ฝึกตัดสินใจ ไม่ง่ายอย่างที่คิด


การตัดสินใจมีมากมายในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยในตอนนี้หนึ่งการตัดสินใจของคุณคือ คุณจะอ่านบทความนี้หรือไม่? ทบทวนดูดีๆแล้ว มันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยคะ ที่คุณเลือกที่จะอ่านมัน :)

        ในชีวิตประจำวันของคนเรา มีการตัดสินใจเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับ หรือบางครั้งหลับแล้วฝันก็ยังมีการตัดสินใจอยู่ ในเมื่อการตัดสินใจมันแทรกอยู่ทุกวินาทีของการดำเนินชีวิตแบบนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ? เพื่อที่จะให้การตัดสินใจผิดพลาดน้อยที่สุด
        หลายๆคนอาจเคยตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว ผู้เขียนเองก็พึ่งผ่านมันมาสดๆร้อนๆ ก็คือการสอบเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ณ ตอนนี้ผู้เขียนได้เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว รู้ได้อย่างไรว่าผู้เขียนตัดสินใจถูก แล้วผู้เขียนมีประสบการณ์การตัดสินใจอย่างไร? ลองมาแชร์ประสบการณ์กับผู้เขียนกันค่ะ
        ตอนสมัครสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ผู้เขียนสมัครทุกโครงการ ทุกรอบ ทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดรับสมัคร สงสารพ่อแม่มาก ต้องมาคอยตามจ่าย ซึ่งใบสมัครแต่ละใบค่าสมัครก็ไม่ใช่น้อยๆเลย จนผู้เขียนก็เริ่มเสียดาย ถ้าเราตัดสินใจได้ตั้งแต่เนิ่นๆ คงเอาตังค์ค่าสมัครไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้เยอะทีเดียว กระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง...แม่ก็เดินมาบอกว่าจะสอนการตัดสินใจ(สงสัยกลัวว่าครอบครัวจะได้กินแกลบเพราะการสมัครเรียนของลูก) ตอนแรกผู้เขียนก็งง "เรื่องอย่างนี้มันสอนกันได้ด้วยหรอ?" แต่ฟังแม่ไป มันก็น่าสนใจดีนะ ฟังแม่บ่นไม่พอ ไปค้นมาด้วย ว่าฝึกตัดสินใจอย่างไรถึงจะตัดสินใจเก่ง (คนอื่นเขาเก่งด้านวิชาการ กีฬา ดนตรี ผู้เขียนไม่มีสักอย่าง เลยอยากลองหาๆไว้ เผื่อข่มคนอื่นได้บ้าง)

How to train dicision?
การตัดสินใจของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความคิด นิสัย เหตุผล และอดีตของคนคนนั้น การตัดสินใจอาจฝึกจาก
          - การเล่นเกมส์ เล่นกีฬา การแข่งขันต่างๆ (แต่อย่าจริงจังมากนักนะ จากฝึกตัดสินใจเดี๋ยวได้ตัดสินชีวิต)
          - การทำข้อสอบ (เป็นการฝึกการเดาไปในตัวด้วย เวลาทำข้อสอบจริงจะได้มีเหตุผลในการเดา)
          - ฝึกตัดสินใจง่ายๆ จากชีวิตประจำวัน เช่น ตั้งนาฬิกาปลุกเวลาไหนดี จะล้างหน้าหรือแปรงฟันก่อน จะออกนอกบ้านกี่โมง ฯลฯ   
ที่สำคัญเราฝึกตัดสินใจอยู่ ดังนั้นต้องมีกระบวนการเหล่านี้ด้วย
          1 กำหนดเรื่องที่จะตัดสินใจ (Decision Statement) เช่น ผู้เขียนจะตัดสินใจเลือกสอบเข้าที่ไหนดี
          2 กำหนดเกณฑ์ที่ต้องการ (Criteria) เช่น จะต้องเป็นสายวิทยาศาสตร์ เพราะผู้เรียนเรียนสายวิทย์-คณิตมา ให้ไปเรียนสายศิลป์ภาษาคงไปไม่รอด
          3 ตัวเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดมีกี่ตัว (Alternatives) เช่น ตัวเลือกของผู้เขียนก็มี คณะสายวิทยาศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ สายเทคโนโลยี อะไรประมาณนี้
          4 วิเคราะห์ส่วนดีและส่วนเสียของตัวเลือกแต่ละตัว (Benefit and Risk Analysis) ผู้เขียนมานั่งเขียนข้อดีข้อเสียของแต่ละคณะ คณะละแผ่น แล้วเอามาติดเรียงฝาผนังบ้านเปรียบเทียบกัน
          5 เปรียบเทียบส่วนดีและส่วนเสียของตัวเลือกทุกตัวและตัดสินใจ (Decision) ขั้นตอนนี้สำคัญมาก บางครั้งเราตัดสินใจเองไม่ได้ ต้องมีปัจจัยอื่นช่วย ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน พ่อแม่ ครู เป็นต้น 
          ที่สำคัญสุดๆ คือ เราต้องไม่ตัดสินใจตามความเคยชิน ตามกระแสนิยม หรือตัดสินใจทั้งๆที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง

What is feedback?
          พอเราเริ่มตัดสินใจเป็น เราจะมีเหตุผล เป็นคนสุขุม และที่สำคัญเราจะโตขึ้น(แม่บอกมา) ส่วนผู้เขียน จากที่ฟังแม่บ่นครั้งนั้น แล้วสละเวลามาฝึกตัดสินใจสักนิด ทำให้ผู้เขียนเลือกได้ว่าควรจะ เรียนอะไร ที่ไหน อย่างไร พ่อแม่ยิ้มได้ที่ลูกรู้จักโต(หรือไม่ก็ยิ้มออกที่ไม่ต้องกินแกลบ)
          ถึงตอนนี้ ย้อนกลับไปคำถามเนิ่นๆ ที่ว่าผู้เขียนรู้ได้อย่างไรว่าตัดสินใจถูก ผู้เขียนรู้ เพราะผู้เขียนมั่นใจในตัวเองและสิ่งที่ตนเองเลือก ความมั่นใจนี้จะทำให้เรามีความสุข มีความพอใจกับสิ่งที่เราตัดสินใจ และความรู้สึกของเรานั่นเองที่จะเป็นตัวตัดสินว่าเราเลือกถูกทางหรือไม่ คุณผู้อ่านล่ะคะ ตัดสินใจถูกหรือยัง?

ตัวอย่างเกมส์ฝึกตัดสินใจ
เกมส์1
เกมส์2

Sources and Citations
http://www.wikihow.com/Make-a-Decision-Using-a-Quantitative-Scoring-System
http://www.uncommon-knowledge.co.uk/articles/making-decisions.html
http://www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/upload/socities.html 

 

คำสำคัญ (Tags): #dicision#ตัดสินใจ
หมายเลขบันทึก: 494262เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 04:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
นางสาวฐิติมา จันดาบุตร

เป็นการตัดสินใจที่ดีเเละน่านำมาเป็นแบบอย่างอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงนี้ ใครต่อใครหลายคนต่างกำลังหาที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งแน่นอนว่า การตัดสินใจทุกๆครั้ง จะมีผลต่อชีวิตเราตลอดไป

นาฃสาวณัฐนันท์ สุวรรณ์

เราควรที่จะมั่นใจในการตัดสินใจของเราถึงแม้จะไม่รู้ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม

คิด วันนี้เพื่อชีวิตวันข้างหน้า เลือกคณะเรียนในวันนี้เพื่อสายอาชีพที่ไฝ่ฝัน สิ่งไหนที่ชอบที่ปรับตัวง่าย สะบายใจที่เรียน และเหมาะกับความสามารถของตัวเรา มุ่งมั่นตั้งใจใฝ่ดี ปล.คิดบวกเข้าไว้จะได้ไม่ท้อ

นายชนินทร์ ยศสกุลเลิศ

ผมก็เป็นอีกคนที่ชอบหาความสุขจากการตัดสินใจ

ยุทธพิชัย ลำเนานาน

การตัดสินใจมันยากนะ ถ้าตัดสินใจผิดพลาดแล้วก็จะพลาดไปตลอด

ฉันตัดสินใจ...

ปุณยนุช สรรพสิทธิ์

จริงๆแล้วการตัดสินใจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่คนส่วนใหญ่มักจะลังเลกับการตัดสินใจที่ทำง่ายแสนง่าย แต่การคิดทบทวนดีๆก่อนตัดสินใจก็เป็นเรื่องดีเหมือนกัน เราจะได้คำนึงใครครวญถึงผลลัพธ์ที่ตามมา เพราะมันอาจจะเจ็บปวด แต่ไม่ว่ายังไงๆเราก็ต้องตัดสินใจอยู่ดี แต่ตัดสินใจบ่อยก็ไม่ดีนัก นอกจากจะเจ็บแล้วยังโล่ง

การตัดสินใจไม่ใช่เรื่องยาก แต่ในการตัดสินใจบางครั้งอาจจะมีผลต่อชีวิตที่จะตามมาอย่างมาก อาจเปลี่ยนชีวิตไปในทางที่ดีขึ้นหรืออาจจะแย่ลง ดังนั้นก่อนการตัดสินใจจึงต้องคิดอย่างรอบด้าน ทั้งผลดี ผลเสียที่จะตามมา เมื่อตัดสินใจแล้วก็จงเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตนและยอมรับผลที่จะตามมา

"...ความรู้สึกของเรานั่นเองที่จะเป็นตัวตัดสินว่าเราเลือกถูกทางหรือไม่ คุณผู้อ่านล่ะคะ ตัดสินใจถูกหรือยัง?..." จนถึงทุกวันนี้ยังไม่แน่ใจเลยว่าพี่ตัดสินใจถูกรึเปล่า (==)''

เป็นข้อแนะนำในการช่วยตัดสินใจที่ดีมากๆเลย

เหมาะกับสถานการณ์มากครับๆ ชอบ มาก ชอบคุณหลายๆครับ

ถูกผิดอยู่ที่เรา ใช่ที่สังคม..จริงๆ

ขอบคุณบันทึกดีๆจะเอาเกมสืไปให้ลูกสาวฝึก

เป็นบ่อยมาก ตัดสินใจไม่ได้อะ

เรื่องตัดสินใจมีปัญหาเหมือนกัน =_=;; ขอเอาไปใช้ด่วนละกันนะคับ

ดีมากๆเลยค่ะ ไว้ใช้ในชีวิตประจำวันได้:)

เออ ดีเหมือนกัน เรื่องนู้นเรื่องนี้เราตัดสินใจได้นะ แบบเรื่องเรียนไรงี้ ตอนช่วงเรียนต่อนี่ผ่านช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดเลยล่ะ มีอยู่เรื่องเดียวที่ไม่กล้า... ความรัก เอิ้กๆ ^^

ชอบจังเลย :) เป็นบทความที่น่าสนใจที่สุดเรื่องนึงเลยนะครับ เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าสามารถฝึกการตัดสินใจได้ด้วย เคยเจอสถานการณ์ที่ตัดสินใจไม่ได้อยู่หลายๆครั้ง ขอบคุณมากนะครับ จะเอาลองเอาไปใช้ดูครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท