ประวัติจังหวัดตรัง


ประวัติจังหวัดตรัง

ประวัติจังหวัดตรัง

          จังหวัดตรังถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่  8  ซึ่งจากหลักฐานในกฎหมายของปโตเลมี  ซึ่งชาวจีนเรียกว่า ปีอลดา หลักฐานนี้ได้กล่าวถึง  เมืองปีอลดา  ว่าเป็นเมืองท่าฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแหลมสุวรรณภูมิทางตะวันตก  สภาพเป็นชุมชนเล็กๆ  และเป็นทางข้ามของแหลมมาลายู  ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ อำเภอปะเหลียนในปัจจุบัน

          สมัยพุทธศตวรรษที่ 11 16  ได้พบหลักฐานที่ตำบลเขากอบ  อำเภอห้วยยอด  ว่าเป็นชุมชนที่สำคัญ  มีท่าประดู่(คลองหลวง)  ซึ่งจะเป็นทางที่ใช้ในการคมนาคม  ซึ่งในตำบลเขากอบนั้นมีการทำนามาก  จึงถือว่าเป็นทำเลดีในการตั้งเมือง  อีกทั้งยังมีคลองมวนและคลองยางยวนไหลผ่านแล้วไหลรวมกันเป็น

คลองกอบ  ในปัจจุบัน  อีกทั้งพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 

สมัยตามพรลิงค์  และสมัยศรีวิชัย  ที่ตำบลเขากอบ  นาวง  บางดี  และยังพบพระพิมพ์ดินดิบศรีวิชัย  จารึกคาถาเยอฺมมา  ซึ่งจารึกเป็นภาษาสันสกฤตสร้างตามแบบพระพุทธศาสนานิกายมหายาน-วชิรยาน  ที่วัดคีรีวิหาร  วัดหูแกง  ถ้ำเขาสาย

          สมัยพุทธศตวรรษที่  17-19  มีการกล่าวว่ามีการตั้งเมืองที่ตำบลห้วยยอด  และตำบลลำภูรา  เพราะมีสายน้ำที่สำคัญ  2  สายคือ  คลองห้วยยอดและคลองลำภูรา  ซึ่งจะมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำตรัง  และตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชในปีพ.ศ. 1773  เมืองนครศรีธรรมราชได้แยกหัวเมืองต่างๆออกมาเป็นเมือง  12  นักษัตร  และจัดให้เมืองตรังเป็นหัวเมืองมะเมีย  ทำหน้าที่เป็นหัวเมืองท่าประจำฝั่งทะเลตะวันตกของเมืองนครศรีธรรมราช  ซึ่งจะใช้ในการติดต่อค้าขายกับอินเดียและศรีลังกา

          สมัยพุทธศตวรรษที่  20 24 เป็นสมัยอยุธยา  ย้ายศูยน์กลางการติดต่อมาอยู่ใกล้แม่น้ำตรัง  เกิด

ศูยน์กลางทางการค้าและการติดต่อทางด้านเรือ  ณ. บ้านนาแขก  บ้านอู่ตะเภา  มีกองเรือรบชายฝั่งทะเลตะวันออก  จากจดหมายเหตุปอร์ตุเกสได้ระบุว่า  ในปี พ.ศ.  2054  อินเดียได้ยกทัพมาตีเมืองมะละกาและได้เดินทางผ่านเมืองตรัง

          สมัยกรุงธนบุรี  ได้แยกหัวเมืองปักษ์ใต้ออกจากนครศรีธรรมราช

          สมัยรัตนโกสินทร์ 

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงผนวกเมืองตรัง  และเมืองภูราเข้าด้วยกัน  และกลายเป็นเมืองตรังภูรา  และได้แต่งตั้งให้พระยาภัคดีบริรักษ์เป็นผู้รักษาเมืองตรังภูรา 

          สมัย พ.ศ. 2347  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงยกเปลี่ยนระบอบการปกครอง  และทรงให้เมืองตรังขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครฯ

          สมัย พ.ศ. 2354  พระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าให้จัดทำเนียบข้าราชการเมืองนคร  ตรังมีความสำคัญจนมีหัวเมืองขึ้น  มีค่ายด่าน  ซึ่งถือเป็นหัวเมืองชั้น  1

          สมัย พ.ศ.  2433  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเสด็จพระพาสหัวเมืองปักษ์ใต้  ทรงเห็นว่าผู้ปกครองเมืองตรังอ่อนแอ  และไม่มีความเป็นธรรม  จึงย้ายพระยาตรังคภูมาภิบาล  (เอี่ยม  ณ นคร)  ย้ายไปรับราชการเมืองนครศรีธรรมราช  และให้พระยาอัษฎงคตทิศรักษา  (คอซิมบี้ ณ ระนอง)  เจ้าเมือง

กระบุรี มาเป็นเจ้าเมืองตรัง

         

          สมัย พ.ศ.  2434 ทางการได้ยุบเหมืองปะเหลียนรวมกับเมืองตรัง  ได้มีการใช้ประกาศข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่การปกครองเป็นอำเภอ  จังหวัดตรังมี 5  อำเภอ  ได้แก่  อำเภอเมือง  อำเภอบางรัก  อำเภอเขาขาว(ห้วยยอด)  อำเภอสิเกา  และ  อำเภอปะเหลียน

          สมัย พ.ศ. 2436  พระยาอัษงฎงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง)  ได้ย้ายเมืองจากควนธานีมายังกันตังซึ่งอยู่ติดทะเล  เพื่อสะดวกในการติดต่อค้าขายกับประเทศแถบยุโรป  พม่า มาลายู  สิงข์โปร์  ปีนัง

          สมัย พ.ศ.  2454  พระยาอัษงฎงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง)  ได้สั่งให้ก่อสร้างทางรถไฟสายใต้  ที่กำหนดให้มีทางแยกจากทุ่งสงมู่งสู่ท่าเรือกันตัง

 

          สมัย พ.ศ. 2458  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าเมืองกันตังไม่เหมาะแก่การตั้งเมือง  เพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงได้ง่าย  ขยายตัวเมืองได้ยาก  ไม่เป็นศูยน์กลางของจังหวัด  จึงย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลทับเที่ยง  อำเภอบางรัก  และได้ทรงพระราชทานตำหนักผ่อนกายเป็นศาลากลางประจำจังหวัด

          สมัย  พ.ศ.  2459  เปลี่ยนชื่ออำเภอบางรักเป็นอำเภอเมือง  และมีนายอำเภอคนแรกคือ  ขุนอำนาจสิงขร  (ตาด  ณ นคร)

          สมัย  พ.ศ.  2460  ร.6  มีการจัดระเบียบราชการแผ่นดิน  จึงยกระดับเมืองตรัง  ให้เป็นจังหวัดตรัง  มีพระยารัษฎา(สิน  เทพหัสดินฯ)  เป็นผู้ว่าราชการคนแรก

          สมัย  พ.ศ.  2474  จังหวัดตรังเริ่มการปกครองสุขาภิบาล

          สมัย  พ.ศ.  2476  สุขาภิบาลเมืองตรังได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตรัง





บรรณานุกรม

เทศบาลนครตรัง.  แลหลัง...เมืองตรัง ใต้ร่มพระบารมี.  กรุงเทพฯ: เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง,

          2549

 

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์.  ประวัติศาสตร์อารายธรรมภาคใต้แหล่งประวัติศาสตร์และ

            โบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.  กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2544

 

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย.  สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ

สารานุกรมวัฒธนรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2544

 

วริศรา แก้วสิทธิ์.  ย้อนรอยประวัติศาสตร์ สกย. บนเส้นทางยางพาราไทย.  กรุงเทพฯ:

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง, 2549

 

สนิท พลเดช.  ตรัง 11 ศตวรรษ.  ตรัง : [ม.ป.ท., ม.ป.ป.]

 

http://www.trangzone.com/95_detail.php.  12 สิงหาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 49354เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โอ้ว~ *-*ดีค่ะเราเปนคนไม่ค่อยรุ้ประวัติจ.ตรังเลย ทำให้เราได้ความรู้มากขึ้นแย้ว

เพนกวินนนนอยู่ตรัง.....เจ๋ง มีบรรณานุกรมด้วย

     ในฐานะที่เป็นคนตรังด้วยกัน ก็ดีใจมากคับที่เห็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของจังหวัดตรังได้ถูกนำมาบอกกล่าวให้คนอื่นได้รู้

     และถ้าใครสนใจอยากจะรู้ประวัติความเป็นมาของยางพาราที่เข้ามาในประเทศไทยก็เข้ามาดูได้ที่

     สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณมากสำหรับข้อมูลดีๆ และอยากให้มีเรื่องราวความเป็นมาของจังหวัดตรังมาให้อ่านกันอีก จาก...คนรักบ้านเกิด.

ไม่ได้เป็นคนจังหวัดตรังค่ะ แต่เข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมค่ะ

แล้วจะกลับไปหาประวัติบ้านเกิดของตัวเองบ้าง

ความรู้เพิ่มเติม

อยู่ตรังค่ะ....แต่มะค่อยรู้ประวัติสักเท่ารัย...พอด้ายเข้ามาอ่าน...คิดว่าจ.ตรังของเรา...ประวัติความเปนมาดีมากเรยค่ะ...กว่าจาด้ายเปนนครเมืองตรัง...ต้องใช้เวลานานทีเดียว....เล่าหั้ยฟังคงมะอยากรู้เท่ามาลองเปิดอ่านเองนะค่ะ...รับรองจาติดจัยจ.ตรังของเราแน่ค่ะ....สุดยอดดดดดดดดดดดดดด

hello K'Si ...

I'm trang people too ka :D

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท