"ประเมิน หัวใจของตัวเองเบื้องต้น จากชีพจรของตัวเอง"(ชื่อเรื่อง จากคุณแผ่นดิน)


            วันนี้อยากเขียนเรื่องนี้มาก เลยเพราะเป็นภัยใกล้ตัวที่ชลัญพบ    case  ในผู้ป่วยที่เดินมาแบบดูเหมือนปกติ มาก  แต่อาจทำให้เสียชีวิตในบัดดลหากไม่ใส่ใจ จาก พยาบาล คนแรกที่พบ   คิดว่า  น่าจะ  ทำให้กัลยาณมิตรชลัญมีความเห็นว่า  แทบไม่มีใครจะนึกถึงเรื่องนี้กันสักเท่าไร  ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว  และแก้ไขมันไม่ได้  ชลัญก็เลยอยากเอาเรื่องง่ายๆมาฝากให้  ชาว GTK เฝ้าระวังกันสักหน่อย 

                ขอยกตัวอย่างคนไข้    นะค่ะ

                   เป็นคุณตำรวจรูปร่างท้วม  ออกแนวอ้วนเลยไป๊  วัยประมาณ 50 ต้นๆ  เดินถือแผนกระดาอะไรสักอย่างตรงเข้ามาที่โต๊ะของชลัญที่นั่งอยู่  พอดี ผู้ช่วยชลัญตาไวน่ะ  ก็เข้าไปถาม ได้ความว่า   วันนี้มีจนท.จากรพ...มาตรวจสุขภาพให้ที่สถานีตำรวจ  แล้วเขาก็ส่งให้  มารักษาต่อที่ รพ.  ผู้ช่วยชลัญก็ถามว่า  เป็นอะไร  ตำรวจบอก   ก็ไม่ได้เป็นอะไร  ชลัญก็ไม่ได้สนใจเพราะกำลังคุยกับผู้ป่วยหูตึงอยู่   แต่จากสถานการณ์ที่เกิดใกล้ๆ  กันนั้นก็พอทำให้ชลัญรู้ได้ว่า  ผู้ช่วยชลัญนั้นไม่พอใจที่ตำรวจตอบกวนประสาท  แต่ก็พยายามระงับอารมณ์  เต็มที่   บอกให้ไปวัดความดันโลหิตด้านหน้าที่มีผู้ช่วยอีกคนประจำโต๊ะอยู่ เมื่อวัดความดันโลหิต  แล้วก็เดินกลับมาที่โต๊ะชลัญ  ชลัญก็ถาม 

                “ไม่ทราบเป็นอะไรค่ะ”  ตำรวจก็ยังทำหน้าตากวนประสาท  ไม่พูดว่าอย่างไร  ยื่นบัตรพร้อมซองเอกสาร  ที่ถือมาให้ชลัญ ซึ่งชลัญยังไม่เปิดซองนั้น  ได้แต่ดูกระดาษวัด  ความดันโลหิตที่น้องผู้ช่วยฯเขียนมา

           ความดันโลหิต  132/86   mmHg   ชีพจร  83 ครั้ง/นาที 

                เอ้า....ก็ปกตินี่หว่า ชลัญคิดในใจ 

                ก็เลยตั้งคำถามใหม่  “ไม่ทราบว่ามีอะไรผิดปกติมั๊ยค่ะ”  คุณตำรวจเริ่มเปิดปากพูด  “ก็ไม่เป็นอะไร หมอมาตรวจสุขภาพที่โรงพัก  แล้วก็ให้มา รพ.นี่แหล่ะ  นั่นน่ะในซองเปิดดูเองซิ ต้องถามอะไรมากมาย”

                น้าน.............เอาแล้วมั๊ยล่ะ  ชลัญตคิดใจใน ....ว๊าว  ...  กำลังจะเกิดสงครามระหว่าง  พบ.กับ  ตร. แล้ว โว๊ย

                ระงับอารมณ์เต็มที่   เปิดซองขึ้นมาดู  เห็นแผ่นตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  เมื่อชลัญดูคลื่น แล้วก็ต้องต๊กใจ  หา! SVT  (Supraventricular  tachycardia  )  rate  185 ครั้ง/นาที  กึ๊ยยยย์........มาได้ไงว่ะ  คิดในใจ  ถามใหม่  ไม่รู้สึกอะไรจริงๆหรือค่ะ   ตำรวจบอก  “ไม่”

                ชลัญคิดในใจ เอ! อันไหนผิดแน่ว่ะ  ก็เลยลองจับชีพจรเอง  พบว่า  เบาเร็วมาก  ไม่ชัด  ใช้หูฟัง ฟังที่หัวใจ  ว๊าย! เร็วมากจนนับไม่ได้  เรียกน้องคนงาน

           “ เจนเอารถเข็นตามพี่มา ER”

จากนั้นชลัญก็เดินเฉิบๆ  ไปแผนกฉุกเฉินพบแพทย์อธิคม  ก็รายงานแพทย์  แพทย์บอกไหนคนไข้  หันไป  เจนเข็ญรถเปล่ามา  

“เอ้า เจนคนไข้ไปไหนล่ะ”

“คนไข้ไหนครับ ผมไม่เห็นมีใครเป็นอะไร  ได้ยินพี่โจ้บอกให้เอารถเข็ญตามมา ER ผมก็นึกว่าให้มารับคนไข้ ER “  เจนตอบตรงๆ 

“ชลัญกุมขมับ เฮ้ย  !  “เออ! เจ้ผิดสั่งไม่ครบเอง “ กลับไปเอาคุณตำรวจที่นั่งโต๊ะเจ้มาที่ ER บัด now”

“เอามาทำไม่ครับผมไม่เห็นแกเป็นอะไร ให้เดินมาไม่ได้เหรอ  “

“เจน”   ชลัญเริ่มเสียงดัง  สีหน้าเริ่มมีอารมณ์   นานๆจะดุคนสักที 

“ครับ ๆ ๆ ๆ “ 

             แพทย์ อธิคมนั่งหัวเราะคิกคัก “ นี่แหล่ะพี่โจ้การสื่อสาร”

            ชั่วครู่ เจนก็พาคุณตำรวจมา ที่ Er แพทย์ ก็สั่งการรักษาอย่างรวดเร็ว  ได้ยา ไป 2 ชนิด  3 dose  ปลอดภัยแล้วคนไข้ชลัญ

             นี่ถ้าไม่ทันมีหวัง  หัวใจวาย เสียชีวิตได้ง่ายๆ 

             นี่แหล่ะค่ะในความปกติที่ไม่ปกติ  ที่ชลัญอยากเอามาเล่าให้ทุกท่านทราบกัน  เนื่องจาก  ภาวะนี้อาจเกิดกับใครก็ได้  ถ้าเรารู้ตัวเบื้องต้นจะไม่เกิดอันตรายถึงชีวิตน่ะค่ะ 

 

        ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ  ที่เกิดกับคุณตำรวจรายนี้ เรียกว่า SVT  ( Supraventricular tachycardia )  ซึ่ง เป็น ภาวะ arrhythmia(หัวใจเต้นผิดปกติ) อย่างหนึ่งเป็นเหตุที่พบบ่อยของการตายอย่างกะทันหัน ชลัญคงไม่อธิบายไอ้ภาวะนี้มากมาย เพราะคนที่ไม่ใช่แพทย์ พยาบาล ก็คงจะงงๆ และไม่อยากอ่านต่อ  เอาเป็นว่า ไอ้ภาวะนี้นี่ อันตรายไม่เบา  ที่ชลัญเจอนี่ มีหลายคนที่มีอาการปกติดี แต่มาตรวจเจอที่ รพ. แล้ว แพทย์ พยาบาลวิ่งกันให้ควัก  จนคนไข้ งงว่าฉันเป็นอะไรมากมายขนาดนี้เหรอ  แค่รู้สึกเหนื่อยเล็กน้อยเอง 

          ถ้าผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดปกติ  จะมีอาการเด่นที่สำคัญคือ  ร่างกายได้รับเลือดไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  ถ้าเป็นน้อยก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง  ถ้าเป็นมากขึ้นก็จะมีอาการเหนื่อยแม้ในขณะพัก  ถ้าเต้นช้าขั้นรุนแรงจะมีอาการหน้ามืด  หมดสติหรือเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้น

 

        ในรายที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ  จะมีอาการใจสั่น  หัวใจเต้นเร็วและแรง เหนื่อย ในผู้ป่วยสูงอายุหรือ มีโรคหัวใจอ่อนกำลังอยู่เดิม  อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ  หัวใจล้มเหลว  หมดสติหรือเสียชีวิตได้

 

        ชลัญจึงอยากแนะนำให้ทุกท่านประเมิน หัวใจของตัวเองเบื้องต้น จาก  ชีพจรของเรา  ซึ่งจะบ่งถึงภาวะของหัวใจได้ระดับหนึ่ง

หัวใจเต้นผิดปกติคืออะไร ?

      ในขณะนั่งพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที  ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเป็นประมาณ 80-100  ครั้งต่อนาทีและมากกว่า  100 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง กว่าจะรู้ว่ามันเป็นอาการของโรคหัวใจมันก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้นเราควรหมั่นประเมิน  อัตราการเต้นของหัวใจเรา  ไว้ ด้วยความไม่ประมาท  โดยการจับชีพจรตัวเอง  ในขณะพัก  หาก ต่ำกว่า 60 ครั้งร่วมกับอาการเหนื่อยเพลีย  หรือมากว่า 100 ครั้งร่วมกับอาการ เหนื่อยใจสั่น  ก็บอกได้ว่าควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเถอะค่ะ  การจับชีพจรทำได้หลายตำแหน่ง  แต่ที่ชลัญแนะนำ ก็เอาสัก 3 ที่ก็แล้วกัน  วิธีจับใช้นิ้วกลาง กับนิ้วชี้วางทาบตำแหน่งดังนี้ 

  1. ชีพจรที่ข้อมือ  จะอยู่ตำแหน่งตรงกับนิ้วหัวแม่มือ ดังภาพ
  2. ชีพจรบริเวณข้อพับแขน  จะอยู่ ในตำแหน่ง  ตรงกับ นิ้วก้อย  ดังภาพ 
 
3.เอามือวางทาบที่หัวใจเลยค่ะ   ดังภาพ

แล้วก็จับเวลา 1 นาที  นับตามจังหวะ  ตุ๊บๆๆๆๆๆไปเรื่อยๆ   จนครบ 1 นาที  ทีนี้เราก็พอจะประเมินอาการเราเบื้องต้นได้แล้วค่ะ 

                ทุกคนจะได้ปลอดภัยจาก  arrhythmia  ค่ะ

        Ico64_sign

ด้วยความปรารถนาดี 

          ชลัญธร

 

หมายเลขบันทึก: 492955เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เขียนต่อๆ ...อ่านมันดี

เคยเป็นหัวใจโต ตอนที่ไปตรวจ หมอให้วิ่งบนลู่พร้อมกับเล่าเรื่องที่ชอบไปด้วย....เหนื่อยเอาการ

หัวใจเต้นผิดปกติแบบ PAC อันตรายมั้ยค่ะ แล้วจะต้องปฎิบัติตัวยังไง

พยาบาลมืออาชีพจริง ๆ

เมื่อเดิอนมีนาคม 2554 ปู่ไจ่ไจ๋ ไปกทม. หน้ามืด พรรคพวก นำส่งโรงพยาบาลตำรวจ เข้าห้องฉุกเฉิน หมอฉีดยา หลับไปสามสิบนาที่ ตื่นขึ้นมา หมอบบอกว่าลมธรรมดา ๆ บอกลาหมอ จ่ายค่ารักษา แปดสิบบาท จ่ายทิปเด็กเข็น รถร้อย แต่ก็หายทันที เมื่อไปจับไมค์ พูดที่พารากอน 555 กลับมาซื้อเครื่องวัดความดัน วัดทุกวัน ใจไม่ดีทุกวัน หยุดลืมไป ตอนนี้หายเป็นปลิดทิ้ง

อย่างนี้จะแนะนำใหทำตัวอย่างไรครับ

ภาวะ หัวใจเต้นผิดปกติ   Premature atrial contraction (PAC) เป็นความผิดปกติ ของหัวใจห้องบนหรือเรียก ว่า Atrium  ชลัญไม่แน่ใจว่าผู้ถามเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ หรือเปล่า  ถ้าไม่ใช่  ก็เอา เป็นว่า ไม่อันตรายมาก  แต่ถ้าเจอภาวะนี้ต้องหาโรคที่ซ่อนเร้นมากกว่า  ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายๆ  อย่าง  เช่น ชา กาแฟ  เครียด  พักผ่อนไม่พอ  ยา เป็นต้น  คล้ายๆ กับ PVC   Premature ventricular contraction  ส่วนใหญ่มักไม่ต้องรักษา  หรือให้ยาอะไร   หากเราจับชีพจรตัวเอง มักพบจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ  เช่น  ตุ๊บ  ตุ๊บ  ตุ๊บตุ๊บตุ๊บ ตุ๊บ  ตุ๊บตุ๊บ  เป็นต้น  อาจไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าเจอภาวะนี้ หากไม่สบายใจก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุหรือโรคหัวใจที่ซ่อนเร้นน่ะค่ะ  หากมีอะไรสงสัย mail  มาถามได้ [email protected]  จะตอบเท่าที่พยาบาลจะตอบได้  เกินนั้นจะปรึกษาแพทย์ให้ค่ะ    ขอบคุณค่ะ  thanyaratputtha ที่สนใจ

ขอบคุณ

Blank    kunrapee
Blank    ป.
Blank    คนบ้านไกล
Blank    jojio
Blank    ชัด บุญญา
Blank    ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

ที่สนใจบทความชลัญคิดว่ามีประโยชน์  จึงเอามาเล่าสู่กันฟัง  มีอีหลายเรื่องที่เตรียมไว้ให้ ชาว GTK ได้ดูแลสุขภาพของตนเอง  อย่าปล่อยให้เป็นคนป่วยเหมือนชลัญ

ขอบคุณปู่ชัดBlankที่สนใจ

สำหรับกรณีของปู่ชัดนี่  อาการที่เป็น ในภาษาแพทย์  เรียนกว่า  Syncope  คือ การที่เกิดอาการหมดสติชั่วขณะ (transient loss of consciousness) และสูญเสีย postural tone อย่างทันทีทันใด และฟื้นได้เอง ในผู้สูงอายุสามารถพบได้บ่อย  พอควรซึ่งสาเหตุมาจากหลายอย่างด้วยกัน  อาจเกิดจากภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน  ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ  จากการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว  หรือความอ่อนล้า ประกอบกับวัย  ที่หลอดเลือดลดความยืดหยุ่นแข็งแรงลง  ก็เป็นได้

    หรือ อาจเกิดจาก  cerebral ischemia, migraine, epileptic seizure, ความผิดปกติทางเมตะบอลิก เช่น ซีด น้ำตาลในเลือดต่ำ มีการเพิ่มขึ้นของความดันในกะโหลกศีรษะอย่างเฉียบพลัน

     แต่ในกรณีของปู่ พอได้ หยิบไมค์ พูดๆ  ๆ ๆ ๆ ๆ   หัวเราะ 55555555  บ่อยๆ  จิตใจสดชื่นแจ่มใสส่งเสริมให้การสูบฉีดเลือด ไปเลี้ยงร่างกายและสมอง ได้ ดี แล้ว ไม่เกิด อาการ อีก  นั้น  ก็ไม่น่ากังวลหรอกค่ะปู่ชัด  การวัดความดันโลหิตตัวเอง  ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี  แต่ไม่ต้องบ่อยขนาดนั้นก็ได้ปู่  ถี่มากก็สัปดาห์ ละ ครั้ง  ในเดือหนึ่ง  ก็ สัก 3 ครั้ง อาจมีสูงบ้างต่ำบ้างช่างมัน  เอาเป็นว่าดูค่าเฉลี่ย  เอาค่าตัวบนรวมกัน  หาร จำนาวนครั้งที่วัด  แล้ว ไม่เกิน  140  ตัวล่างรวมกัน หารจำนวนครั้งที่วัด ไม่เกิน 90  ก็หรูแล้วค่ะปู่   เช่นวัดได้  142/80  ,120/62,132/75 วิธีคิดตัวบน   142+120+132 /3 =131.33  ตัวล่าง 80+62+75 / 3 =   72.33  ในภาพเฉลี่ยคือ  131.33/72.33  ก็ถือว่าในเดือนนั้นปู่มีภาวะความดันโลหิตที่ปกติดี  แต่ทั้ง นี้ ในการวัดความดันโลหิต  ไม่ควรเกิน 180/100 หาก สูงขนาดนี้  นอนพักสัก 15 นาที วัดซ้ำ  ยังเกิน 180/100 อยู่ ถึงแม้ไม่มีอาการ ก็ไปหาหมอนะปู่  เพราะถือว่า crisis  น่ะ

ด้วยความห่วงใย จาก ไจ่ไจ๋ +ชลัญ + คุณป๊า

  • สวัสดีจ้ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ 

อ่านแล้วสะดุด ..และหวนกลับตั้งคำถามกับตัวเองว่า..
"ดูแลตัวเอง..และคนใกล้ตัว" ได้ดีแค่ไหน

ขอบคุณสำหรับกระบวนการ "ประเมิน หัวใจของตัวเองเบื้องต้น จากชีพจรของตัวเอง"..ในบันทึกนี้ นะครับ

 

ขอบคุณ คุณมะเดื่อBlank ที่แวะมาเยี่ยม  คงได้ประโยชน์บ้างนะค่ะ 

ขอบคุณ  คุณแผ่นดิน Blank  ที่มาให้กำลังใจ  ชื่อที่ คุณแผ่นดินตั้งชลัญชอบมาก  คิดไม่ออกเหมือนกัน  ขอใช้ชื่อแล้วกันนะเปลี่ยนเลยนะ  ชอบ ชอบ  ชอบ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท