ข้อรำพึงเนื่องในวันพืชมงคล ๒๕๕๕


วัฒนธรรมของประเทศไทยาเรานั้นสมัยก่อนเป็นวัฒนธรรมที่”เกาะต้นไม้กิน” เวลาชาวบ้านเดินมาเจอกันมักถามกันว่า “ข้าวออกรวงหรือยัง” ...”ขนุนหลังบ้านออกลูกหรือยัง”

หมายเหตุ...บทความนี้มีคิวลง ผจก.ออนไลน์  วันจันทร์หน้านี้...ส่งมาให้ gtk edit และเม้นท์กันก่อนเลยนะเนี่ย................

วันพืชมงคลแห่งพศ. ๒๕๕๕ เพิ่งผ่านไปหยกๆ  เป็นวันหยุดราชการที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รับรู้ความสำคัญมากที่สุดก็ว่าได้  ทั้งที่เป็นวันที่มีสัญลักษณ์สำคัญที่สุด  เพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของชาติไทยมากที่สุด

 

หลวงพ่อบุญเลื่อน  แห่งวัดป่านางเหริญ (อ.ปักธงชัย จ. นครราชสีมา)  ที่ผมเคยไปขอนิสสัยบวชเป็นลูกศิษย์อยู่ด้วยเป็นเวลาสามเดือนเมื่อพศ. ๒๕๔๑  ได้สนทนาแลกเปลี่ยนกับผมหลากหลายเรื่อง ส่วนใหญ่เรื่องจิตวิญญาณ  แต่เรื่องบ้านๆ ก็พอคุยกันอยู่   

 

ตอนหนึ่ง..ท่านกล่าวว่า วัฒนธรรมของประเทศไทยาเรานั้นสมัยก่อนเป็นวัฒนธรรมที่”เกาะต้นไม้กิน” เวลาชาวบ้านเดินมาเจอกันมักถามกันว่า “ข้าวออกรวงหรือยัง” ...”ขนุนหลังบ้านออกลูกหรือยัง” ...”เอามะม่วงมาฝาก..ปีนี้มันออกลูกมาก”     ___แต่วันนี้มันเปลี่ยนไปมากเพราะชาวบ้าน “เกาะเงินกิน”  เวลาชาวบ้านเจอกันมักถามกันว่า  “ปีนี้ขายข้าวได้เงินเท่าไหร่ล่ะ” ....  “ลูกชายที่ไปทำงานกรุงเทพได้เงินเดือนเท่าไหร่แล้ว”     “ลูกสาวส่งเงินมาให้เท่าไหร่ล่ะปีนี้”  

 

 

ก็คงเป็นสัจธรรม (หรือสัตว์จะทำ ก็ไม่ทราบ)  ที่มันคงต้องเป็น “เช่นนั้นเอง” ตามวิบัติอาการของสังคม

 

 

 

เงินนั้น ถ้าใช้ให้ดีๆ  หาใช่สิ่งที่เลวร้าย เพราะมันช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก แต่ถ้าเราไปเทิดทูนมันมากเกินพอดี ไปบูชาว่ามันเป็นของวิเศษ มันก็อาจทำร้ายเราได้ในด้านความยึดติดของจิตใจ ที่ทั้งที่เงินเหล่านี้กินไม่ได้เหมือนพืชผล  อีกทั้งก็ไม่พ้นหลักอนิจจัง....วันร้ายคืนเลวมันอาจหมดค่า แม้มีเป็นกองภูเขาก็เอาไปแลกเปลี่ยนอะไรไม่ได้ แม้แต่ข้าวสารสักเมล็ด

 

ผมได้สังเกตเงียบๆมานานแล้วว่าเงินที่ดี เข้มแข็งนั้นต้องมีรากมาจากพืช

 

เช่นในมหาประเทศอย่าง usa นั้น ดูเผินๆ เหมือนว่าเงินเขามาจากอุตสาหกรรมขั้นสมองสูงสุด เช่น จรวด เครื่องบิน คอมพิวเตอร์  แต่ถ้ามองให้ลึกๆ แล้วจะเห็นว่าพวกนี้เป็นเพียงยอดที่เรามองเห็นได้ง่ายเท่านั้นเอง ส่วนฐานรากนั้นมาจาก เกษตรกรรม (พืช) ทั้งโดยตรง (direct)   โดยโอบ (indirect)  และโดยอ้อม (induce)   ซึ่งฐานรากนี้มีจำนวนมากถึง 80%  ทั้งที่เขามีสัดส่วนพลเมืองเป็นเกษตรกรเพียง 1.8% เท่านั้นเอง   (ลองหาอ่านบทความเก่าๆที่ผมได้เขียนวิเคราะห์ไว้แล้วดูนะครับ) 

 

ผมยังได้เขียนบทความศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเดนมาร์กกับสวีเดน (สองประเทศพี่น้องชนเผ่านอร์ดิกเดียวกัน และรวยที่สุดในโลก)     โดยเดนมารก์เน้นที่การเกษตรส่วนสวีเดนเน้นอุตสาหกรรม วันนี้เศรษฐกิจเดนมาร์กดีกว่าสวีเดนประมาณ 20% (ดูจาก gdp ต่อหัว และอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลโครน)  

 

เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ล้วนทำเกษตรกันอย่างหนักทั้งสิ้น (แต่เรามองไม่เห็นกันนัก เพราะ “ดิน” มันกลบตา)   ยังไม่ต้องเอ่ยถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่ทำเกษตรเป็นหลักอย่างเห็นได้ตำตา  ส่งมาขายตีตลาดไทยตามสนธิสัญญาการค้าเสรีอีกต่างหาก (ส่วนไทยส่งอะไหล่เครื่องยนต์ไปขายเขา..นี่แสดงว่า ออสซี่เป็นประเทศเกษตรกรรม ส่วนไทยเราเจริญกว่าเขาจนเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปแล้วใช่ไหม??)

 

 

สำหรับเกาหลีนั้น ก็เหมือนอารยประเทศทั้งหลายที่สร้างชาติมาได้ด้วยการเกษตรก่อน จากนั้นก็อุตสาหกรรม แต่วันนี้เกาหลี ( และไต้หวันด้วย) ต่างฉลาดล้ำพากันตระหนักว่า อุตสาหกรรมมาถึงทางตันแล้ว  พัฒนาต่อไปก็ไม่ได้มากไปกว่านี้อีกเท่าไหร่หรอก    เพราะคนมันก็ขับรถได้กันคนละคัน ใช้คอมพ์กันคนละเครื่อง มือถือกันคนละสองเครื่อง ไม่อาจมากไปได้กว่านั้นได้ ....   แต่เรื่องเกษตรชีวภาพนั้นมันใช้กันได้มากไม่มีสิ้นสุด เช่น อาหารที่แปลกใหม่  ยา สมุนไพร   สารสำอางค์ร้อยแปด   อาหารเสริมสุขภาพ  ดังนั้นประเทศเกาหลีเขากำลังทำการ “ปฏิวัติชีวภาพ” (Biological Revolution) อย่างขมักเขม้น   (ประธานคณะกรรมการการวิจัยเกาหลี เล่าให้ผมฟังแบบตัวต่อตัว) 

 

ส่วนไทยเรายังหลงกระบวนทัศน์ (paradigm) อยู่ ยังตามก้นฝรั่งอยากเป็น Detroit of Asia อยู่ ตามที่ ดร. ทักษิณ บงการไว้ แบบนี้เราโง่หรือฉลาดก็ลองคิดกันดู (เสียดายโอกาส ที่มีนายกฯเป็นดร. ทำไมตกกระบวนทัศน์ได้ปานนี้ ๕ห้า5) 

 

วันนี้บริษัทเกาหลีกระจายฐานด้านชีวเทคโนฯมาทั่วอาเซียนอย่างเงียบๆจนน่ากลัว  มากกว่าญี่ปุ่นก็แล้วกัน ส่วนไทยเรามีรากฐานดีกว่าเกาหลีร้อยเท่า แต่วันนี้ก็ไม่เคยสำเหนียก   ไม่คิดเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร ชีวเทคโนฯ ก็คงตกกบท.อีกตามเคย  (อย่ามาโทษผมนะ เพราะผมได้คิด พูด เขียน เรื่องนี้มา ๒๐ ปี จนมือหงิก  ปากเบี้ยว น้ำลายบูดไปมากแล้ว) 

 

 

การตกกระแสคราวนี้คงไม่ตกชั่วคราวแบบครั้งก่อนๆมา แต่คงตกแบบถาวร แบบกู่ไม่กลับ เพราะพระแม่ธรรมชาติ (mother nature)  ไม่ใช่ว่าจะใจดีให้อภัยลูกโง่ได้ทุกครั้งไปหรอกนะ

 

ส่วนผม...ให้อภัยเสมอสำหรับความเห็นทรามๆต่อท้ายบทความ ที่ไม่เคยให้สมองหรือข้อมูลอะไรเลย นอกจากด่าคนอื่นเล่นแบบล้างแค้นที่เคยแพ้เขามาก่อน  (ใช้นามแฝง..แบบคนขี้ขลาดตามเคย) ...เวรกรรมประเทศไทยเรา ส่วนหนึ่งที่ไม่เจริญเพาะมีคนแบบนี้มาก...สมองไม่คิดแล้วเอาจริตราน้ำ 

 

...คนถางทาง (พีชมงคล+๒) 

หมายเลขบันทึก: 487712เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"มือหงิก ปากเบี้ยว น้ำลายบูด" 

    โห !  อาจารย์ crisis  แล้ว  ไม่ cerebral infaction  ก็  heamorrhage  มาต้องรีบรักษา มาตรวจสุขภาพเลย  ที่ รพ.พิมาย  มีคนไม่ปกติอยู่ 2 คน  คนแรก เป็นพยาบาล ชื่อชลัญธร  ชื่อเล่นโจ้  คนที่ สอง เป็นแพทย์ ชื่อ ชาญศักดิ์  ชื่อเล่น  จืด  สองคนนีเป็นคนบ้า(น) เดียวกัน  มักทำอะไรด้วยกัน เก่งสนใจวิชาการเหมือนกัน  หมอจืดเป็นเจ้าของ web site http://www.phimaimedicine.org จะช่วยตรวจสุขภาพให้ค่ะ

 ถ้าสนใจตรวจสุขภาพก็เชิญนะค่ะ  อาจารย์จืดรับรู้ ถึงอาจารย์จากโจ้ และทาง web น่ะค่ะ   อาจารย์เก่งมาก  คิดดู update ข้อมูลทางการแพทย์ทุกวัน  บ้าไม่บ้าล่ะ

    นี่แหล่ะคนบ้า ที่ รพ.พิมาย มี 2 คน   โจ้ + จืด   ชลัญธร + ชาญศักดิ์ 

วันหลังจะไปให้ตรวจ กัวแต่ว่าหมอจะติดโรคบ้าของคนไข้ซะต้องไปให้หลวงพ่อคูณเคากะโหลกแก้บ้ากันหมดน่ะซี่ ๕๕๕ (นี่ก็คนบ้า(น)เดียวกันเหมียนกัลนิ)

อาจารย์จืด กับโจ้ จะช่วยกันทำงานวิชาการ ตลอด น่ะค่ะ สนิทกันเหมือนพี่น้อง อาจารย์จืดชื่นชมอาจารย์เช่นกันค่ะ

I wish I could join in "the movement toward Thailand-26thBC" (a nation of pride and smiles in the 26th Buddhist century). I like to hear ideas and share mine. (but not in public faciliies -- even emails are scanned these days)

Without details, I am interested in reducing dependency on oil, reducing foregn investment and foreign manufacturing, reducing pollution and wastes, increasing self-sufficient economy, increasing social security and public infrastructures (in quality terms).

I think solving problems in these areas may done by treating them as constraints in the big (extended) problem, so that solutions can serve many problems at once rather than solving each smaller problem and creating conflicts among them in the larger context. We do not have enough time and resources to solve each problems one-by-one, nor to solve problems arising from conflicts among these solutions, We can see that it is wasteful and ongoing forever. Larger context solutions may allow us to solve more little problems at the same time.

I would look at cultural/psychogical solutions as well as economic and technological solutions.

As usual each of us is one-ordinary-cog-in-the-gearing-system, sometimes noises drown out our signals (to connect and synchronize).

Where is our drummer? We want to dance. ;-)

เห็นด้วยกับท่าน sr มากๆๆ

ผมเดาว่าท่าน sr กำลังมองปัญหาแบบเชิงคณิตศาสตร์ มองในภาพรวม แล้วหาทาง optimize ให้ดีที่สุด ....ซึ่งผมเห็นด้วยนะครับ

แต่ในขณะเดียวกัน อารมณ์มนุษย์มันโมเดลยากครับ ....ต้องเพ่งด้านนี้ด้วย ไม่งั้น...คงปรองดู ลำบากครับ :-)

เห็นด้วยกับท่าน sr มากๆๆ

ผมเดาว่าท่าน sr กำลังมองปัญหาแบบเชิงคณิตศาสตร์ มองในภาพรวม แล้วหาทาง optimize ให้ดีที่สุด ....ซึ่งผมเห็นด้วยนะครับ

แต่ในขณะเดียวกัน อารมณ์มนุษย์มันโมเดลยากครับ ....ต้องเพ่งด้านนี้ด้วย ไม่งั้น...คงปรองดู ลำบากครับ :-)

ผมต้องขอโทษ...กระแส"อากง"กำลังมาแรง เลยขอเกาะเอาไปลงใน ผจก.ออนไลน์ก่อนในวันจันทร์นี้ ส่วนเรื่องพืชนี้ขอเลื่อนไปในคราวหน้า ..หวังว่าคงไม่เน่าซะ่ก่อน..อิอิ

"...กำลังมองปัญหาแบบเชิงคณิตศาสตร์ มองในภาพรวม แล้วหาทาง optimize ให้ดีที่สุด..,"

Yes, but very "loosely". More to my view is to ask extra questions on the way to solve any problem. To give an example: when we are looking for a way to reduce dependency on "import" coal, gas and oil. A solution like "drill and frack for gas in Thailand" is not a solution in my view. Because it creates health and environment problems for local people, comtamination of underground water; toxic chemicals and so on. A better solution would reduce dependency on all sources (including biomass, biofuel) of coal, gas and oil. That's we include CO2 problems as another constraint on solutions. We can add in as many constraints as we need and find ways to express the constraints in the same terms as "the" problem or simply add constraints like "must create x jobs for people in y local counxils in z years",...

It is desirable to have "mathematical model of system to optimize", but when we don't have one yet, we will have to solve constraint problems but argument and (gu)estimate. I guess this is where you are concerned about "อารมณ์มนุษย์มันโมเดลยากครับ ....ต้องเพ่งด้านนี้ด้วย ไม่งั้น...คงปรองดู ลำบาก". To this I say "we also play with mass emotion --and psychology-- to get certain solutions accepted. (In polical term --we do lobby-- ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท