การจัดระดับมหาวิทยาลัยไทย


        ผมได้บันทึกความเห็นเรื่องนี้ไว้ครั้งหนึ่งแล้วที่นี่    โดยเอาขึ้นบล็อกระหว่างนั่งรถไปบางแสน    เพื่อไปร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี    พ.ศ.2549  ของ ปอมท.  เรื่อง  "ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทย : วิกฤตหรือโอกาส"

          โชคดี ผมอยู่ร่วมประชุมจนเย็น   ถึงช่วงสุดท้าย   ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช   ทองโรจน์  เลขาธิการ สกอ.   เจ้าของ education bomb   เรื่องการจัดกลุ่มอันดับมหาวิทยาลัยไทย  มาบรรยายเรื่อง  ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุดมศึกษาไทย   ก็มีการชี้แจงเรื่อง ranking ด้วย   โดยหัวหน้าทีมดำเนินการ คือ รศ.ดร.วันชัย  ดีเอกนามกูล  ได้ถ่ายเอกสารที่ นสพ.มติชน ฉบับพิเศษเรื่อง  Thai University Ranking / การจัดระดับมหาวิทยาลัยไทย มาแจก   ผมจึงได้เอกสารที่อยากได้มาหลายวันแล้ว   และได้รู้ว่าเว็บไซต์ของเรื่องนี้ คือ   www.ranking.mua.go.th

          กลับมาบ้าน ผมรีบเข้าเว็บนี้ทันที   แต่ปรากฎว่ามีแต่เรื่องการกรอกข้อมูล  ไม่มีข้อมูลตามที่มติชนพิมพ์  แปลกแท้ๆ

          อ่านเอกสารนี้แล้ว ก็ยิ่งทำให้ผมเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียของกิจกรรมนี้ชัดเจนขึ้น  

          กิจกรรมนี้น่าจะดำเนินการต่อไป  โดยมีการปรับตัวชี้วัดให้ชัดเจนขึ้น   ด้วยความร่วมมือระหว่าง สกอ. ,  นักวิชาการที่มาช่วย สกอ. ทำเรื่องนี้  และสถาบันอุดมศึกษา

          โดยผมขอเสนอให้แยกระหว่างมหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือ comprehensive  university   กับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเน้นการรับใช้หรือสนองชุมชน/ท้องถิ่น    และมหาวิทยาลัยที่ต้องการผลิตบัณฑิตที่เน้น technical skill

          ผมยังยืนยันว่า  การจัดระดับมหาวิทยาลัยไทยแบบลงตะกร้าเดียวกันหมดจะส่งผลเสียต่อประเทศ  ควรจะมีสัก 3-4 ตะกร้าจะดีกว่า

 

วิจารณ์   พานิช
5  ก.ย.  49

หมายเลขบันทึก: 49099เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2006 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท