Japan ‘ The prosperous Cultural Country ’ ตอนที่ 7 : พิธีชงชา และ 歌舞伎(Kabuki) ลิเกญี่ปุ่น


ผู้เขียนขอเปรียบเทียบการแสดง 歌舞伎(Kabuki) ว่าคล้ายกับการเล่นลิเกของไทยนั่นเอง แต่ลิเกของไทยจะสวมใส่อาภรณ์และเครื่องประดับที่แพรวพราวอลังการ ใช้เครื่องดนตรีประกอบหลายชิ้น เสียงร้องจะไพเราะเสนาะโสต และดำเนินเรื่องค่อนข้างฉับไว ส่วนลิเกของญี่ปุ่นเน้นศิลปะแห่งลีลา-ท่วงท่า-ทำนองของการเคลื่อนไหว

ประเพณีชงชาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงจิตใจอันละเมียดละไม-อ่อนโยน  ผ่านกิริยาและมารยาทอันงดงาม  ซึ่งเจ้าของบ้านได้แสดงออกถึงการต้อนรับผู้มาเยือนอย่างให้เกียรติ   น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางโครงการฯ จึงจัดกิจกรรมนี้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ศึกษาเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมฯนี้ (ศึกษาพิธีชงชาที่นี่)

   


                                        สาธิตการชงชา-ดื่มชา พร้อมกับการรับประทานขนมญี่ปุ่น             

  

                                      นำชาเขียวข้น  รสชาติดี มาเสริ์ฟ ด้วยกิริยาอ่อนน้อม-น่ารัก

    


                                       ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ร่วมกิจกรรมสาธิตการชงชาฯ

 

กิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนี้คือการชม   歌舞伎(Kabuki) ลิเกญี่ปุ่นนั่นเอง
  
                                
                           
                            

                                                               ภาพโฆษณาทางเวปไซต์

ก่อนเดินทางไปชม  มีการศึกษาประวัติศาสตร์ของการแสดง 歌舞伎(Kabuki) กันค่อนข้างละเอียด  รวมทั้งประวัติของนักแสดงและเรื่องราวที่จะไปชม  แต่เว้นวรรคเหตุการณ์ตอนจบไว้ให้ไปหาคำตอบจากการแสดงเอง .... โชคดีที่ปล่อยปัญหาค้างคาใจไว้แค่วันเดียว  ….มิเช่นนั้นคงอึดอัดน่าดู

 
  

ศึกษาตั้งแต่ประวัติ- เครื่องแต่งกาย -  การสะท้อนพฤติกรรบางอย่างของสังคมสมัยใหม่ที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ





                                            นักแสดงปัจจุบันที่สืบสานการแสดง歌舞伎(Kabuki) 

รายการโทรทัศน์หลายสถานีดำเนินการส่งเสริมการแสดง  歌舞伎(Kabuki) กันอย่างเต็มที่   นำข่าวในวันแถลงฯ มาถ่ายทอดให้ชม  และส่งคนไปทำข่าวแบบเจาะลึกเรื่องราวของผู้กำกับ-นักแสดง ช่วยเพิ่มกระแสให้มีการตื่นตัวไปชมกันอย่างคึกคัก    ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  ที่หลายฝ่ายฯ ช่วยกันสืบสานมรดกการแสดง歌舞伎(Kabuki)  ไว้ให้อยู่คู่สังคมต่อไป ( ศึกษาประวัติของการแสดง 歌舞伎(Kabuki) ได้ที่นี่)


 

                                                ภาพจากการสกู๊ปข่าวทางโทรทัศน์ ฯ  

  
     

สถานที่เปิดการแสดงเดิมอันใหญ่โตโอ่โถงอยู่ระหว่างการซ่อมแซม  จึงได้มาชมกันที่โรงละครเล็กแห่งนี้

 
                     
                     อาจารย์ Watanabe อธิบายเส้นทางอย่างละเอียด /นักเรียนมาชมการแสดงฯ 
    
    
  

                           หน้าอาคารโรงแสดง  Kabuki / รูปปั้นจัดวางไว้ด้านใน / ภายในอาคาร

ช่วง 30 นาทีแรกของการเปิดหน้าม่าน  อธิบายประวัติและฉายวิดีทัศน์การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นแรก-รุ่นปัจจุบันให้ชม แนะนำนักนักแสดงบางกลุ่มนักดนตรี เครื่องดนตรี เวทีที่ยกขึ้น-ยกลงและปรับหมุนได้  รวมทั้งสาธิตการร่ายรำและการเปล่งเสียงร้อง ให้ฟังด้วยเพราะเวลาแสดงจะมีผู้ร้องประกอบไปด้วย 
   

                                             ปักลวดลายลงบนพื้นผ้าม่านอย่างงดงาม
 


                                           ผ้าม่านคลุมเวทีผืนใหญ่กว้างขวาง- สะท้อนแสงไฟดูงามตา

ต่อจากนั้นจะเป็นการพักเบรค 20 นาที   และได้ชมการแสดงจริงประมาณหนึ่งชั่วโมง  เต็มตื้นกับการแสดงที่สื่อได้อย่างประทับใจ  ทั้งฉาก-เทคนิค เครื่องแต่งกายที่เน้นความเป็นธรรมชาติเสมือนจริง   

     



                                                  รูปปั้นตัวละครที่ปั้นได้เหมือนนักแสดงจริง

 
ผู้เขียนขอเปรียบเทียบ  การแสดง 歌舞伎(Kabuki)  ว่าคล้ายกับการเล่นลิเกของไทยนั่นเอง   แต่ลิเกของไทยจะสวมใส่อาภรณ์และเครื่องประดับที่แพรวพราวอลังการ   ใช้เครื่องดนตรีประกอบหลายชิ้น   เสียงร้องจะไพเราะเสนาะโสต   และดำเนินเรื่องค่อนข้างฉับไว  ส่วนลิเกของญี่ปุ่นเน้นศิลปะแห่งลีลา-ท่วงท่า-ทำนองของการเคลื่อนไหวเป็นหลัก  แต่งหน้าอย่างเข้ม  ใช้นักแสดงชายล้วนสืบเนื่องมาจากพื้นฐานความคิดในข้อจำกัดด้านการแสดงออกของสตรีเพศ   " ...ต้องชมอย่างตั้งใจถึงจะสัมผัสได้ถึงศาสตร์แห่งศิลป์นั้น... "
   


                     
   
                                                    ภาพโฆษณาเรื่องที่ไปชมจากแผ่นพับ


เชิญชมตัวอย่างการแสดง KABUKI  

 
   

                
สิ่งที่ชื่นชอบ :  จังหวะ-ท่าทางการเคลื่อนไหวของนักแสดงที่สามารถสื่อความหมายได้ดีมาก   การแสดงออกถึงอารมณ์ที่ให้ความรู้สึกรับรู้ร่วมไปด้วย และฉากการแสดงที่ดูเป็นธรรมชาติ         

               

                        ***… ขอบคุณมากค่ะ(どうも ありがとうございます= Domo Arigatou gozai masu)…***

หมายเลขบันทึก: 490499เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท