ชวนครูกำแพงเพชรเดินออกมานอกกล่อง มองดู 21st Century


การทำหน้าที่ Facilitator เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยาก และอย่างที่ทราบกันว่า การเป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ที่ดีนั้นเป็นทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” เราอาจมีความรู้เป็นอย่างดีในการเป็น Facilitator แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถเป็น Facilitator ที่ดีและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สำเร็จและมีความสุขได้ องค์ประกอบของการทำหน้าที่ผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้จึงละเอียดอ่อน และต้องการการฝึกฝนตัวเองอย่างประณีตเพียงพอที่จะเข้าใจผู้คน และเข้าใจวิถีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโหมดเรียนรู้ ผ่าน “ความสุข ความปลอดภัย”

เดินทางมาที่กำแพงเพชร เพื่อมาทำ Workshop การพัฒนาศักยภาพครู Facilitator ที่เชื่อมโยงกับวิถีการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ใน ศตวรรษที่ ๒๑  โดยมีทีมงานกำแพงเพชร (มรภ.กำแพงเพชร) ที่มี รศ. ดร.เรขา อรัญวงศ์ เป็นผู้จัดการในพื้นที่

ที่กำแพงเพชรมีต้นทุนที่ค่อนข้างพร้อม จากโครงการ LLEN  (โครงการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก) ที่มีการดำเนินการที่นี่มาก่อน ดังนั้นกลุ่มครูแกนนำที่เข้ามาร่วม workshop จึงมี “ต้นทุน” ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมไปถึงคุ้นชินกระบวนการสร้างความรู้ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันแนวทางของ KM ทำให้ “ศักยภาพ+ความรู้” ของผู้เข้าร่วม workshop ครั้งนี้ จึงไม่ยากมากในการเพิ่ม-เติม-และเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพ Facilitator อันเป็นทักษะที่สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ รวมไปถึงการเปลี่ยนจากครูปกติมาเป็น "ครูผู้จัดกระบวนการเรียนรู้"

สำหรับตัวผมเองที่มาทำหน้าที่ ทีมวิทยากรกลางเองก็ค่อนข้างสบายใจเป็นเบื้องต้น จากความพร้อมของพื้นที่ และวางแผนการทำ Workshop แบบหลวมๆ ตามสไตล์ที่ผมถนัด ที่จะวิเคราะห์สถานการณ์เร็วๆแล้วสร้างกระบวนการเรียนรู้เฉพาะตรงนั้น  อย่างไรก็ตามการที่ผมคิดแบบนี้ ผมมีการเตรียมความพร้อมมาระดับหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ในสถานการณ์จริงบางครั้งแทบไม่ได้ทำตามที่วางแผนมาเลย ได้เรียนรู้ใหม่ๆทุกครั้งแม้ว่าเป็น วิถีการทำงานที่คุ้นเคย กลุ่มเป้าหมายเดิม วัฒนธรรมเดิมๆ แต่ได้ ชุดความรู้ใหม่ๆได้ทักษะใหม่ๆให้กับตัวเองทุกครั้ง

การทำหน้าที่ Facilitator เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยาก และอย่างที่ทราบกันว่า การเป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ที่ดีนั้นเป็นทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” เราอาจมีความรู้เป็นอย่างดีในการเป็น Facilitator แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถเป็น Facilitator ที่ดีและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สำเร็จและมีความสุขได้  องค์ประกอบของการทำหน้าที่ผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้จึงละเอียดอ่อน และต้องการการฝึกฝนตัวเองอย่างประณีตเพียงพอที่จะเข้าใจผู้คน และเข้าใจวิถีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโหมดเรียนรู้ ผ่าน “ความสุข ความปลอดภัย”

ที่กำแพงเพชร เริ่มต้น กระบวนการเรียนรู้โดย ชวนครูเดินออกมานอกกล่อง มองดู 21st Century พร้อมๆกัน ช่วยกันขบคิดว่า มีทักษะใดบ้างที่เราต้องพัฒนาทั้งตนเองและเด็กๆของเรา เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขนาดนั้น แน่นอนว่าถึงแม้ว่าผลลัพธ์เกิดทักษะที่หลากหลาย จากการทำงานหนักของผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้นั้น “เหนื่อย” และมีแนวโน้มที่จะ “ไม่ยั่งยืน” หากไม่ได้ใช้ “หัวใจของการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเพื่อก้าวไปสู่ 21st Century Skills” ซึ่งได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจของผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ ,การสอนวิธีการเพื่อสร้างความรู้  (Learn How to Learn)

 

เป้าหมายที่จะเดินทางไปให้ถึงคือ 21st Century Skills ที่มี PBL(Project Based learning) เป็นเครื่องมือ มี PLC (Professional learning Community)เป็นตัวช่วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ได้นั้น ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองก่อน เปลี่ยนที่ระดับกระบวนทัศน์กันเลยทีเดียว

วิธีคิดหลักๆในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นที่คนทำงานคือ

  • ถอดถอนความคิดเดิม
  • เติมความคิด มุมมองใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไตร่ตรองผ่านบริบทจริง
  • ชวนกันคิดว่า “หากจะเปลี่ยน” เราต้องเริ่มจากตรงไหน
  • หาวิธีการแล้วลองทำดู ถอดบทเรียนเป็นระยะๆ

ที่กำแพงเพชรเราเริ่มต้นกันแบบนี้ โชคดีที่เครือข่ายครูที่นี่เข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มรายสาระวิชา (วิทยาศาสตร์ +ภาษา+คณิตศาสตร์) เวลาเราคุยถึง เข็มมุ่ง 21st Century Skills แล้ว ต่อติดได้เร็ว และกระบวนการกลุ่มที่มีครู Facilitator ที่ผ่านการฝึกทักษะเบื้องต้น สามารถเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี การถอดบทเรียนเล็กๆเพื่อให้เห็นตัวกระบวนการสร้างความรู้ในชีวิตการทำงานของครู ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเชื่อมไปยัง Skillsของ 21st Century Skills ได้ชัดเจน ครูก็เห็นความหวังมากขึ้น รวมไปถึงหาวิธีการใหม่ เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ที่ครูคิด สนุกสนาน สร้างแรงบันดาลใจให้ศิษย์มากขึ้นไปด้วย 

ส่วน PLC ที่เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างจากการทดลองรวมกลุ่มเล็กๆใน workshop วันนี้ เห็นความอัศจรรย์ของการแลกเปลี่ยน เราเห็นว่า PLC เป็นตัวช่วยของครูได้จริงๆ

โดยสรุป : กระบวนการพัฒนาศักยภาพครู Facilitator ที่กำแพชร ที่ใช้เวลาเร่งรัดภายใน ๒ วัน วันแรกฝึกทักษะ Facilitator วันที่สองได้ทำจริงผ่านเครือข่ายครูสอนดีที่ได้เชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้ การยืดหยุ่นและเปิดใจให้กว้างในการเรียนรู้ร่วมกันตลอดจนการหากลวิธีที่เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมของครูกำแพงเพชรจริงๆ

ในบทบาททีมวิทยากรกลางของผม...อาจต้องรอคอย และติดตามเรียนรู้กับครูที่กำแพงเพชรเป็นระยะๆ เพื่อค้นหา “บทเรียน” ที่จะนำไปแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายครูสอนดี อีก ๑๔ จังหวัดต่อไป

 

action กับ อ.เอ็ม มณฑล (ม.หัวเฉียว) ที่ไปช่วยกันใน Workshop ที่กำแพงเพชร


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๙ - ๑๐ มิ.ย.๕๕

มรภ.กำแพงเพชร

 

หมายเลขบันทึก: 490725เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • อยากให้ไปจัดแถว ๆ บ้านคุณมะเดื่อบ้างจังเลยจ้ะ
  • ครูแถว ๆ นั้นจะหลับกันหมดแล้วววววว

ผมเคยชวนแล้ว พอเดินออกมา กล่องติดขาออกมาด้วยครับ มันเป็น "พันธนาการ" ที่ยากจะแก้ครับ ลองดูก็ได้ครับ

 

อยากให้คุณครูทุกโรงเรียนได้มีการพัฒนาการจัดการความรู้  ทุกสาขาวิชาเป็นแนวเดียวกัน เข้าใจบทเรียนอย่างแจ่มแจ้ง และถ่ายทอดแก่เครือข่ายได้....

ครูรุ่นใหม่ที่เรียน 5 ปี อยากเห็นจังเลยว่าเขาจะสอนนักเรียนเขาอย่างไร?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท