หน้าที่ของพอยต์การ์ด


การเล่นตำแหน่งพอยต์การ์ด

สิ่งที่เรียน (what) - การเล่นตำแหน่งพอยต์การ์ด

วิธีเรียน (how)  - ฉันเริ่มเรียนจากการเข้าร่วมชมรบาสเกตบอลของคณะแพทย์ และได้เรียนรู้วิธีการเล่นมากมายจากรุ่นพี่ปี2จนถึงพี่อินเทิร์น ซึ่งจากเดิมที่เรียกว่าพอเล่นได้ ทำให้ฉันสามารถเล่นเป็นทีมร่วมกับเพื่อนคนอื่นได้ ตำแหน่งที่ฉันเล่นคือตำแหน่งพอยต์การ์ดซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

พอยต์การ์ด(point guard) หรือการ์ดจ่าย ส่วนมากมักเป็นผู้ที่มีลักษณะตัวเล็กเป็นผู้เล่นที่มีหน้าที่คุมเกมบุก ในเกมบุกการ์ดจ่ายจะยืนอยู่บริเวณจุดชู้ตลูกสามแต้มตรงกลาง ต้องเป็นคนที่มีสายตาและสมองที่ไวสามารถมองเห็นผู้เล่นคนอื่นในทีมได้ คิดได้รวดเร็วว่าควรจ่ายให้ผู้เล่นตำแหน่งใดที่จะทำให้สามารถทำคะแนนได้ อีกทั้งยังต้องสามารถทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหลุดโซนป้องกันและทำให้ผู้เล่นในทีมหรือตนเองสามารเข้าไปทำแต้มได้ เนื่องจากหากชู้ตบริเวณจุดสามแต้มมีความเสี่ยงในการทีู่ลูกจะไม่ลงสูง การ์ดจ่ายควรมีทักษะในการเลี้ยงลูก ส่งลูก และรวดเร็วสูงพอสมควรเพราะจำเป็นสำหรับการจ่ายลูกให้ผู้เล่นในตำแหน่งปีกเพื่อรอดูจังหวะในการทำแต้มและยังจำเป็นสำหรับการเลี้ยงบุกเข้าไปทำแต้มหากโซนป้องกันของฝ่ายตรงข้ามแตกออกซึ่งมีโอกาสได้คะแนนง่ายกว่าการชู้ตระยะไกล แต่การ์ดจ่ายก็ควรมีทักษะในการชู้ตสามแต้มที่ดีด้วย จะเห็นว่าการ์ดจ่ายเปรียบเสมือนผู้นำหรือแม่ทัพในสนามที่เป็นผู้คุมจังหวะความเร็วของเกม และผู้กำหนดแผนการเล่นของเกมนั่นเอง

ตัวอย่างพอยต์การ์ดที่มีชื่อเสียงในระดับแนวหน้าของปัจจุบัน เช่น สตีฟ แนช, อัลเลน ไอเวอร์สัน, โทนี พาร์กเกอร์, เจสัน คิดด์ , ชอนซี บิลลัพส์, ซู เบิร์ด และ กิลเบิร์ต อะรีนัส เป็นต้น พอยต์การ์ดที่ยิ่งใหญ่ในอดีตเช่น บ็อบ คอสี  , เลนนี วิลเคนส์, แมจิก จอห์นสัน (ส่วนสูง 2.06 เมตร ซึ่งสูงกว่าพอยต์การ์ดทั่วไปมาก) , ไอเซยา ทอมัส  และ จอห์น สต็อกตัน  การ์ดอีกคนที่มีชื่อเสียงมากคือ ออสการ์ รอเบิร์ตสัน (ซึ่งรวมทักษะของพอยต์การ์ดและสมอลฟอร์เวิร์ดเข้าด้วยกัน เปรียบได้กับผู้เล่นพอยท์ฟอร์เวิร์ดในปัจจุบัน)


ผลการเรียน (outcome)   - สามารถเล่นตำแน่งพอยต์การ์ดได้ในการแข่งขันกีฬาเฟรชชี่กับคณะทันตแพทยศาสตร์ และ วิทยาลัยนานาชาติในวันที่ 1 และ 3 กรกฎาคม 2555 สามารถเล่นเป็นทีมร่วมกับผู้เล่นคนอื่นได้ สามารถเลี้ยงลูก ส่งลูกได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเข้าใจเกมและทราบกติกาการเล่นมากขึ้น

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (reflection) - เราต้องกล้าเล่นเป็นทีม เชื่อในฝีมือการเล่นของตนเองและเพื่อนในทีมมากขึ้นเพื่อที่จะมีความสามัคคี และสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะได้ และเราควรจะฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อคงทักษะการเล่นหรือพัฒนาฝีมือการเล่นให้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย

เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (references)http://th.wikipedia.org/wiki/พอยต์การ์ด

 

บันทึกวันที่  6 กรกฎาคม พ.ศ.2555

คำสำคัญ (Tags): #basketball
หมายเลขบันทึก: 493680เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เล่น pg เหมือนกันเรย สอนเราบ้างนะ ^^

ขอบคุณสำหรับความรู้คาบ :))

ตั้งแต่เล่นบาสมาชู้ตลงอยู่ไม่กี่ลูก 555+

สนใจเล่นบาสเหมือนกัน อยากลองฝึกบ้าง ^^

โอ้วว ได้ความรู้เพิ่มม ^^ น่าสนใจมากกก ><

เล่นบาสเป็นอ่ะ เก่งมากเลยคับ :)

ไปๆๆๆ ฝึกๆๆๆ ย้ากกกกกสสสสสสสสสส์

แหมมม อยากเล่นบาสซะเเล้วว ><

ว้ายยย ! ดีมากๆเลยน่ะเออ

อยากเล่นบาสเป็น อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท