ภูมิปัญญาของการทำให้ผงปูนเผาเป็นพระเนื้อปูนแกร่ง


ความรู้นี้น่าจะพัฒนามาจากข้อสังเกตของการเกิดหินปูนงอกออกมาจากปูนที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนต่ำ หรือปูนดิบบดละเอียดก็เป็นไปได้

ตั้งแต่ผมเริ่มรู้จักพระเนื้อผง ผมก็เริ่มสงสัย และตั้งข้อสังเกตมาตลอดว่า

พระเนื้อผง โดยเฉพาะผงปูนเปลือกหอยนั้น ได้เกิดเป็นพระเนื้อแกร่ง ทนทาน รักษารูปร่างได้นาน ผุกร่อนยากได้อย่างไร

ยิ่งนานวันพระเนื้อผงปูนที่ได้อายุมากขึ้นจะยิ่งแกร่งขึ้นทุกวัน

แม้จะมีรอยปริแตก รอยแยก รอยระแหงที่ผิว หรือบิ่นไป ก็จะมีการ "งอก" ของเนื้อปูนออกมารักษาแผลที่ผิวขององค์พระได้ด้วยระบบของสารในองค์พระโดยธรรมชาติ

ความสงสัยนี้ได้ทำให้ผมพยายามสืบค้นหลักการทางวิทยาศาสตร์ สืบค้นจากตำนานการสร้าง สอบถามผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาการของผิวพระเนื้อผง

ผมเดินทางไปเกิอบทั่วประเทศไทย เพื่อสืบค้นความรู้นี้ เพื่อคุยกับผู้รู้ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อหาโอกาสได้เห็นเนื้อพระที่มีคนยืนย้นว่าแท้ และน่าจะแท้ตามหลักการพัฒนาการของผิวปูน และเพื่อได้เห็นของจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร

หลังจากนั้นผมก็พยายามใช้หลักการดังกล่าวไปเดินดูพระเนื้อผงในตลาดพระ ที่ทำให้เห็นพระแท้ๆหลายร้อยองค์ พยายามขอแบ่งปันเพื่อการศึกษา จากผู้ให้ความกรุณา จนกระทั่งในปัจจุบันผมได้พระเนื้อผงปูนมานั่งส่องเพื่อศึกษารายละเอียดของเนื้อและการพัฒนาการ ประมาณสี่สิบกว่าองค์ มีเกือบทุกเนื้อ แต่ไม่ทุกวัด และไม่ทุกพิมพ์ และยังได้เรื่อยๆจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะพระที่ผิวบิ่น หรือกร่อนจากการใช้ ยิ่งน่าศึกษา เพราะ "ดูง่าย"

จากหลักการและข้อสังเกตของจริงทำให้ผมพอจะสรุปได้ว่า

พระเนื้อผงที่ทางวงการนิยมสะสมกันนั้น มักให้ความสำคัญกับพระเนื้อปูนดิบ หรือปูนสุกน้อย หรือมีส่วนผสมของปูนดิบในอัตราสูง

ทั้งนี้เพราะความงดงามและความแกร่งของผิวพระผงปูนดิบนั่นเอง

แต่ถ้ามีแต่ปูนดิบมากๆ ผิวพระก็จะไม่ออกนวล ดูแข็งกระด้างๆ แต่ยังต้องมีลักษณะของเนื้อหินอ่อนอยู่

โดยเหตุนี้ผมจึงพยายามหาเหตุผลของการเกิดผิวที่แตกต่างกันของ "ปูนดิบ" และ "ปูนสุก" ว่ามีหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร

พระสมเด็จเนื้อปูนดิบ

ที่ผมพอจะเชื่อมโยงการตกตะกอนของปูนสองชนิดคือ หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) ที่น่าจะเป็นสารประกอบในระบบปูนดิบ ที่ยังไม่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ทำให้ยังเป็นโมเลกุลของแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่

และ ปูนผงหรือปูนขาว (แคลเซียมออกไซด์ เมื่อแห้ง หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เมื่อมีความชื้น) และเกิดเป็น แคลเซียมไบคาร์บอนเนตเมื่อทำปฏิกริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่น่าจะเป็นสารประกอบในระบบปูนสุก ที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ไล่คาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากโมเลกุลของปูน

โมเลกุลของปูนทั้งสองชนิดนี้จะมีการละลายน้ำที่ต่างกันมาก คือ แคลเซียมคาร์บอเนตจะละลายน้ำได้น้อย

ในขณะที่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และไบคาร์บอเนต จะละลายได้มากกว่า

ดังนั้นการไหลของน้ำปูนออกมาพอกผิวระยะแรกๆจึงเป็น "ผิวนวล" และ "ผงแป้ง" ของแคลเซียมไบคาร์บอเนต ที่ตกตะกอนแบบไม่มีผลึก (Amorphous) แต่ถ้ามีมาก ก็จะคลุมหนาขึ้นเรื่อยๆ มีลักษณะเหมือนผงแป้งคลุมองค์พระทั้งองค์ พระลักษณะนี้เรียกว่า พระเนื้อปูนสุก

พระสมเด็จเนื้อปูนผสม

ดังนั้น ผิวพระเนื้อปูนสุกจะไม่แน่นแข็ง เกิดรอยขีดข่วนและสึกกร่อนได้โดยง่าย

ในขณะที่แคลเซียมคาร์บอเนตที่ละลายน้ำได้น้อยกว่าจะค่อยๆละลายออกมาพอกผิวองค์พระทีละน้อยๆๆ แต่จะแข็งแน่นแกร่ง ผิวเรียบมัน สะท้อนแสงแบบผิวแก้ว หรือผิวกระเบื้องเคลือบ เกิดลักษณะที่เรียกว่า พระเนื้อปูนดิบ

พระสมเด็จเนื้อปูนสุก

แต่ในความเป็นจริงก็มีเนื้อผสมกันในสุดส่วนต่างๆ ตั้งแต่แก่ปูนดิบ ปูนผสม จนถึงแก่ปูนสุก

นอกจากนี้ก็ยังมีมวลสารที่ทั้งละลายน้ำได้และน้ำมันเข้ามาเป็นตัวแปรของการตกตะกอน

ทำให้เกิดสี ความแข็ง ชั้นที่ผิวพระ ความเรียบมัน และการตกตะกอนที่แตกต่างกัน

ทำให้ไม่มีพระองค์ใดที่เหมือนกัน 100% แต่ละองค์มีเอกลักษณ์ของตัวเอง

ทั้งผิว สี ความแกร่ง ความมัน และพิมพ์ทรงที่แตกต่างด้วยการงอกของปูนที่ต่างกัน

เมื่อผมได้ประเด็นหลักการดังนี้แล้ว ผมจึงคิดว่าความรู้นี้น่าจะพัฒนามาจากข้อสังเกตของการเกิดหินปูนงอกออกมาจากปูนที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนต่ำ หรือปูนดิบบดละเอียดก็เป็นไปได้

พัฒนาจากข้อสังเกตสืบมา จนเป็นภูมิปัญญาของการทำให้ผงปูนเผาเป็นพระเนื้อปูนแกร่งอยู่ได้เป็นร้อยๆปี

น่าทึ่งจริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 490502เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 01:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเปิดดูรูปไม่ได้ ใครช่วยผมที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท