Module 4: Human Resource Management for Productivity ตอนที่ 2


การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ(CUP)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม

เรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโรงพยาบาลชุมชนบริบทโรงพยาบาลแก่งคอย จ.สระบุรี วิทยากร นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย

การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ(CUP)

หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ต้องมีการตรวจประเมินระบบงาน ระบบการเรียนรู้ของบุคลากร และการสร้างแรงจูงใจ เพื่อช่วยให้บุคลากรพัฒนาตนเอง และใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อให้มุ่งไปในแนวเดียวกับเป้าประสงค์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ รวมทั้งตรวจประเมิน ความใส่ใจ การสร้างและรักษาสภาพแวดล้อม ในการทำงาน สร้างบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศและความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรและหน่วยบริการปฐมภูมิ

องค์ประกอบขงการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่

1. ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ

2.   การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

3.  การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจแก่บุคลากร

มีรายละเอียดดังนี้

1. ระบบบริหารงานบุคคล ที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ องค์กร ต้องมีการจัดระบบบริหารบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ตามภาระหน้าที่โดยกำหนดความรับผิดชอบ   อำนาจหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคน  ครอบคลุมกระบวนการในการกำกับดูแลผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งให้ครบตามที่กำหนดไว้   การจัดระบบประเมินและพัฒนาผลงานของบุคลากร การบริหารค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร  เกื้อหนุนให้บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิมีผลงานที่ดี มีขวัญกำลังใจ  มีการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง

องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่

1.1   การจัดระบบและบริหารงาน

1.2   ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

1.3   การจ้างงานและความก้าวหน้าในการงาน

 วิธีการวัดและประเมินผล เช่น

1. มีแผนพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรเครือข่ายปฐมภูมิ

2. การกำหนดสมรรถนะที่จำเป็น ควรประกอบด้วย

                       - สมรรถนะหลัก(Core Competency)

                       - สมรรถนะประจำสายงาน(Function Competency)

                       - สมรรถนะแต่ละกลุ่มตำแหน่ง(Level)


2.   การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรในองค์กร

เครือข่ายบริการปฐมภูมิ ควรจัดให้มีระบบการเรียนรู้ และการสร้างแรงจูงใจของบุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าประสงค์โดยรวม สอดคล้องพันธกิจและแผนกลยุทธ์ มีความผาสุกในการปฏิบัติงาน และส่งผลให้มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ และความสามารถของแต่ละบุคคล

องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

2.1   การพัฒนาบุคลากร

2.2   การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาความก้าวหน้าในงาน

เครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีระบบการเรียนรู้ของบุคลากร อันประกอบไปด้วย การค้นหาความจำเป็น และความต้องการในการฝึกอบรม การจัดทำแผนพัฒนา และดำเนินการพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับพันธกิจ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานการพัฒนาตามแผนฯ ที่กำหนด

วิธีการวัดและประเมินผล เช่น

- การพัฒนาและฝึกอบรม (ภายในหน่วยงาน ภายนอกหน่วยงาน)

- การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ (career development)

 

3.  การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจแก่บุคลากร

องค์กร ต้องมีการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดระบบสนับสนุนการดำเนินงาน ที่ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ดี

1. สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

2. บุคลากรมีความพึงพอใจและความผาสุกในการทำงาน

วิธีการวัดและประเมินผล เช่น

- การสร้างความผูกพัน (engagement), turn-over rate

- การให้ค่าตอบแทน ให้รางวัล การลงโทษ

- การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

- การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 

หมายเลขบันทึก: 492869เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท