"อยากปฏิบัติธรรมต้องทำไง" ... (สงสัยมั้ย? ธรรมะ ฉบับ รู้ทันทุกข์)


หนังสือ ชุด "สงสัยมั้ย? ธรรมะ" เป็นหนังสือเล่มโปรดที่สามารถตอบปัญหาธรรมะอย่างง่าย ๆ ในรูปการ์ตูน โดยใช้ตัวละครนำเรื่องก็คือ

 

"ขอบฟ้า" หนุ่มน้อยผู้ช่างสงสัย แต่ใฝ่ใจในธรรมะ

 

 

และ "หลวงพ่อ" ผู้ซึ่งตอบปัญหาธรรมะได้อย่างลึกซึ้ง และแทงใจเป็นที่สุด

 

 

ในเล่มแรก "ขอบฟ้า" จะสงสัยเรื่อง "การทำบุญ" ที่จะทำเพื่อละ หรือ เพื่อโลภ กันแน่ และ "ขอบฟ้า" ก็ได้คำตอบจากหลวงพ่อว่า ...

 

"การทำบุญที่แท้จริง เป็นการทำเพื่อละความยึดมั่นถือมั่น ความโลภ โกรธ หลง ที่เรามีต่อทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ที่หลงคิดว่าเป็นของเรา เพราะเมื่อเราต้องตายไป เราก็ไม่อาจเอาอะไรไปด้วยได้เลย จะได้ไม่ต้องยึดติดกับสิ่งเหล่านั้นเกินไป จนต้องเป็นทุกข์ ...

การทำบุญจึงถือเป็นการกระทำ เพื่อช่วยละกิเลสของเราให้เบาบางลง...สามารถทำได้ง่ายไม่ต้องลงทุนอะไรเลยก็ได้

ด้วยการทำในใจของตัวเราเอง แต่การทำบุญตามความเคยชินในสังคม กลับกลายเป็นการกระทำที่ยิ่งเพิ่มความโลภ ความอยากได้ในผลแห่งบุญนั้น ๆ ..."

 

 

พอเล่มสองนี้ "ขอบฟ้า" สงสัยเรื่อง "การปฏิบัติธรรม"


"ขอบฟ้า" มีเพื่อนชื่อ "เย็น" คุณ "เย็น" นี้ใคร ๆ เรียกว่า "มหาเย็น" เพราะชอบสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น วัดไหนใครว่าดีใครว่าดัง เย็นเป็นต้องไปมาจนหมดแทบทุกวัด เครื่องรางเหรียญพระก็เก็บสะสม งานอดิเรก คือ อ่านหนังสือธรรมะและไปนั่งสมาธิตามสถานที่ปฏิบัติธรรมชื่อดังต่าง ๆ

"ขอบฟ้า" สนใจในการปฏิบัติธรรมมาก จึงขอให้เย็นช่วยให้คำแนะนำและพาในที่ต่าง ๆ ที่ว่าดี ๆ ดัง

แ่ต่ยิ่งปฏิบัติ "ขอบฟ้า" ก็เริ่มงงและสงสัย

 

เราควรจะสวดมนต์บทไหนบ้าง...?

เราควรจะนั่งสมาธิแบบใด...?

เราควรเดินจงกรมอย่างไร...?

แล้วเราควรจะปฏิบัติธรรมตามแบบไหนดี...?

 

ว่าแล้ว "ขอบฟ้า" จึงไปถาม "หลวงพ่อ" ณ สวนป่าพุทธธรรม

 

ขอบฟ้า : "หลวงพ่อครับ ผมมีความสงสัยในการปฏิบัติธรรม อยากให้หลวงพ่อช่วยแนะนำหน่อยนะครับ"

หลวงพ่อ : "ก่อนที่เธอจะถามอาตมาและแสวงหาคำตอบจากภายนอกตัวเธอเอง เธอเคยเอาสิ่งที่เธอสงสัยกลับเข้าไปถามภายในใจของเธอเองเหรอยัง"

ขอบฟ้า : ???

ขอบฟ้า : "ผมคิดว่า ความสงสัยของผมเกิดจากการที่ผมยังไม่รู้และไม่เ้ข้าใจธรรมะครับ"

หลวงพ่อ : "นั่นถือเป็นคำตอบที่ยังหลงภายใต้วังวนแห่งตัวตนที่เธอสร้างขึ้นเอง แล้วเธออยากรู้อยากเข้าใจสิ่งใดในธรรมะละ"

ขอบฟ้า : "เอ่อ...ผมรู้สึกว่าหลักธรรมและแนวทางการปฏิบัติของศาสนาพุทธมีมากมายจนเกิดความสงสัยในการปฏิบัติธรรมขึ้นนะครับ"

หลวงพ่อ : ...

ขอบฟ้า : "ผมอยากรู้ว่า เราควรจะสวดมนต์บทไหนบ้าง...?

เราควรจะนั่งสมาธิแบบใด...?

เราควรเดินจงกรมอย่างไร...?

แล้วเราควรจะปฏิบัติธรรมตามแบบไหนดี...?

หลวงพ่อ : "เธอกำลังปฏิบัติธรรมเพื่อละความหลง หรือว่าเธอกำลังหลงไปกับการปฏิับัติธรรม...??

หลวงพ่อ : "ความสงสัยของเธอ มันเกิดมาจากความคิด ความคิดที่เกิดจากความอยากในความรู้ อยากรู้ในสิ่งต่าง ๆ นอกตัวเอง แล้วจะได้หลงคิดกันต่อไปว่าเป็นผู้ที่รู้มาก แต่ความรู้ที่อยู่นอกตัวเองนั้น เป็นเพียงความรู้ชั่วคราวที่ใช้สนองตัณหาของตัวเธอเอง สนองความอยากได้ ความอยากมี และความอยากเป็น

ส่วนความรู้ในหลักธรรมที่แท้จริงนั้น เรามีสมบูรณ์กันอยู่แล้วภายในใจของเราเอง เพียงแค่เธอไม่เข้าใจก็เลยมองไม่เห็น จากนั้นก็เที่ยวแสวงหาหลักธรรมจากภายนอกตัวเองกันต่อไป แล้วก็หาไม่เคยเจอ

ลองกลับไปถามตัวเองดูด้วยสติที่อยู่เหนือความเคยชินและแบบแผนที่เธอเรียนรู้มาจากสังคมเถิด... อย่าให้ความคิดของเธอถูกครอบงำไปด้วยความเคยชิน และความเชื่อเดิม ๆ จากสังคมที่เชื่อและทำตาม ๆ กันมา ..."

 

 

จริง ๆ แล้ว "ธรรมะ อยู่ในใจของเราเอง" ใช่หรือไม่ ครับ ;)...

 

"เธอกำลังปฏิบัติธรรมเพื่อละความหลง หรือว่าเธอกำลังหลงไปกับการปฏิับัติธรรม...??

 

เป็นคำตอบที่ค้นหามานานด้วยความสงสัยส่วนตัวครับ

 

เห็นคนมีทุกข์ไปปฏิบัติธรรม

เห็นคนชื่นชมปฏิบัติธรรมในที่ ๆ เค้าว่าดี อย่างที่ "เย็น" เป็น

 

มนุษย์เราถูกครอบงำจากเปลือกที่เราสร้างขึ้น และเชื่อเช่นนั้น

มนุษย์เราติดดี เพื่ออยากให้ความดีทำให้เราขึ้นสวรรค์

มนุษย์เรากำลัง "ติดดี" เรา "ดี" จึงมีแต่คนชื่นชม

 

เราไม่ได้แก้ไขความทุกข์ที่อยู่ในใจของเราจริง

เราไม่ได้ปล่อยวางอย่างที่ควรจะเป็นจริง

 

ใช่หรือไม่หนอ

มันเป็นเช่นนั้นเองหนอ

 

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

 

........................................................................................................

ขอบคุณธรรมทานจากหนังสือ ...

ชัยพัตน์ ทองคำบรรจง.  สงสัยมั้ย? ธรรมะ ฉบับ รู้ทันทุกข์.  กรุงเทพฯ : A Thing, ๒๕๕๕.

 

หมายเลขบันทึก: 489996เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณค่ะที่แบ่งปัน ท่าจะต้องหามาอ่านเพิ่มจะได้ ไม่ต้องวิ่งตามทุกข์ เพราะเราจะได้รูเท่าทันทุกข์

อ๋อ !........ลืมขอบคุณ อาจารย์ อีกอย่าง ที่กล้าถาม นน.ชลัญแบบออกอากาศ ทำให้ รู้สึกว่า ความกังวลเรื่องน้ำหนัก ตัวเองมันเป็นความทุกข์อีกอย่างนั้น มันเริ่มสนุก เพราะมันเป็นอะไรที่คนอื่นเขาสนใจด้วยเหรอ ว๊าว....ต้องหันมาสนใจน้ำหนักตัวเองแล้ว

ชอบอ่านหนังสือค่ะ สงสัยต้องตามหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านบ้างแล้ว

ขอบคุณค่ะ ขอบคุณสำหรับหนังสือดีี

 

ปฏิบัติที่ใจ

จะทำบ่อย ๆ เท่าที่สามารถ ขอบคุณนะคะ

ตามหาไม่ยากแน่นอนครับ Blank kunrapee ;)...

ขอบคุณมากครับ

อยู่ที่ "ใจ" ใช่ "ใบหน้า" ใช่ไหมครับ ;)...

ขอบคุึณมากครับ คุณหมอ Blank ทพญ.ธิรัมภา ;)...

สำหรับน้ำหนักตัวนี่ เป็นอะไรที่ "สงสัย" น่ะครับ จึงถามไปตรง ๆ เช่นนั้น ;)...

ขอบคุณครับ

ได้คำตอบแล้วคงหายสงสัย ดีค่ะ การที่มีอะไรคาใจนี่มันอัดอัด ยินดีมากค่ะที่ทำให้อาจารย์หายสงสัย 55555555

  • ขอบคุณสำหรับธรรมทานค่ะ ตื่นขึ้นมาทันทีเลยค่ะ
  • สงสัยก็รู้ ครูอยู่ภายในตัวเรานั่นเองค่ะ

ยินดีครับ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Blank Sila Phu-Chaya ;)...

เธอกำลังปฏิบัติธรรมเพื่อละความหลง หรือว่าเธอกำลังหลงไปกับการปฏิบัติธรรม...??

เป็นคำถามสำคัญที่เรามักไม่ค่อยได้ฉุกคิดนะคะ

พี่เพิ่งอ่านหนังสือ "นี่หรือเมืองพุทธ" ของ ณัฐพบธรรม ก็เป็นอีกเล่มที่ตั้งคำถามสำคัญกับชาวพุทธที่กำลังวนอยู่กับความเชื่อ พิธีกรรม เครื่องรางของขลัง มีคำชี้แนะให้ออกจากความหลงได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจมากค่ะ

"หลงไปกับการปฏิบัติธรรม" ย้ำเตือนบางสิ่งที่ได้เห็นในสังคมปัจจุบันจริง ๆ ครับ พี่นุช Blank ยุวนุช ;)...

ขอบคุณมากครับพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท