พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลบุตรครู


ผู้มีสิทธิเบิกได้ต้องเป็นบุตรลำดับที่หนึ่งถึงสามเท่านั้น(ไม่มีทวิหรือวงเล็บขยาย)


ผมมิบุตรตามลำดับดังนี้  (1) นาย ก เกิดเดือน มิถุนายน 2530 อายุ19 ปี(2) นาย ข เกิดเดือน ธันวาคม 2533 อายุ 16 ปี (3) ดช. ค เกิดเดือน เมษายน 2536 อายุ 13 ปี (ท้องที่ 4) ดช.ป และ เด็กชาย ม (ฝาแฝด) เกิด เดือนพฤศจิกายน 2544 อายุ 5 ปี ตามปกติคู่แฝดนี้ ผมจะใช้สิทธิบัตรทอง(บัตร 30 บาท)ทั้งสองคน ในการรักษาพยาบาลมาตลอด 4 ปี ครั้งล่าสุด ผมพาเด็กเข้าโรงพยาบาลเพราะเป็นไข้หวัด พอเอาใบสั่งยาจากหมอไปให้ห้องจ่ายยา ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ใช้บัตรทองไม่ได้ เพราะเด็กเบิกได้แล้ว (เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเอาข้อมูลจากในคอมฯ) ตกลงผมก็จ่ายตังค์ รับใบเสร็จมา ไปขอทำเบิกที่โรงเรียน ปะหน้าส่ง สพท. พอสิ้นเดือน เงินก็เข้าบัญชีธนาคาร รับมา 200 บาท นึกแปลกใจ ณ วันนี้ว่า เจ้าหน้าที่การเงินของ สพท. ยล.1 อิง พระราชกฤษฎิกาฉบับใด ทำไมถึงได้จ่ายตามใบเสร็จให้ผมได้ ทำไมไม่มีการกางพระราชกฤษฎิกา ดูก่อนหรอกหรือ เข้าเรียกว่า ไม่แม่น....อยู่ๆก็มีหนังสือฉบับหนึ่งแจ้งรายการทักท้วงมาถึงผม ให้ผมส่งคืนเงิน จำนวนดังกล่าว ผมเรียนให้ทราบว่า ผมส่งคืนได้ เรื่องของเรื่อง ก็มีอยู่ว่า ใบเสร็จรับเงินฉบับนั้น มันผ่านมาได้อย่างไร ในเมื่อ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 มาตรา 7 ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม สำหรับบุตรคนที่สี่ ที่ผมระบุไว้ในใบขอเบิกฯ ควบกับใบเสร็จที่ขอทำเบิกกับ สพท.นั้น จึงไม่สามารถนำมาใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้(ถึงแม้บุตรคนที่ 1จะบรรลุนิติภาวะไปแล้วก็ตาม) ทางเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน ต้องแม่นกว่านี้....เรื่องของเรื่องจึงจะไม่เกิดขึ้นดังเช่นนี้  เนาะ รอ ยะ วี......ส่งสัยว่า พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้คงจะไม่มี ทวิ หรือ วงเล็บโน้น วงเล็บนี่แล้วกระมั่ง หมายถึงว่า บุตรคนหนึ่ง บรรลุนิติภาวะไปแล้ว คนที่ 4 ก็ ขึ้นมาแทน อะไรทำนองนั้นใช่ไหม? ดังที่เจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาของโรงพยาบาลอ้างกับผมในตอนแรก ใครจำแม่น ช่วยหน่อย........
หมายเลขบันทึก: 49198เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คห.ก่อนหน้า ผิดในสาระสำคัญครับ เลยเปลี่ยนใหม่ดังนี้...(ลบ คห.แรกให้ด้วยนะครับ)

     ผมตอบได้ไม่ชัดนักครับ หากแต่ผมเข้าใจว่าหากคนพี่บรรลุนิติภาวะแล้วก็เลื่อนคนที่ 3 ขึ้นมา เนื่องจากเป็นคู่แฝด ก็เลยได้เลื่อนทั้ง 2 คน (ไม่มั่นใจนัก)
     แต่อย่างไรก็แล้วแต่ครับ หากเบิกจากสวัสดิการข้าราชการไม่ได้ นั่นหมายถึงว่าเด็กมีสิทธิบัตรทองครับ แถมเคยได้ขึ้นทะเบียนทำบัตรไว้แล้วด้วย แม้ว่าในระบบฐานข้อมูลจะแจ้งว่าไม่มีแล้ว (ซึ่งผิดก็ได้) หากพิสูจน์ได้ว่าเด็กไม่มีสิทธิข้าราชการ ก็ย่อมมีสิทธิบัตรทองเหมือนเดิม นั่นหมายถึงสามารถนำใบเสร็จไปขอรับเงินคืนจากหน่วยบริการที่ออกใบเสร็จให้ได้ครับ
     สิทธิไม่ได้อยู่ที่ตัวบัตรครับ สิทธิอยู่ที่ตัวเด็ก และการเรียงลำดับสิทธินั้น หากพบว่ามีสิทธิอื่น (ข้าราชการ และประกันสังคม) จะไม่สามารถเข้าสู่สิทธิบัตรทองได้ หากว่าไม่มีสิทธิอื่น คนไทยผู้นั้นมีสิทธิบัตรทองเสมอครับ ส่วนการที่จะใช้สิทธิที่นั้นก็เพียงไปขอขึ้นทะเบียนฯ โดยสามารถขึ้นทะเบียนได้ทันทีในครั้งแรกที่ไปขอใช้บริการก็ได้ หรือไปขึ้นทะเบียนไว้ก่อนเมื่อมีสิทธิก็ดีเป็นการเตรียมตัวที่ดี รักษาสิทธิตัวเอง
     และหากมองในแนวคิดหลักประกันสุขภาพ การไปขึ้นทะเบียนเสียตั้งแต่มีสิทธิโดยไม่ต้องรอป่วยครั้งแรกนั้น เป็นการเข้าร่วมการแชร์ความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยกับคนในกองทุน (จังหวัด) เดียวกันกับเราครับ

หวัดดี อัสสาลามูอาลัยกุม เพื่อนเก่าพบกันใหม่ ช่วยลบให้แล้วน่ะ คห.ที่....เออ...ชายขอบคิดพ้องกันกับผมที่ว่า พอคนพี่หลุดวงจร บุตรคนที่4 ก็จะขึ้นมาแทนที่(แต่ก็ไม่ชัดเหมือนกัน)ไว้ตอนนี้ผมให้ลูกพี่ผมช่วยประสานหาข้อสรุปที่แจ่มชัดอีกที ไอ้เราก็กลัวว่า ผู้ที่ตรวจสอบดูแค่ผ่านๆว่า เป็นบุตรคนที่4 ก็สรุปว่าเบิกไม่ได้ แกไมทราบว่า บุตรคนที่1ของผมนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วก็เป็นได้ จริงแมะ..(เขียนเอาใจตัวเองหน่อย เผื่อว่าจะจริง)

เรียนผู้อ่านทุกท่าน
ตามความเข้าใจเดิมที่ผมคิดว่า เมื่อคนพี่บรรลุนิติภาวะแล้ว คนที่4 ก็ขึ้นมาแทนที่ สรุปแล้ว มันไม่ได้เป็นไปตามที่เข้าใจกัน
กฎเกณฑ์ที่ถูกต้องคือ บุตรจะมีสิทธิเบิกแค่สามคนเท่านั้น เมื่อคนแรกบรรลุฯก็ตัดไปเลย ไม่มีการทดแทนแต่ประการใด ตกลงผมก็ต้องส่งคืนเงินในที่สุด และขอบคุณในความกระจ่างอันนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท