Module 4: Human Resource Management for Productivity ตอนที่ 1


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากทีมพัฒนาบุคลากร รพ.กรุงเทพ เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือ ตามแนวทางมาตรฐานสากลมาใช้ในการดำเนินงาน

การศึกษาดูงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ

วิทยากร  ทีมบุคลากรโรงพยาบาลกรุงเทพ

โรงพยาบาลกรุงเทพ (BangkokHospitalMedicalCenter: BMC) เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของสถานพยาบาลจากทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ได้แก่    

 ISO ย่อมาจากคำว่า International standard organization  การได้มาตรฐาน ISO แปลว่าสถานพยาบาลนั้นมีการจัดการโครงสร้าง ได้แก่ การบริการที่ได้รับการรับรองแล้วว่าได้ระดับสากล คุณภาพการบริหาร บริการ หรือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี (ISO 14000)
 HA ย่อมาจากคำว่า Hospital accreditation หมายถึง การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลโดยเฉพาะ HA นั้นจะได้รับต้องผ่านการประเมินโดยคณะกรรมการพัฒนาสถานพยาบาล หากสถานพยาบาลใดต้องการได้รับ HA ต้องผ่านการประเมินหลายอย่าง เช่น การจัดการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม การลดความเสี่ยงในการรักษาพยาบาล การมีแผนงานพัฒนาตนเอง มีระบบการตรวจสอบการทำงานในสถานพยาบาล เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการจะมาประเมินเป็นระยะๆ ไป

  JCI ย่อมาจากคำว่า Joint commission international เป็นการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล คล้ายกับ HA คือ HA เป็นการรับรองโดยคณะกรรมการพัฒนาสถานพยาบาลในประเทศ ส่วน JCI จะต้องได้รับการรับรองจากต่างประเทศ จุดประสงค์ที่ต้องมีการรับรอง JCI ก็เพื่อให้ผู้ป่วยต่างชาติเชื่อมั่นในบริการ เพราะผู้ป่วยต่างชาติจะไม่รู้จักคำว่า HA แต่หากเป็น JCI ก็จะเป็นที่เข้าใจและรับรู้ได้ง่ายกว่า ดังนั้นเราจะพบเห็นมาตรฐาน JCI ในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีลูกค้าต่างชาติเป็นหลัก 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากทีมพัฒนาบุคลากร รพ.กรุงเทพ เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือ ตามแนวทางมาตรฐานสากลมาใช้ในการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้

Competency and training Human resource service

การที่องค์กรจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมา ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวกับบุคคลที่ถือว่า เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การเพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพ้นจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์
วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคมโดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน
กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process) 
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)

หมายเลขบันทึก: 492867เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท