วิชญธรรม
ผศ. ดร. สิริวิชญ์ เตชะเจษฎารังษี

ธรรมะเริ่มจาก ศรัทรา


“ด็อกเตอร์ มี ศรัทรา แล้วบ่?”

“ด็อกเตอร์ มี ศรัทรา แล้วบ่?” เป็นข้อความที่ผมทิ้งไว้จากบันทึกที่ผ่านมา เรามาติดตามต่อกัน

หลังจากได้สัญญาณเตือนพิเศษเฉพาะบุคคลแล้ว ผมเองก็ยังไม่ได้สนใจจะหยิบหนังสือธรรมะ 2 เล่มนั้นมาอ่านอยู่ดี วันๆก็หมดไปกับการที่เราจะทุ่มเทให้ลูกเราดี มีความสุข สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง ที่สุดที่ผมจะให้เลยละ (อันนี้นอกเรื่อง: อาจเป็นเพราะอบอุ่นที่พ่อแม่เราให้เรามาในทุกๆขณะ ตั้งแต่เกิดถึงกระทั่งปัจจุบัน ผมจึงมีความอบอุ่นเหลือล้นที่จะถ่ายทอดให้ลูกต่อไป)

จุดวกกลับของผมเกิดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อย่างที่ผมบอก “ถ้าเราไม่เห็นทุกข์ เราก็ไม่เห็นธรรม” ผมรู้สึกถึงความทุกข์ เปรียบได้กลับว่าหัวใจเราหลุดหายไปในพริบตา หนทางที่จะดับทุกข์ได้ผมเลือกที่จะใช้แนวทางที่พี่ผมแนะนำ คือ “ธรรมะ” ขณะนั้นพี่ผมซึ่งฝึกปฏิบัติอยู่ระยะหนึ่งแล้วได้พาผมไปพบกับ หลวงปู่ ณ วัดที่พี่เข้าประจำ ด้วยหน้าตาชนิด ที่บอกบุญไม่รับอย่างผมในขณะนั้น ผมได้สนทนากับหลวงปู่เป็นครั้งแรก (ท่านเมตตาให้ผมเข้ากราบตั้งแต่ฟ้ายังมืดอยู่เลย ประมาณตีสี่ครึ่งเห็นจะได้) จากการพูดคุย หลวงปู่เลยตั้งฉายาให้ผมเสร็จศัพท์ว่า “ด็อกเตอร์” (ออกเสียงเป็นสำเนียงอีสานอีหลีเลย) หลวงปู่ท่านได้ชี้แนวทางแก้ปัญหาด้วยธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ขณะนั้นเหมือนหลวงปู่จะจับประเด็นที่ติดในใจผมได้อย่างหนึ่ง จึงทักผมเป็นสำเนียงอีสานว่า “ด็อกเตอร์ มี ศรัทรา แล้วบ่?” นี่เป็นคำถามที่ผมต้องย้อนถามตัวเองให้ชัดๆว่าเรามี “ศรัทรา” ในพุทธศาสนา ในหลวงปู่ หรือในธรรมะ จริงหรือเปล่า!! 

หากย้อนกลับไปสมัยผมจบกลับมาใหม่ๆ ผมได้ตั้งใจที่จะบวชเพื่อตอบแทนคุณพ่อแม่ตามประเพณี และก็ลาบวชที่วัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง บวชเพียงเดือนเดียว ผมก็ไปจมกับสิ่งที่ผมผิดหวังในพุทธศาสนาอย่างมาก พี่ผมมาเยี่ยมเห็นหน้าพระน้องก็เดาได้ และถามผมว่าเกิดอะไรขึ้น ผมก็ได้เล่าเรื่องราวต่างๆให้พี่ผมฟัง พี่ผมได้ชี้แจงอย่างแจ่มแจ้งว่า “เรามาปฏิบัติ ให้ดูที่ตัวเราเอง อย่าไปคิดอย่างอื่น ดูอย่างอื่น” ผมในขณะนั้นก็ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจอะไรที่พี่สอนเลย คิดเพียงแต่ว่าเรา “ศรัทรา” อย่างแรงกล้ามาบวชก็ตั้งเดือน แล้วทำไมยังมาพบเจอเรื่องเหล่านี้ด้วย .....เวลาผ่านไป หนึ่งเดือนสำหรับการบวชในวัดที่มีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่เช่นกัน ผมกลับทิ้งมันไปกับสิ่งที่ผมประสบในวัดอย่างไร้ค่า

เมื่อย้อนคิดกลับไป เราบวชตอนนั้นก็ทำตามประเพณีนิยม ไม่ได้รู้ลึกถึงการปฏิบัติธรรมจริงๆเลย ฝันไว้ว่าอยากนั่งสมาธิดีๆตอนที่บวชอยู่ แต่ก็ไม่รู้ความหมายจริงๆของหลักธรรมอะไรเลย ความผิดหวังในพุทธศาสนาก็ไปโทษสิ่งต่างๆนานา หากผมไม่ได้พบครูบาอาจารย์อย่าง หลวงปู่ ที่ท่านคอยชี้ คอยนำทางเมื่อเห็นว่าเราเริ่มจะหลงทาง ผมคงคิดเองไม่ได้ว่า เพียงแค่บทสวดมนต์แปลทุกคำก็ให้ความหมายที่เป็นสัจธรรมอย่างหาที่แย้งไม่ได้เลย

สันทิฏฐิโก,  เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และ ปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;   

 

เขียนเป็นสมการได้เป็น [ศึกษา + ปฏิบัติ  = เห็นได้ด้วยตนเอง]

อะกาลิโก,   เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ;

 

เขียนเป็นสมการได้เป็น [ธรรมะ = ปฏิบัติได้  + ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล]

 

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าทางจงมาดูเถิด;

 

เขียนเป็นสมการได้เป็น [∫ ธรรมะ กะผู้อื่น= จงมาดูเถิดเพื่อเกิดศรัทรา]

 

โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;

 

เขียนเป็นสมการได้เป็น [ธรรมะ = ∑ หลักธรรม น้อมเข้ามาใส่ตัว  ]

 

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

 

เขียนเป็นสมการได้เป็น [limธรรมะ ผู้รูู้ = ผู้ปฏิบัติด้วยตนเองจริงๆ ]

 

  

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรัทรา
หมายเลขบันทึก: 491313เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณมากครับ ถ้ามีโอกาสผมจะไปหามาอ่าน นะครับ ไม่แน่ใจว่าห้องสมุดที่ มข. มีหรือไม่ จะไปลองดูนะครับ

ขออนุญาติแก้ไขสมการเล็กน้อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท