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล พิมพ์ออกในเดือน กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ และนายธนพล สาระนาค ได้จัดพิมพ์ใหม่ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๕๔ เพื่ออนุรักษ์ฉบับดั้งเดิม

คำสำคัญ (Tags): #สมัน
หมายเลขบันทึก: 494425เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ท่านสามสักคะหนูไม่ได้เช้ามาเยี่ยมเสียนานเลยท่านสบายดีนะคะ หนูว่าถึงเวลาแล้วล่ะค่ะที่แผ่นดินไทยต้องร่มเย็นเป็นสุขด้วยมือของเราคนไทยแท้ๆทุกคนค่ะท่าน

เรียนคุณสามสัก ที่บ้านมี"ลูกกระทิง ของหมออยู่เล่มหนึ่งครับ

  • ผมเคยเห็นแต่ภาพ
  • สมัยก่อนแถวกาญจนบุรี
  • น่าจะมีมาก
  • เสียดายสูญพันธุ์ไปแล้ว

คุณสามสักค่ะ ..ขอบคุณเรื่องเล่า "สมัน"... ทำให้คิดถึงว่า สัตว์ป่าหลายชนิดของเราก็น่าเป็นห่วงที่จะสูญพันธุ์เช่นกัน รวมถึงนก อย่างเช่น นกแต้วแล้วท้องดำ ทราบว่านับเป็นจำนวนตัวได้เลย เหลือน้อยมาก เพราะแหล่งอาศัยถูกทำลาย เกรงจะเป็นคล้ายๆ สมัน ที่ได้ยินแต่ชื่อและเรื่องเล่าขาน ... วันก่อนอ่านงาน "กำเนิดลูกละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก" ...ทำให้นึกถึงชนิดอื่นๆเช่นกัน หนึ่งในความคิดนั้นคือ สมันค่ะ :-)).

จิตสำนึกของการเป็นพลเมืองดี สมควรไดัรับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ จากระดับครอบครัว..ในโรงเรียน..ชุมชนและสังคมค่ะ..

น่าสนใจมาก หายไปนานนะคะคุณพี่

  • อ.วิชอบชอบอ่านเรื่องสัตว์ตามธรรมชาติมากค่ะ เพราะเป็นคนชอบวิถีธรรมชาติ
  • ขอบคุณมากนะคะ ที่เล่าเรื่องสัตว์ตามธรรมชาติให้ฟังพร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เกี่ยวข้อง
  • นำภาพตามคำขวัญ "ธำรงไว้สิ่งแวดล้อม" ของฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้" ของอ.วิ มาฝากค่ะ

 

สมันมันหิวก็ต้องกินใบไม้ น่าสงสารเหมือนกันนะ

   ยังมีมากเหลือเกิน ที่เขาไม่สนใจๆแต่ตัวเอง เป็นผู้ที่มีโอกาสทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ แต่ไม่ทำ แล้วเมื่อไหร่กัน จะสงบสุขเหมือนเมื่อก่อน   ขอบคุณมากนะคะ

 

 

  • นำเรื่องสมันมาเชื่ิอมโยงกับการสร้างจิตสำนึกในคุณธรรมทางการเมืองได้อย่างน่าทึ่งค่ะ
  • สิ่งดีๆ อาจสูญพันธ์ุหรือสาปสูญไปได้หากเราเห็นแก่อามิสเพียงเล็กน้อย
  • คนมีอำนาจแต่ไม่รู้จักใช้อำนาจในทางที่ชอบธรรมเป็นเรื่องน่าเสียดายมากค่ะ เสียดายที่ได้เกิดมามีโอกาสดีกว่าใครที่จะได้สร้างบุญกุศลแต่กลับไม่ทำ
  • จะดูนักการเมือง ต้องดูให้ถึง"ยีน"เลยนะครับ ไม่งั้นแก้กันไม่หายอยู่อย่างนี้ ฮาๆๆ 
  • เมื่อก่อนเคยสอนเด็กๆเรื่อง"สมัน"บ้าง ในหนังสือชั้นม.1 ครับ เคยสงสัยและพูดคุยกันว่า กระแสอนุรักษ์ในบ้านเราขณะนี้สูงกว่าแต่ก่อนแล้วใช่มั้ย? ฝูงนกต่างๆหลายจำพวกจึงมากมาย ทั้งในอาคารและท้องทุ่ง เพื่อนครูคนหนึ่งตอบว่า "ไม่น่าจะใช่" เป็นเพราะอาหารการกินหาซื้อหากินง่ายกว่าแต่ก่อนมากกว่ามั้ง..
  • ขอบคุณความรู้ และขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยือนด้วยครับ
  • คุณครูหมูจ๋า เปลี่ยนรูปเสียจำไม่ได้เชียว
  • ขอบคุณมากครับ 
  • หนังสือของ นพ.บุญส่ง เลขกุล น่าอ่านน่าศึกษาทุกเรื่องครับ โดยเฉพาะหนังสือชุดนิยมไพร
  • ขอบคุณอาผู้เฒ่าวอญา ครับ
  • ศึกษาจากตำรับตำรา..เมืองกาญ บ้านเกิดท่าน ดร.ขจิต ก็มีสมันอยู่ไม่น้อยน๊ะ
  • ขอบคุณในกำลังใจที่ให้ครับ
  • ขอขอบคุณท่าน ดร.วรรณชไม Blank มากครับที่มาให้กำลังใจและเมนท์เพิ่มเติม...
  • คุณพี่นงนาทครับ..ผมเห็นว่า..สังคมปัจจุบัน..กระแสวัตถุนิยมเข้ามาแทรกซึม.บั่นทอนและทำลายวัฒนธรรมที่เป็นตัวก่อและเชื่อมโยงให้การบ่มเพาะจิตสำนึกดีในสถาบันครอบครัว/ชุมชน มากขึ้น..เป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน.ครับ.
  • ขอบคุณคุณหมอ .ธิรัมภา มากครับ..ที่ให้ความสนใจและมาให้กำลังใจครับ 
  • ขอบพระคุณอาจารย์วิ ที่กรุณาแวะเวียน มาเยี่ยมเยียน...
  • ชอบคำขวัญที่ฟาร์มของอาจารย์จัง  " เพิ่มรายได้ให้ชุมชน อุทิศตนเพื่อประชา เสริมปัญญาแหล่งเรียนรู้ เชิดชูความเป็นไทย  ธำรงไว้สิ่งแวดล้อม"
  • ย่องเข้าไปขโมยสูตร ยำผักกูดของคุณอากานดา Blank  ลองทำที่สวนชายเขาลับงา
  • ไม่มีปลาทู แต่ใช้หมูบดแทน ใช้น้ำมะนาวแทนมะกรูด
  • สุดยอดแห่งความอร่อย..ขอบอก
  • ขอบพระคุณ อ.Blank ที่กรุณาแวะเยี่ยมเยียนครับ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ธนิตย์Blank มากครับ ที่แวะเวียนเยี่ยมยามถามไถ่

นึกถึงคำพูดของชาวภาคเหนือแถวๆลำพูน ถ้าทำอะไรสำเร็จได้โดยง่าย เช่นค้าขายจะมีคำพูดว่า " หมาน...ๆ ๆ"คือขอให้ค้าขายคล่องมีลูกค้ามาอุดหนุนไม่ขาด ฯลฯ น่าจะมีที่มาจากคำว่า "สมัน" ในสมัยก่อนก็ได้นะคะ

  • รอการมาเยือนเสมอเลยค่ะ ดีใจที่ได้พบกันอีกค่ะ

  • สวัสดีจ้ะคุณสามสัก
  • เปลี่ยนรูปประจำตัวซะเท่ไปเลยนะจ๊ะ
  • สัตว์ป่าหลายต่อหลายชนิืดสูญพันธุ์ไปจากบ้านเมืองเราแล้วอย่างน่าเสียดาย
  • เหลือแต่ภาพให้เราได้เห็นกันเนาะ
  • ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจจาก  

        ๑.คุณครูหมูจ๋า  

         ๒.คุณปริม

         ๓.ท่านอาจารย์Sila Phu-Chaya

         ๔.ดร.ขจิต

         ๕.คุณอาณัฐรดา  

        ๖.คุณหมอธิรัมภา  

        ๗.คุณพี่นงนาท

        ๘.ผู้เฒ่าวอญ่า

        ๙.คุณอากานดาน้ำมันมะพร้าว

        ๑๐.คุณครูอ้อย แซ่เฮ

        ๑๑.คุณหยั่งรากฝากใบ

        ๑๒.คุณครูKRUDALA

        ๑๓.ผศวิไล แพงศรี

        ๑๔.ท่าน ดร.วรรณชไม(Kwancha)

        ๑๕.คุณอามะเดื่อ       และ.....

         ๑๖.คุณสิงห์ป่าสัก

ในวิชาที่ผมสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยฯ ผมถามนิสิตทุกห้องเสมอว่า "เดือนกันยายน" นิสิตจำวันสำคัญๆ ทางสังคมอะไรได้บ้าง...

ที่แน่ๆ พวกเขาลืมเรื่อง "สืบ นาคะเสถียร" ไปมากโขเลยครับ
กระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม-สัตว์ป่า  พวกเขามองไกลตัวเหมือนกัน ทั้งที่สิ่งเหล่านี้รายรอบและโอบกอดเขาอยู่ตลอดเวลา  ชมรมฯ ด้านสิ่งแวดล้อมก็มีน้อยมาก อาศัยการบูรณาการกับโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง พลอยให้กิจกรรมด้านนี้ไม่หล่นหายไปจากวิถีกิจกรรมของนิสิต

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณสามสัก

ขอบคุณมากๆนะคะที่เขียนบันทึกนี้ขึ้นมา ความสำนึกรักแผ่นดินเกิดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเลยค่ะ

คูปรี ล่ะคะ สูญพันธุ์แล้วใช่ไหมคะ

ขอบคุณบันทึกดี ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท