วิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง เมืองนคร


ระบบกองเติมอากาศยังช่วยป้องกันมลพิษทางอากาศโดยการไม่เผาทำลายเศษพืช-วัชพืชตามแม่น้ำลำคลองและยังเป็นการนำประโยชน์กลับคืนจากธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อมมาเป็นทุน ร่วมกับทุนทางสังคมในชุมชนเพื่อการพัฒนาประเทศในระดับรากหญ้าได้อย่างเหมาะสมกับบริบทภายในชุมชนเป็นอย่างดี

                        การผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ (Aerated Static pile System) เป็นการผลิตปุ๋ยหมักที่ไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย ที่เป็นข้อจำกัดของการทำปุ๋ยหมักที่ผ่านมาของเกษตรกร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรหันมาผลิตปุ๋ยหมัก คุณภาพดี ราคาถูกไว้ใช้เองกันมากขึ้น

                        ระบบกองเติมอากาศสามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือน ได้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพดีโดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย มีค่าองค์ประกอบธาตุอาหารตามที่มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตรฯกำหนด สามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ปริมาณมากถึงเดือนละ 15 ตัน การหมักปุ๋ยทำโดยการกองบนพื้นดินกลางแจ้งและไม่ต้องมีโรงเรือน ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยได้ทุกฤดูกาล มีหลักการทำงานที่ง่ายและใช้พลังานต่ำไม่จำเป็นต้องเติม em กากน้ำตาล น้ำหมักชีวภาพ  ช่วยให้เกษตรกรสามารถนำระบบการผลิตปุ๋ยหมักนี้ไปผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์ เป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี    

                        ระบบกองเติมอากาศยังช่วยป้องกันมลพิษทางอากาศโดยการไม่เผาทำลายเศษพืชที่เหลือจากภาคเกษตรกรรม -วัชพืชตามแม่น้ำลำคลองและยังเป็นการนำประโยชน์กลับคืนจากธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อมมาเป็นทุน ร่วมกับทุนทางสังคมที่มีในชุมชนเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศในระดับรากหญ้าได้อย่างเหมาะสมกับบริบทภายในชุมชนเป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 49195เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นความรู้ใหม่ครับ ที่ได้เลยนะครับเนี่ย
  • แล้ว คุณวิศว์ กับกลุ่มบ้านมะขามเรียงทดลองทำวิธีนี้กันหรือยังครับ
  • ทำแล้วได้ผลจากแบบเดิมอย่างไรครับ

      สนใจ และติดตามอ่านจาก คำบอกเล่าของ ครูนงเมืองคอนครับ

ตอบคุณแขกครับ...

     ระบบกองเติมอากาศนี้ได้วิจัยค้นสำเร็จเมื่อปี 45 โดยท่านรองศาสตราจารย์ ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะ ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในภาคเหนือตอนบนหลายจังหวัดครับ

     จากการผลิตปุ๋ยหมักด้วยระบบกองเติมอากาศ โดยการใช้เศษพืชในชุมชนเช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ใบไม้และการนำวัชพืชในลำน้ำอย่าง ผักตบชวา ผักกระเฉดมาผสมกับมูลสัตว์ในอัตราส่วนโดยปริมาตร 3 ต่อ 1 ก็ใด้ปุ๋ยหมักที่ดีและมีคุณภาพภายใน 1 เดือนครับไม่มีอะไรผิดพลาดเพราะในส่วนที่ปฏิบัติจริงนั้นทำตามขั้นตอนทุกอย่าง โดยการปรึกษาท่านอาจารย์ธีระพงษ์ทางโทรศัพย์ตลอดเวลา

     เมื่อครบกำหนด 30 วัน ก็แบ่งกันไปใช้ภายในกลุ่มเมื่อมีส่วนเหลือก็ขายออกไปเพื่อนำส่วนนั้นมาเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อให้กลุ่มดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องพร้อมๆกับการทำปุ๋ยหมักกองต่อไป โดยการสำรองเศษพืชไว้ล่วงหน้าและหมุนเวียนต่อเนื่องอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท