รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

Continuous Glucose Monitoring:What Guideline Said?


glucose monitoring

Continuous Glucose Monitoring:What Guideline Said?

ข้อมูลพื้นฐาน

                ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ใกล้เคียงกับค่าปกติให้มากที่สุด เพื่อจะช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบมากในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวดเพื่อให้ได้ระดับน้ำตาลในเลือดตามเป้าหมายการรักษา คือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนบางครั้งผู้ป่วยอาจหมดสติ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องจะช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้

                Continuous glucose monitoring (CGM) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการใช้ sensor ที่ติดไว้ที่ชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) ซึ่งจะทำการวัดระดับน้ำตาลและส่งค่าที่อ่านได้ไปยังเครื่องรับ โดยการส่งค่าที่อ่านได้อาจส่งผ่านสายเล็ก ๆ หรือแบบไม่ใช้สาย (wireless) เครื่องรับจะทำการเฉลี่ยค่าระดับน้ำตาลที่วัดได้และบันทึกเป็นค่าระดับน้ำตาลในเลือดให้ การวัดแบบนี้จะสามารถทำได้มากกว่าการใช้การเจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้ว กล่าวคือ ทำให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าระดับน้ำตาลในเลือดตลอดเวลาที่ใช้ ส่วนการรายงานผลนั้นทำได้หลายวิธี ได้แก่ การนำเครื่องมาโอนถ่ายข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ หรือแสดงให้ผู้ป่วยเห็นที่จอของเครื่อง ซึ่งเรียกว่า real time continuous glucose monitoring system (RT-CGM) ทั้งนี้ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าระดับน้ำตาลที่วัดได้นั้นเป็น interstitial glucose (ไม่ใช้ blood glucose) โดยปกติแล้ว blood glucose จะใช้เวลาซึมผ่านเข้าไปยัง interstitium เกิดเป็น interstitial glucose โดยอาจใช้เวลานานถึง 20 นาทีที่จะทำให้ค่าทั้งสองเท่ากัน อนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการวัดแบบ point of care ของการวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (self-monitoring blood glucose,SMBG) การวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธี CGM นั้นสามารถตรวจพบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ในระหว่างช่วงของการวัดแบบ SMBG จึงทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น

ข้อเสนอแนะในแนวปฏิบัติทางคลินิกฉบับปัจจุบัน

                จากแนวทางการรักษาของ The Endocrine Society ได้แนะนำไว้ดังนี้

                RT-CGM ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล : ไม่ควรใช้เดี่ยว ๆ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่อยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตหรือไม่ ควรใช้ในห้องผ่าตัด จนกว่าจะมีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนว่ามีประโยชน์และมีความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว

                RT-CGM ในผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่ : แนะนำให้ใช้ RT-CGM (เครื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียน) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C < 7%) จุดประสงค์ของการใช้ RT-CGM คือ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 mg/dL) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่สนับสนุนการใช้ RT-CGM ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 8 ปี

                RT-CGM ในผู้ป่วยนอก : สามารถใช้ RT-CGM ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีความสามารถที่จะใช้เครื่องมือนี้ได้

                ประโยชน์และการนำไปใช้ในประเทศไทย

                หลักฐานทางวิชาการสนับสนุนการใช้ CGM ในผู้ป่วยที่แพทย์มีความกังวลต่อภาวะ nocturnal hypoglycemia, dawn phenomenon, postprandial hyperglycemia, hypoglycemic unawareness อย่างไรก็ตาม การใช้ CGM นั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในประเทศไทย ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยทั้งในเรื่องของราคา และความสะดวกของผู้ป่วย

หมายเลขบันทึก: 488366เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 Continuous glucose monitoring (CGM) .... ดีมากสมกับคำ ว่า...Continuous จริงๆๆ ค่ะ.... แต่

ราคาแพงไหม?

ราคาเท่าไหร?...

ชาวบ้าน...ที่หา...กินค่ำ....ชื่อได้ไหม?....

ในยุค...บริการฟรีทุกอย่าง...โรคDM...เต็มบ้านเมืองไปหมดนะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท