εїз . . ค ว า ม รู้ `` อ า ณ า จั ก ร หุ่ น ย น ต์ ``


อาณาจักรหุ่นยนต์

นับว่าอยู่ในช่วงสัปดาห์แห่งการเรียนรู้จริง ๆ ก่อนที่จะถึงวันสำคัญ...วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ !!! 18 สิงหาคมนี้

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เจ้าภาพ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ปีนี้ ใช้ชื่องานว่า “งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2549” จัดงานกันที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ตั้งแต่ 11-22 สิงหาคม 2549


มากมายจริง ๆ กับผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศที่นำมาโชว์ และโซนที่ได้รับความสนใจอย่างมากก็คือ โซนเกี่ยวกับหุ่นยนต์ โซนนี้ถือว่าเป็นมุมโปรดของบรรดา น้อง ๆ ที่เข้ามาชมงาน ซึ่งล้วนตื่นตาตื่นใจกับหุ่นยนต์ไฮเทค หน้าตาน่ารักหลายสิบตัว


อย่าง ปาโร (PARO) หุ่นยนต์ลูกแมวน้ำ ที่เคยมาอวดโฉมในงานสัปดาห์วิทย์ปีก่อน 1 ตัว ปีนี้ชวนเพื่อน ๆ มากันถึง 11 ตัว เพื่อให้สัมผัส ถึงความแสนรู้ของเจ้าหุ่นยนต์น้อยกันอย่างเต็มที่ เจ้าปาโรนี้ใช้เสียงร้องของลูกแมวน้ำจริงบันทึกลงบนหน่วยความ จำบนตัวหุ่น ภายใต้ขนอันอ่อนนุ่นมีเซ็น เซอร์รับรู้การสัมผัส ติดไว้ทั่วตัว สามารถ รับรู้และแยกแยะตำแหน่งที่ถูกสัมผัสตลอดจนระดับความรุนแรงในการสัมผัสแล้วประมวลผลออกมาเป็นพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ปาโรถูกสร้างมาเพื่อใช้ในการบำบัดผู้ป่วยและเป็นเพื่อนกับคนชรา

ส่วนน้องใหม่ในงานก็มี วากามารุ (Wakamaru) หุ่นยนต์ต้อนรับแขก ที่มีความ สูงเท่าตัวเด็ก สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ โดยเข้าใจถึง 4 ภาษา คือ ภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี และจีนกลาง เจ้าตัวที่มาในงานสามารถพูดภาษาไทยได้เล็กน้อยอีกด้วย



ด้าน ปาเปโร่ (PaPeRo) หุ่นยนต์ พี่เลี้ยงเด็ก เป็นหุ่นยนต์น่าตาน่ารักที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1997 ปาเปโร่ตัวปัจจุบัน นอกเหนือจากความสามารถหลักในการดูแลเด็กและเป็นเพื่อนเล่นแล้วยังสามารถอ่านนิทานและตั้งคำถามให้เด็ก ๆ ตอบโต้เพื่อให้ความรู้แก่เด็กอีกด้วย



สำหรับหุ่นยนต์ที่น่าสนใจอีกหนึ่งตัวก็คือ มูจิโร-ลิกูริโอ (Mujiro-Ligurio) หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย ที่ถูกออกแบบโดยผู้ออกแบบคนเดียวกับหุ่นยนต์นักรบพิทักษ์โลกกันดั้ม หุ่นยนต์นี้เมื่ออยู่ในเหตุการณ์ปกติจะเก็บแขนไว้ในตัว เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับบุคคลรอบข้าง แต่เมื่อเกิดสภาวะฉุกเฉินจะกางแขนที่ซ่อนไว้ออกมา เพื่อเก็บวัตถุต้องสงสัยได้อย่างคล่องแคล่วด้วยโครงสร้างแขน 7 ข้อต่อเหมือนกับโครงร่างของแขนมนุษย์นั่นเอง

ในโซนนี้นอกจากจะโชว์หุ่นยนต์ไฮเทค จากญี่ปุ่นแล้วยังมีสุดยอดหุ่นยนต์ฝีมือไทย มา โชว์อีกด้วย อาทิ หุ่นยนต์กู้ภัย ผลงานนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่คว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลก แชมป์หุ่นยนต์ระดับประเทศ หุ่นยนต์ล้มลุก หุ่นยนต์สามขา รวมถึงเทคนิคการสร้างหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ

แล้วจะรู้ว่าวิทยาการด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์นี้ไทยเราก็พัฒนาไปได้ไม่น้อยทีเดียว ชมได้ที่งานสัปดาห์วิทย์ปีนี้ ยังพอมีเวลา !!!.

สนับสนุนเนื้อหาโดย

คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49209เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่ะๆๆๆ น่าร๊ากกก เหะๆ เข้าใจหาเรื่องมาลงดีค่ะ น่าสนใจดี ทำให้เรารู้ถึงความก้าวหน้าเทคโนโลยีปัจจุบันว่าพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ^^

ก็ดีนะ แต่รู้สึกว่าcopyมาเลยนี่ แต่ข้อมูลก็มีเนื้อหาดีนะ แต่ขอให้วิเคราะห์ออกมาด้วยนะ

น่ารักดีอ่ะ คนที่ประดิษฐ์มันขึ้นมานี่คงจะเป็นคนรักเด็กนะ .... อีกหน่อยก็คงมีหุนยนต์เป็นพี่เลี้ยงเด็กแล้วอ่ะดิ๊ ใครที่มีอาชีพเป็นพี่เลี้ยงเด็กคงต้องตกงานล่ะสิทีนี้ (^O_O^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท