ตำหนิบนองค์พระ เป็นการเจตนา หรือความบังเอิญ


พระกรุแต่ละกลุ่มจะมีเส้นลวดลายละเอียดมากเหมือนๆกัน ที่ไม่น่าจะเป็นความบังเอิญได้

จากการศึกษาพระเนื้อดินผิวแกร่ง ที่เป็นทั้งดินเผาสุกแบบพระรอด และดินดิบ(หรือ ไม่สุก) แบบพระผงสุพรรณ

ผมได้มีข้อสงสัยเป็นอย่างมากๆเลยว่า เส้นลวดลายบนผิวพระที่ละเอียดมากๆ ขนาดเล็กกว่า 0.5 มม. 

เช่น เนื้อเกิน เส้นลวดลายเล็กๆ และเส้นน้ำตกบนผิวพระ

จะปรากฎอยู่ในพระทุกองค์ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งๆที่โดยภาพรวมนั้น น่าจะมาจากคนละแม่พิมพ์

สำหรับพระเนื้อไม่แกร่งนั้น เส้นลวดลายจะหายไปหมด ไม่ปรากฎบนผิวพระ

ตอนแรกผมก็ไม่สงสัยมาก คาดว่าจะมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน

แต่พอมีพระหลายองค์ที่รูปลักษณ์ต่างๆกัน และพยายามดูๆไปเพื่อศึกษาลักษณะต่างๆ ให้มากกว่าที่ตำราเขียนไว้

  • ก็พบอยูในพระทุกองค์ในกลุ่มเดียวกัน เช่น หน้าแก่ ก็จะมีลวดลายเหมือนกันหมด
  • ไม่ว่าจะเป็นหน้าแก่แบบไหน ที่น่าจะมาจากคนละแม่พิมพ์กัน (โดยสังเกตจากลักษณะสำคัญ เช่น พระพักตร์ ฯลฯ)

จึงค่อนข้างประหลาดใจมากๆ ว่าลักษณะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

พระกรุแต่ละกลุ่มพิมพ์ จะมีเส้นลวดลายละเอียดมากเหมือนๆกัน ที่ไม่น่าจะเป็นความบังเอิญได้

  • เหตุที่จะเป็นไปได้อีกประการหนึ่งก็คือ การกดพิมพ์แต่ละครั้ง ทำให้ได้รูปพระพักตร์ไม่เหมือนกัน
  • ที่น่าจะเป็นไปได้น้อยมาก

ดังนั้น

จะเป็นไปได้ไหมว่า เป็นเจตนาของช่างแกะแม่พิมพ์ที่จะสร้างร่องรอยไว้บนผิวพระ คล้ายๆเป็นสัญญลักษณ์ประจำตัว หรือลายมือตัวแทนของตัวเองไว้

แต่ข้อนี้ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้อีกเช่นกัน เพราะเส้นสาย จุดตำหนิต่างๆ มีรูปลักษณ์เฉพาะ และมีรายละเอียดมากเกินกว่าจะทำได้เหมือนกันทุกครั้ง

ความเป็นไปได้อีกทางหนึ่งก็คือ

  • การทำเส้นลวดลายพื้นฐานไว้บนผิวพระ
  • ที่น่าจะบังเอิญ เพราะเป็นร่องรอยที่ละเอียดมาก
  • แล้วนำแมพิมพ์นั้นมาเป็นต้นแบบของพระพิมพ์นั้นๆ ให้ได้หลายแม่พิมพ์ (บล็อก) ในกลุ่มเดียวกัน
  • เพื่อสร้างพระจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว
  • เพราะไม่น่าจะมีแค่แม่พิมพ์เดียว ที่ต้องจะรอหรือใช้เวลานานมากเกินไป
  • และการทำแม่พิมพ์ใหม่ พิมพ์พระจะเพี้ยนไปบ้าง แต่เส้นน้ำตก และรายละเอียดต่างๆ บนผิวน่าจะยังปรากฎอยู่บนผิวพระ

เช่น

ผงสุพรรณหน้าแก่ทั้งหมด ก็จะเริ่มจากแม่พิมพ์เดียวกัน หรือ

พระรอดพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดก็จะมาจากแม่พิมพ์เดิมเดียวกัน

ถ้าเป็นในแนวทางนี้ก็น่าจะเป็นความบังเอิญที่ใช้ต้นแบบเดียวกัน

ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด

ใครคิดว่าอย่างไรครับ

ลักษณะคลื่นและเส้นลวดลายมาตรฐานในซอกมุมต่างๆของพระผงสุพรรณหน้าแก่

ลักษณะซุ้มโพธิ์และเส้นสายรายละเอียด ที่เป็นเอกลักษณ์ของพระรอดพิมพ์เล็ก

ลักษณะซุ้มโพธิ์ และเส้นสาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่

 

 

หมายเลขบันทึก: 489064เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท