เรียนภูมิศาสตร์สัตว์ วันที่ 14/06/55


ระบบนิเวศ

1.มนุษย์เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศอย่างไร

 ระบบนิเวศ

 ได้แก่ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และพลังงาน

 1.1 สิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น พืช และ สัตว์

 พืช จำแนกเป็น พืชดอก และไม่มีดอก ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และพวกพืชน้ำ

 สัตว์ แบ่งเป็น สัตว์มีกระดูกสันหลัง กับไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นพวก morphology

- carnivore พวกสัตว์กินเนื้อ ลักษณะเด่นจะมีลำไส้ที่สั้น มีฟันกัด canine

- herbivore พวกสัตว์กินพืช ลักษณะเด่น คือ มีลำไส้ที่ยาว มีฟันเคี้ยวขนาดใหญ่

- scarvenger พวกที่กินซาก เช่น อีแร้ง

- omnivore พวกที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น คน

- วัวควายได้อาหารหรือสารอาหารมาจาก การหมักของอาหารเศษหญ้า ในกระเพราะอาหาร เพราะภายในกระเพราะอาหารจะมีจุลินทรีย์พวกโปรโตซัว จะทำให้เกิดการสร้างโปรตีน

- อีแร้งสูญพันธุ์ เพราะการใช้สารเคมีหรือยาเบื่อกับสัตว์ แล้วพวกอีแร้ง ไปกินจึงทำให้เกิดการสูญพันธุ์

1.2 พลังงาน

- ศักย์ คือพลังงานที่แฝง จลน์ คือพลังงานที่ใช้

- ปัจจัยที่ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศของโลก

 1. แรงดึงดูดของโลก  2. เส้นผ่านศูนย์กลางโลก

 3. แรงหนีศูนย์กลาง

คำถาม

1. ความแตกต่างระหว่างวัคซีนกับเซรุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ 

เซรุ่ม คือ ภูมิคุ้มกันโรคที่อาจทำได้โดยฉีดเชื้อโรคที่อ่อนกำลังแล้วเข้าไปในสัตว์ เมื่อสัตว์สร้างแอนติบอดีขึ้นในเลือด เราจึงดูดเลือดสัตว์ที่มีแอนติบอดีอยู่นั้นมาใช้ ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ต้านโรคได้ทันทีแต่อาจจะเกิดการแพ้อย่างรุนแรงได้

ส่วน

วัคซีนคือเป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค ข้อดีของวัคซีนคือไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรง และทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่ได้นาน แต่มีข้อเสียคือ ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที

 อ้างอิงจาก www.pharmyaring.com/detail.php?c_id=422 - 

2. หน่วยของกัมมันตรังสีมีอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ถึงจะมีผลกระทบต่อคน

ตอบ 

หน่วย คือ ชื่อเฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้บอกขนาดและปริมาณของสิ่งต่างๆ หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี มีดังต่อไปนี้

ปริมาณ

หน่วยเดิม

หน่วยใหม่ (SI unit)

กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)

คูรี (Ci)

เบคเคอเรล (Bq)

รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)

แรด (Rad)

เกรย์ (Gy)

รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

เรินท์เกน (R)

คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg)

รังสีสมมูล (Dose Equivalent)

เรม (Rem)

ซีเวิร์ต (Sv)

อ้างอิงจาก http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=164&Itemid=172

3. แรงกดอากาศของโลกมีแรงกดเท่าใด

ตอบ ความกดอากาศ (Pressure) ความกดอากาศ คือ น้ำหนักของอากาศที่กดทับเหนือบริเวณนั้นๆ สามารถตรวจวัดความกดอากาศ ได้โดยเครื่องมือที่เรียกว่า " บาโรมิเตอร์ " (Barometer) มีหน่วยของการตรวจวัดเป็น มิลลิบาร์ หรือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยปกติคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ได้รับแรงกดจากความกดอากาศ เนื่องจากร่างกายมนุษย์มีอากาศเป็นส่วนประกอบอยู่ ซึ่งความกดอากาศภายในตัวคนเรามีแรงดันออกเท่ากับแรงดันภายนอก เราจึงไม่รู้สึกอึดอัด ในขณะเดียวกันถ้าเราออกไปสู่ภายนอกโลกโดยไม่ได้สวมชุดอวกาศร่างกายของเราจะพองออกและระเบิดออกได้ในที่สุดเนื่องจากในอวกาศไม่มีบรรยากาศอยู่ นอกจากนั้นความกดอากาศยังมีความสัมพันธ์กันกับอุณหภูมิและระบบการเกิดลมบนพื้นโลกของเรา ความกดอากาศแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ บริเวณความกดอากาศต่ำ หรือ ความกดอากาศต่ำ (Low Pressure) หมายถึง บริเวณซึ่งมีปริมาณอากาศอยู่น้อย ซึ่งจะทำให้น้ำหนักของอากาศน้อยลงตามไป ด้วยเช่นกัน ทำให้อากาศเบาและลอยตัวสูงขึ้น เราเรียกว่า กระแสอากาศเคลื่อนขึ้น เมื่อเกิดกระแสอากาศเคลื่อนขึ้นจะเกิดการแทนที่ของอากาศ ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เรารู้สึกเย็น คือ เกิดลมขึ้น และลักษณะการพัดหมุนเวียนของลมในบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต่ำบริเวณส่วนต่างๆ ของโลก เช่น ในซีกโลกเหนือจะมีทิศทางการพัดทวนเข็มนาฬิกา ซีกโลกใต้จะพัดตามเข็มนาฬิกา ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาการหมุนรอบตัวเองของโลกที่มีทิศทางหมุนทวนเข็มนาฬิกา เราเรียกบริเวณความกดอากาศต่ำในแผนที่อากาศว่า "ไซโคลน" (Cyclone) หรือ "ดีเปรสชั่น" (Depression) หมายถึงบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ และรอบๆ บริเวณความกดอากาศต่ำ มีความกดอากาศสูงอยู่รอบๆ ความกดอากาศสูงจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ อากาศที่ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำจะลอยขึ้นเบื้องบน อุณหภูมิจะลดต่ำลง ไอน้ำจะเกิดการ กลั่นตัวกลายเป็นเมฆฝน หรือ หิมะ ตกลงมา โดยทั่วไปสภาพอากาศไม่ดี มีฝนตก และมีพายุ ส่วน ริเวณความกดอากาศสูง หรือ ความกดอากาศสูง (High Pressure) หมายถึง บริเวณที่มีค่าความกดอากาศสูงกว่าบริเวณโดยรอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แอนติไซโคลน" (Anti Cyclone) เกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศสูง อากาศจะเคลื่อนตัวออกมายังบริเวณโดยรอบ โดยในซีกโลกเหนือจะมีทิศทางพัดตามเข็มนาฬิกา ในซีกโลกใต้จะมีทิศทางพัดทวนเข็มนาฬิกา เมื่ออากาศเคลื่อนที่ออกมาจากจุดศูนย์กลาง อากาศข้างบนก็จะเคลื่อนตัวจมลงแทนที่ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิดการ กลั่นตัวของไอน้ำแต่อย่างใด สภาพอากาศโดยทั่วไปจึงปลอดโปร่ง ท้องฟ้าแจ่มใส

อ้างอิง http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/geology/2/index_ch_2-4.htm

คำสำคัญ (Tags): #ระบบนิเวศ
หมายเลขบันทึก: 491569เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในซีกโลกเหนือจะมีทิศทางการพัดทวนเข็มนาฬิกา ซีกโลกใต้จะพัดตามเข็มนาฬิกา ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาการหมุนรอบตัวเองของโลกที่มีทิศทางหมุนทวนเข็มนาฬิกา อธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อยนะ ว่าทำไมมันถึงมีการหมุนในทิศทางที่แตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่โลกหมุนไปในทิศทางเดียวกัน

ความกดอากาศเฉลี่ยของจังหวัดพิษณุโลกมีค่าเท่าไรครับ กี่กิโลกรัมต่อตารางนิ้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท