การพัฒนาความร่วมมือทางด้านการต่อต้านทุจริตเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน


ร่วมกันคิด วิเคราะห์ วางแผนยุทธศาสตร์ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

สวัสดีครับชาว Blog

วันนี้ผมได้รับเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ หัวข้อ การพัฒนาความร่วมมือทางด้านการต่อต้านทุจริตเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตร นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 3 จำนวนประมาณ 70 คนที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ

ในวันนี้นอกจากผมแล้ว ผมยังได้เรียนเชิญ นาวาเอก ดร.สมัย ใจอินทร์ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา และคุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาร่วมกันอภิปรายต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านด้วย

ในช่วงบ่ายวันนี้จะเป็นการ Workshop เพื่อร่วมกันหายุทธศาสตร์ในการรับมือกับ AEC ทั้งในด้านที่เป็นโอกาสและในด้านที่เป็นความเสี่ยง โดยการมองการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศในอาเซียนซึ่งมีโจทย์ที่สำคัญดังต่อไปนี้

1)ยุทธศาสตร์และออกแบบโปรแกรมเพื่อการพัฒนา “คุณภาพและจิตวิญญาณของคน 3 กลุ่ม” คือ

     (1) ข้าราชการ ปปช. และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง

     (2) ผู้นำชุมชน

     (3) นักการเมืองระดับประเทศและท้องถิ่น

     เพื่อปรับตัวรองรับ AEC ในเรื่อง Anti - Corruption

2)  เมื่อเราจะเข้า AEC เยาวชนใน 10 ประเทศจะต้องมีค่านิยมในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับ Anti – Corruption เสนอและออกแบบโครงการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

3)โครงสร้างอำนาจรัฐในอนาคตเพื่อรองรับสถานการณ์ชายแดนของ AEC : เสนอยุทธศาสตร์ที่จะปฏิรูปการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
 
4)ยุทธศาสตร์ในการร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนเรื่อง Anti – Corruption วิเคราะห์ 3 กลุ่ม
(1) กลุ่มที่เหนือกว่าไทย (สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน)

(2) กลุ่มที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย (อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์)

(3) กลุ่มที่กำลังพัฒนา (ลาว เมียนม่าร์ เวียดนาม กัมพูชา)

สำหรับท่านที่สนใจติดตามความรู้ของพวกเราได้ใน Blog นี้เช่นเคยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

.....................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

 

หมายเลขบันทึก: 492591เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กลุ่มที่ 1

โจทย์ข้อที่ 1:

ยุทธศาสตร์และออกแบบโปรแกรมเพื่อการพัฒนา “คุณภาพและจิตวิญญาณของคน 3 กลุ่ม” คือ

     (1) ข้าราชการ ปปช. และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง

     (2) ผู้นำชุมชน

     (3) นักการเมืองระดับประเทศและท้องถิ่น

     เพื่อปรับตัวรองรับ AEC ในเรื่อง Anti – Corruption

 

     คนไทยในอนาคตที่สังคมพึงปรารถนา คือ คนมีคุณธรรม ใฝ่รู้ คิดเป็น ทำเป็น ทำเก่ง ยุทธศาสตร์และออกแบบโปรแกรมเพื่อการพัฒนา “คุณภาพและจิตวิญญาณของคน 3 กลุ่ม”อาจจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1)     หลักสูตรพื้นฐานการสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ให้เห็นคุณค่าในงานของเรา มีความมั่นใจในความดีงามของตัวเอง มีความสุข มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม

2)     หลักสูตรขั้นกลาง คือ การพัฒนาความรู้ในงานของตัวเอง บริบทของตัวเอง

          ความรู้ในภาษาและวัฒนธรรมของเพื่อนบ้าน

3)     ต่อยอดด้วยพัฒนาความเก่ง ความสามารถทางการแข่งขัน

 

     สำหรับการพัฒนาแต่ละกลุ่มมีแนวทางคล้ายคลึงกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะแตกต่างกัน

 

     นอกจากการพัฒนาแบบหลักสูตรควรมีการพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ เช่น สื่อ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านสื่อต่าง ๆมากขึ้น

 

     ใช้มาตรการลงโทษจะต้องทำให้คนไม่กล้าที่จะทำผิด

 

     การมีพาสปอตความดี เป็นสิ่งที่จะช่วยในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้คนทำความดีกันมากขึ้น

อ.จีระ วันนี้

     นอกจากการมีหลักสูตรที่ดี มีการฝึกอบรมแล้ว การปลูกฝังหรือสร้างวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ เรียนรู้ สนใจแสวงหาความรู้ สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก

 

กลุ่มที่ 2

โจทย์ข้อที่ 2:

เมื่อเราจะเข้า AEC เยาวชนใน 10 ประเทศจะต้องมีค่านิยมในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับ Anti – Corruption เสนอและออกแบบโครงการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

     หลักคิด คือ ขยายจุดร่วม ขจัดจุดต่าง ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน

ค่านิยมแรก คือ ยึดมั่นในหลักศาสนา คือ ทำดีด้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (Trust in good)

ค่านิยมที่ 2 มาจากจุดเด่นในวิถีอาเซียน คือ ความพอเพียง (Sufficient ASEAN)

ค่านิยมที่ 3 คือ ความเป็นพี่น้องกัน We are all brothers

ทำอย่างไรให้สำเร็จ

โครงการสร้างผู้นำเยาวชนอาเซียนต่อต้านทุจริตในลักษณะของ Youth Camp โดยดึงเยาวชนต้นแบบเข้ามาเป็นแกนนำ ใส่ค่านิยมที่เราต้องการข้างต้นลงไป มีจุดเชื่อมต่อในการให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีทิศทางเดียวกันและต่อเนื่อง เน้น Case Study Sharing ให้เยาวชนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใช้ความสำเร็จในแต่ละประเทศมาเป็นแนวทาง

อ.จีระ เสริมว่า อยากเห็น AEC นอกจากจะลดเรื่องทุจริตคอรัปชั่นแล้ว น่าจะช่วยสร้างสันติภาพในภาคใต้ของเราด้วย

กลุ่มที่ 3

โจทย์ข้อที่ 3:

โครงสร้างอำนาจรัฐในอนาคตเพื่อรองรับสถานการณ์ชายแดนของ AEC: เสนอยุทธศาสตร์ที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น

     สภาพปัญหาด้านหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ

  • มีหน่วยงานที่รับผิดชอบบริเวณชายแดน อาทิ มหาดไทย ทหาร ตำรวจ ศุลกากร เกษตร พาณิชย์  มีการทำงานซ้ำซ้อนและก้าวก่ายกัน
  •  หน่วยงานของรัฐได้รับการครหาในการปฏิบัติหน้าที่
  •  การควบคุมคนเข้าออก (นักท่องเที่ยว ค้าขายชายแดน)

     สภาพปัญหา : ด้านผู้ใช้แรงงาน

  • มีปัญหาแรงงานระดับล่าง
  •  ผู้ใช้แรงงานจากชายแดนลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
  •  ผู้ใช้งานจากชายแดนเข้ามาประกอบอาชีพที่คนไทยไม่ทำ

     ยุทธศาสตร์

     ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎระเบียบ

  •  กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานให้ชัดเจน ไม่  ซ้ำซ้อนและก้าวก่าย
  • ปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองให้มีระบบมากขึ้น

      ยกเลิกกฎอัยการศึกบริเวณชายแดน

      สร้างมาตรฐานการรับรองแรงานที่มีฝีมือ

      ควรมีเครื่องมือตรวจสินค้าที่ทันสมัย (กรมศุลกากร) เลี่ยงการใช้ดุลยพินิจ

      เพิ่มอัตรากำลังของแต่ละหน่วยงานให้เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่

อ.จีระ เสริมว่า

1. เรื่องอาเซียนเสรี ข้าราชการที่ทำงานชายแดนต้องได้รับการพัฒนาให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและมีความพร้อมมีปัญญาที่จะจัดการกับมัน

2. ปัญหาแหล่งอบายมุขบริเวณชายแดนควรจะต้องลดลง

กลุ่มที่ 4

โจทย์ข้อที่ 4:

ยุทธศาสตร์ในการร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนเรื่อง Anti – Corruption วิเคราะห์ 3 กลุ่ม

(1) กลุ่มที่เหนือกว่าไทย (สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน)

(2) กลุ่มที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย (อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์)

(3) กลุ่มที่กำลังพัฒนา (ลาว เมียนม่าร์ เวียดนาม กัมพูชา)

 

ปัจจัยใหญ่ ๆ ของเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น มาจากปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถนำมาสู่แนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม ดังนี้

1)     ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข – ซึ่งเราจะต้องพยายามลดลง

2)     การให้ความรู้และการสร้างจิตสำนึก ควรเน้นคุณธรรมจริยธรรม การสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิหน้าที่ของประชาชนที่พึงปรารถนา

อ.จีระ เสริมว่า กำลังพยายามอย่างมากที่จะให้เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นวาระแห่งชาติของประเทศไทย และอาจจะต้องขยายไปถึงอาเซียนด้วย

3)     การบังคับใช้กฎหมาย – การลดขั้นตอนต่าง ๆ ในระบบราชการ ระบบกฎหมาย ก็จะช่วยให้ปัญหาคอรัปชั่นลดลง

อ.จีระ เสริมว่า ฮ่องกงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในเรื่องทุจริตคอรัปชั่น เราต้องวิ่งไปหาแนวทางที่ถูกต้อง

4)     มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลย์ที่เหมาะสม เช่น การขออนุญาติต่าง ๆ การจัดซื้อจัดจ้าง กลไกในการกำหนดราคากลาง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท