R2R ที่ศิริราช


แต่ละหน่วยงานต้องจัดระบบที่เหมาะสมของตนเอง อย่าคัดลอกวิธีการของศิริราช

R2R ที่ศิริราช

        เมื่อวันที่ ๒๒ สค. ๔๙ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้ไปเยี่ยมชื่นชมศิริราช     ทางศิริราชได้นำเสนอเรื่องที่ภาคภูมิใจ     เรื่องหนึ่งคือ R2R      คุณมยุรี แย้มศรี หัวหน้างานประชุมและพิธีการ ได้บันทึกรายงานการประชุมไว้ดังนี้

โครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) R2R

           อาจารย์ นพ.อัครินทร์ นิมมานนิตย์   ผู้จัดการโครงการ R2R  เป็นผู้นำเสนอ  ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย  หรือโครงการ R2R  ซึ่งเป็นโครงการที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จัดตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันบุคลากรระดับผู้ปฏิบัติการ หรือกลุ่มของการบริการตามฐานของการทำงานพัฒนาคุณภาพ ที่เรียกว่า Care Team มุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization โดยที่จะเอางานวิจัยเป็นตัวดึง ขณะเดียวกันมีระบบ Quality Assurance ผลักดัน Care Team ที่ปฏิบัติงาน และช่วยให้โรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลผ่านการประเมิน (Accredit) ต่างๆได้


          โครงการ R2R มีระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี โดยเริ่มเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ และจะสิ้นสุดโครงการประมาณพฤษภาคม ๒๕๕๐ 

          หลักคิดของการทำงาน R2R จะมองเป็น ๓ ส่วนคือ ตัว R2R,  Care Team หรือลูกค้า และใช้ KM เข้ามาผลักดันงานเพื่อเป้าหมายคือต่อไปทั้ง ๓ ส่วนจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวคือ Care Team       จะสามารถใช้ KM ในการจัดการความรู้และสร้างงานวิจัยจากงานประจำของตัวเองขึ้นมาด้วยอย่างต่อเนื่อง


        ในการนำเสนอ Activities, Achievement  และ Obstacles & plan  ใช้แผนผังรูปบ้าน (balance  scored  card)  ของ Strategic Map เหมือนเป็นเข็มทิศที่จะดำเนินการ  กล่าวโดยสรุป คือ กำหนดเป้าหมาย เพื่อให้มี  Deliver Better  Patient Care, Provide the  Best Practice and Innovation  ขณะเดียวกันก็ให้มีผลงานวิจัยออกมาได้ด้วย (Produce Impact Publications)     ซึ่งก็คือเราจะสร้าง Value Added ให้กับตัวคนทำงานที่เขาจะสามารถผลิตผลงานวิจัย หรือพัฒนาการบริการของเขาได้    ซึ่งขณะเดียวกัน ต้อง R2R ก็ยังคำนึงถึงคนที่ทำงานวิจัยจากงานประจำต้องมี Satisfaction  ต่อการดำเนินงานของ R2R ด้วย


       โครงการ R2R จะทำงานแบบ proactive โดยดำเนินการ Coaching  และ  Mentoring  โดยเข้าไปคุยกับกลุ่มงานที่เป็น Care Team (Care Team ที่เกิดขึ้นจากงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้เป็น Care Team ในกลุ่มที่ดูแลโรคต่างๆ)  ซึ่ง R2R ในระยะแรกจะมุ่งลูกค้ากลุ่มนี้เป็นหลัก  ต่อมา ได้ขยายไปยังลูกค้ากลุ่มอื่นด้วย (คนทุกคนที่ทำงานประจำ)  โดยจะเข้าไปช่วยเขาดูว่ามีปัญหาอะไรบ้าง 

        การที่เป็นคนนอกเข้าไปมอง   จะสามารถมองเห็นสิ่งที่ไม่เหมือนกับที่เขามอง เพราะชินกับ Routine .. Routine problem  ก็จะกลายเป็น Routine ไปเลย    โครงการฯ จะสามารถนำเสนอแง่มุมต่างๆ ให้เขาช่วยดูได้  จากปัญหาที่เขามีอยู่ เป็นการทำงานในระดับรากหญ้า และฝึกฝนให้เขาในเรื่องระเบียบวิธีวิจัย  เรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ทั้งช่วยเหลือสู่ publication ให้เท่าที่จะทำได้  นอกจากนี้ จะเป็น Match maker หรือพ่อสื่อ   หาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆให้ด้วย  ซึ่งโครงการฯ จะเป็นส่วนตรงกลาง สามารถจะมองเห็นความเชื่อมโยงของหน่วยต่างๆ


         นอกจากการจัด Training : general population - Research Questions และการจัด Training :  R2R meet the expert แล้ว    ยังได้มีการจัดอีกอย่างที่เป็นแบบ formal training R2R  โดยจัดเป็น ๕ Session  ดังนี้
• Session 1:  Research questions (topics) from routine work
• Session 2:  Electronic literature search, critical appraisal and  introduction writing
• Session 3:  Study designs & control chart
• Session 4:  Measurement tool, psychometric properties, basic  statistical analysis   & sample size calculation
• Session 5:  Economic analysis and granting guideline
• + 2 Sessions for proposal writing

         การจัด Session ดังกล่าว  เพื่อต้องการให้เขาได้กลับไปทำจริงๆ  สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง นำเอางานของเขามาคุยกัน แล้วกลับไปทำการบ้าน    อีกสัปดาห์ก็จะกลับมา discuss กัน  และสรุปกันในแต่ละประเด็น  ปัจจุบัน ทำไปแล้ว ๓ ครั้ง มีทั้งหมด ๔๖ Care Teams ที่เข้ามาร่วมในโครงการ     แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุก Care team จะสามารถ ทำได้สำเร็จ   ซึ่งจะมีการติดปัญหาในหลายๆ เรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องคน และเวลา   เนื่องจากการทำงานกับระดับผู้ปฏิบัติการ การเขียน develope proposal ค่อนข้างทำได้ลำบากมาก  จึงคิดที่จะหาคนช่วยร่าง first draft ให้บุคลากรใน Care Team เรียนรู้สัก ๑ ครั้งน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง แต่เป้าหมายหลักยังอยู่ที่การให้ Care Team ได้เรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

        นอกจากนี้ยังดำเนินการ promote KM มีการเล่าเรื่อง success story แล้วให้มี  peer assist โดยให้กลุ่มที่มี success มาเล่าให้กลุ่มที่ทำแล้วยังเกิดการติดขัดปัญหา  ซึ่งในอนาคตจะได้นำกลุ่มนี้ มาร่วมในการ training ด้วย   แต่ในเรื่องระเบียบวิธีวิจัยจะมี technical terms หรือด้านเทคนิคค่อนข้างมากแต่ก็กำลังลองพิจารณาทดลองดู  ทั้งนี้ R2R มี link ที่ดีกับสถานส่งเสริมการวิจัย หากมีประเด็นไหนที่ติดเรื่องสถิติ  หัวหน้าสถานส่งเสริมการวิจัย (ศ.นพ. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล) ก็จะอำนวยความสะดวกและมี fast track ในการรับการบริการปรึกษาให้โครงการ R2R ด้วย

         ในกิจกรรมของ KM ที่ได้ทำ ใช้จาก diagram ของอาจารย์วิจารณ์ซึ่งมีการสร้างความรู้  สำหรับ Teams ในระหว่างทำงานจะมีองค์ความรู้  มีแหล่งความรู้  จะทำอย่างไร เมื่อต้องการใช้ความรู้ สามารถที่จะหยิบมาใช้ได้  และเมื่อเกิดแหล่งความรู้ จะเอามาเก็บอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย R2R2R  Routine to Research และกลับมาที่ Routine อีกที


         อีกประเด็นหนึ่ง คือในการดูแลคนไข้ จะเห็นว่า คนไข้ ๑ คน  ไม่ได้รับการดูแลด้วยหมอ หรือพยาบาลอย่างเดียว แต่จะมีหลายๆ ส่วนที่ประกอบขึ้นมา  จะมี หมอ, พยาบาล, PM&R,  Lab, Nutritionist, และ Pharmacist   เข้ามาดูด้วย  จะเห็นว่า หลายๆ หน่วยงาน ทำงานเรื่องใกล้ๆ กัน  จึงพยายามที่จะกระตุ้นให้คนจากหลายๆ หน่วย ได้เข้ามาพบกัน จัดตั้งเป็น network หรือเรียกว่า community of practice (COP) และ Learn and Share activities      R2R มีการจัดให้ CFs เจอกับ Expert และเจอกับ Care Team  ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนกันทั้งในประเด็นการวิจัยและยังรวมทั้ง trick ในการบริหารจัดการเวลาและคน   ในวง  CFs  จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ วง CFs ทั้งข้างในและข้างนอกโรงพยาบาล  ทั้งนี้  สามารถดูรายละเอียดโครงการ R2R จาก website www.si.mahidol.ac.th/r2r  ซึ่งหากมีการเชิญคนนอกเข้าบรรยาย จะมี slide and  sound  บันทึกไว้นับว่าได้รับความสำเร็จได้รับความสนใจติดต่อเข้ามามาก


         ขณะนี้มีจำนวน Care Team ทั้งหมด ๘๓ Care Team  ที่ลงไปร่วมทำงานอยู่ มี project ที่ได้ทุนไปแล้ว ๑๘ ทุน ทำเสร็จแล้ว ๓ ทุน และกำลังขอทุน R2R มีทั้งหมด ๑๗ โครงการ  ทั้งนี้ หลายโครงการได้รับการตอบรับให้ไป present งานหลายๆ ที่ ทั้งประชุมวิชาการศิริราช  รามาและ HA National Forum  และมีคนมาเยี่ยมดูงานโครงการ R2R ค่อนข้างมาก ๗ ครั้ง 


         นอกจากนี้  office มีการสื่อสารกันด้วย weblog เข้าร่วม share กัน  ทั้งระดับ CFs  และระดับเจ้าหน้าที่ในโครงการ 


        ปัญหาของ R2R ที่สำคัญคือ Human resource ที่เป็นปัญหาที่มาก  คือ จำนวน CFs  ที่ขาดแคลน และ CFs  ที่เข้ามาร่วม ที่ได้มา ๑๐%-๒๐% ของเวลาทำงานนั้น  จริงๆ เวลา Available time ที่เข้ามาร่วมนั้น อาจจะได้น้อยกว่านั้นมาก  เพราะอาจารย์จะติดงานประจำ ที่ต้องดูแลคนไข้อีกมาก 

         ซึ่งประเด็นนี้กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ ซึ่งได้มี Plan  โดยการเสาะหา CF เพิ่มเติม และทำอย่างไรที่จะ increase engagement โดยจะ Promote ให้นำ KM เข้ามาใช้ในทุกระดับ


          และสุดท้าย ได้ขอฝากกรรมการสภามหาวิทยาลัย เรื่อง Rewarding System แก่คนทำงานวิจัย สำหรับ non-MD (พนักงานมหาวิทยาลัย)  ซึ่งคงเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะ promote ให้คนทุกระดับทำงานวิจัย   

       ผมนำมาลงบันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานอื่นๆ ที่ส่งเสริม R2R     แต่ต้องตระหนักว่า แต่ละหน่วยงานต้องจัดระบบที่เหมาะสมของตนเอง     อย่าคัดลอกวิธีการของศิริราช

วิจารณ์ พานิช

๑๐ กย. ๔๙ 

 

         ศิริราชเป็นแหล่งกำเนิดคำ R2R และเป็นสถาบันที่จัด R2R อย่างเป็นระบบที่สุด

วิจารณ์ พานิช
๑๐ กย. ๔๙
 

หมายเลขบันทึก: 49352เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาเรียนรู้ R2R ที่ท่านแบ่งปัน ในโรงพยาบาลกำลังเรียน R2R และเรียนรู้อย่างมีความสุข กับ อาจารย์ Dr.ka-poom

✿อุ้มบุญ✿

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท