บัตรอัจฉริยะที่สุดในโลกคือบัตรประชาชนของไทยที่อยากได้ ตอนบัตรซุยก้า


แต่ไม่ต้องกลัวการฉกชิงวิ่งราวนะคะ รับรองว่า ในญี่ปุ่นไม่มีเรื่องแบบนี้

บัตรซุยก้า

 

 

มาต่อกันนะคะ เมื่อแรกเดินทางไปญี่ปุ่นเมื่อปี คศ.2009

วันแรกที่ไปถึง คุณคาตายามะซังเลขาของเซ็นเซ เป็นผู้มารับที่นาริตะ สนามบินเลื่องชื่อของญี่ปุ่น เมื่อพบปะและเจรจา โอไฮโอโกซัยมัตสึกันเสร็จ คุณคาตายามะก็พาซื้อบัตรซุยก้าเป็นอันดับแรก โดยคุณพี่ใส่เงินท็อปอัพเข้าไปมากกว่าค่ารถที่จะใช้เดินทางอีกสามพันเยน พร้อมทั้งบอกเล่าให้เข้าใจว่า บัตรนี้เอาไว้เซฟเงิน เป็นที่เก็บเงินก็ได้ ในตอนนั้นเพิ่งเหยียบดินแดนอาทิตย์อุทัยเป็นครั้งแรก ยังไม่เข้าใจ ได้แต่อือ ๆ ออ ๆ ไปก่อน

จนเมื่ออยู่อาศัยดูงาน ฝึกงาน เรียนรู้งานไปแล้วหนึ่งสัปดาห์ เข้าสัปดาห์ที่สองคุณคาตายามะจะให้เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเอง จึงได้โอกาสศึกษาเรื่องบัตรซุยก้านี้ พร้อมทั้งศึกษาเรื่องการเดินทางโดยรถไฟฟ้าของญี่ปุ่น

จึงมาทราบว่า นอกจากบัตรนี้ ใช้แปะตรงที่ตรวจเก็บเงินตรงทางเข้าและออกของสถานี  โดยบัตรจะถูกหักเงินออกตามระยะที่เราเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจริง ไม่มีผิดพลาดแล้ว ยังมีบัตรซุยก้าชนิดพิเศษเช่นสำหรับนักเดินทางท่องเที่ยว เป็นบัตรใช้ร่วมกับสายรถพิเศษบางอย่าง เช่นใช้นั่ง NEX (นาริตะเอ็กเพรส) หรือนั่งรถขบวนท่องเที่ยวสถานพิเศษเช่นสายภูเขาไฟฟูจี

บัตรต่าง ๆ เหล่านี้หาซื้อได้ ณ จุดที่มีตู้ขายหรือบริเวณศูนย์ซื้อขายตั๋วรถไฟตามสถานีรถไฟฟ้า โดยเวลาซื้อต้องมีพาสปอร์ตกำกับค่ะ ค่าเดินทางแบบนี้จะถูกเป็นพิเศษค่ะ

นอกเหนือไปจากค่ารถไฟฟ้า เรายังสามารถใช้บัตรนี้ซื้อสินค้าบางอย่างเช่น น้ำดื่ม กาแฟ ขนมนมเนย อาหารรองท้องหรืออาหารกล่องตามร้านค้าแถว ๆ สถานีรถไฟได้

ร้านค้าในห้างที่มีป้ายต้อนรับบัตรซุยก้า เราก็สามารถจ่ายเงินค่าสินค้าได้ สะดวกและปลอดภัย ไม่ต้องพกพาเงินสดติดตัวเวลาเดินทางมากนัก ไม่ต้องเสี่ยงต่อการทำเงินหล่น หาย

แต่ไม่ต้องกลัวการฉกชิงวิ่งราวนะคะ รับรองว่า ในญี่ปุ่นไม่มีเรื่องแบบนี้ 

พูดถึงตรงนี้ก็นึกถึงเรื่องที่น้องคนไทยที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นสิบกว่าปีมาแล้ว เธอเล่าให้ฟังว่า คนญี่ปุ่นคนหนึ่งเก็บเงินจำนวนมหาศาลได้ที่สถานีรถไฟฟ้า ถ้าจะนำไปใช้ก็ไม่น่าจะมีใครรู้ เพราะกระเป๋าเงินนั้นเต็มไปด้วยเงินสด น่าจะเป็นของคนสูงอายุชาวญี่ปุ่นซึ่งมักจะพกเงินสดเวลาไปไหนเพื่อใช้จ่าย แต่คนที่เก็บได้รีบนำไปส่งที่สถานีตำรวจ เนื่องจากเขาได้รับการสอน อบรมกันมาจนเป็น สามัญสำนึก ว่า ไม่เก็บไม่ใช้เงินหรือสิ่งของที่ไม่ใช่ของตัวเอง

เรื่องนี้โด่งดังมากในสมัยนั้น เพราะปรากฏว่าตำรวจตามหาเจ้าของเงินไม่ได้ จนเวลาผ่านไปเป็นปี ๆ ทางการและคณะกรรมการจึงตัดสินกันว่า ควรมอบเงินนี้ให้ผู้ที่เก็บได้ แต่ข่าวบอกว่า ผู้ที่เก็บเงินได้ปฎิเสธและให้รอเจ้าของอีกระยะหนึ่ง ล่วงไปอีกเป็นปี คนดีคนนี้จึงยอมรับเงินไปใช้

ลองคิดว่าเรื่องเกิดในเมืองไทยสิคะ

 

 

 

 

คราวหน้าเรามาว่ากันถึงบัตรอ็อยสเตอร์บ้าง

เป็นบัตรไอคิวสูง น่าสนใจมากเลยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 489656เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 04:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

ชื่นชมคนญี่ปุ่นเป็นพิเศษในเรื่องระเบียบวินัยและคนรักชาติค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ค่ะ  :)

ขอบคุณข้อมูลเชิงลึกค่ะ

พี่หมอเล็กอยู่ที่อังกฤษอยู่หรือเปล่า สบายดีนะค่ะ :)

อยากฟังเรื่องบัตร ออยสเตอร์ต่อด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท