บทนำระเบียบวิธีวิจัย


...

       ในบทบันทึกนี้จะกล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยไว้เป็นกรณีศึกษา ดังนี้

 

1 . เพื่อแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่ไม่เป็นไปตามสภาพปกติที่ควรจะเป็น  อย่างปัญหาความเสื่อมทางด้านจิตใจผู้คนในสังคม  ปัญหาการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วน  ปัญหาการทุจริตคอรับชัน  ปัญหาแม่น้ำเน่าเสีย  เป็นต้น

 

2 . เพื่อแสวงหาแนวทางป้องกัน  กรณีมีเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตก็ไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้นมาเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอย  ต้องหาวิธีการป้องกัน  เช่น  กรณีเกิดสึนามิ  กรณีเกิดน้ำท่วม  หรือปัญหายาเสพติด  เป็นต้น

 

3 . เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนา  สภาพปกติในปัจจุบัน  นอกจากจะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว  ในสังคมที่เจริญยังต้องการที่จะทำการพัฒนาทุกอย่างให้ดีขึ้น  เช่น  ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร  ต้องการค้นหาความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึจำเป็นต้องทำวิจัย . (  ณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์ . 2551 : 37 )

 

        การกำหนดหัวข้อสำหรับการวิจัย  หมายถึง  ผู้วิจัยมีความต้องการจะศึกษาเรื่องอะไร  แนวทางที่จะช่วยให้ได้หัวข้ออาจแบ่งออกได้เป็น   6  แหลางที่มาคือ

 

1 ) บุคคลผู้ต้องการทำวิจัยเอง  2 ) แวดวงวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  3 ) นักวิชาการ  4 ) แหล่งให้ทุนการวิจัย  5 ) แหล่งข่าวสารทางสื่อมวลชน  6 ) สถาบันวิจัยในที่ทำงาน

 

การเลือกหัวข้อการวิจัย

        หัวข้อที่ดีไม่ควรกว้างจนเกินไป  ควรให้พอเหมาะกับเวลาที่งบประมาณกำหนดให้ทำ  ( วัลลภ  ลำพาย . 2547 : 27 ) ว่าถึงหลักเกณฑ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจเลือกหัวข้อการวิจัยมีอยู่  5 ข้อด้วยกัน  คือ

        1 . ความสำคัญของปัญหา

        2 . ความเป็นไปได้

        3 . ความน่าสนใจและการทันต่อเหตุการณ์

        4 . ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย

        5 . ความสามารถที่จะทำให้ลุล่วง

หมายเลขบันทึก: 491866เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท