วิถีไทในรัฐตอนเหนือสุดของมาเลเซีย 1


ชมวิถีชีวิตคนสยามในประเทศมาเลเซีย...

กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปวิถีชีวิตผู้คนก็เปลี่ยนแปลงไปตามอย่างไม่ยอมหยุดนิ่งเมื่อพาครอบครัวล่องลงมาถึงเมืองหาดใหญ่แล้วผมเองยังต้องเดินทางต่อไป  หลังทานอาหารเช้าแล้วผมเริ่มเดินทางในเวลา  7  โมงเช้าของวันจันทร์ที่ 7 พ. ค. 2555 นี้ยูมิและทีมงานวิจัยได้ลงพื้นที่ภาคสนามในรัฐทางตอนเหนือสุดของประเทศมาเลเซียคือรัฐเประอยู่ติดชายแดนไทยใกล้แค่นี้เองละ

 

ก้าวแรกในมาเลเซีย

        เราเดินทางจากเขตสงขลาถึงด่านสะเดาโดยทีมงานที่ยังไม่ได้ทานอาหารก็แวะพักรับประทานอาหารกันเรียบร้อยแล้ว  เราก็จั๊มหนังสือเดินทางออกไปยังประเทศมาเลเซียในเวลา 10 โมงโดยประมาณ                   

 

เราผ่านพื้นที่จังโหลนไปหยุดที่หมู่บ้านนาโปเพื่อแลกเงิน 2, 000 . บาทไทย เท่ากับ 196 ริงกิตมาเลเซีย 

 

        ต่อมาเราเดินทางผ่านเขตเมืองจิตตรา – อรอสะตรา – เปิ้นดัง – ปาดังปูสิง – เจเนียง – ปาลิง – และเขตอำเภอโก๊ะ รวมเวลาเดินทางได้ประมาณ 3 ชั่วโมงและถ้าเราเดินทางตรงไปอีกก็ไปถึงรัฐกลันตันเลยทีเดียว

 

เราหาอาหารเทียงรับประทานกันที่แถว 4 แยกใน Korh นี่ละ เพื่อนบอกว่าถนนสายนี้ตรงไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตรก็ถึงด่าน อ. เบตง จ. ยะลาแล้ว จากเบตงมาถึงถนน 4 แยกถ้าตรงไปก็ผ่าน ต. ตาเซ๊ะ เป็นหมู่บ้านคนไทสยามที่ใหญ่สุดทางนี้ละ

 

พระประธานวัดตาเซ๊ะ

        เราหยุดพักเติมพลังกายด้วยอาหารเที่ยงวันที่นี้แล้วเราเดินทางไปยังหมู่บ้านตาเซ๊ะทันที  ลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเขาคดเคี้ยวมีป่ายางเยอะแล้วเราก็ขึ้นไปถึงวัดอินทราวาส ( วัดตาเซ๊ะ ) เราไปไหว้พระประธานในอุโบสถ์ของวัดแล้วก็ได้สนทนากับพระคุณเจ้า 3 รูปคือ

 

1 . พระพุทธิวัฒน์  บุญยัง พรรษา 14 อายุ 71 ปี

2 . พระธีรภัทร์  ญาณธโร  พรรษา  13  อายุ 49 ปี

3 . พระบุญเที่ยง  สุจิตฺโต  พรรษา 13 อายุ 43 ปี

 

เรามีโอกาสชมบริเวณรอบ ๆ วัดเป็นวัดตั้งอยู่เชิงผาสูงมีโรงเรียนสอนภาษาไทยให้เด็ก ๆ ที่สมภารคือหลวงพ่อพะยอมสร้างทำไว้และมีลูกศิษย์สืบทอดมาได้ 50 ปีแล้วท่านเน้นการสอนหนังสือ  หลวงพ่อพะยอมท่านมรณภาพเมื่อ 21 ก. พ. 2554 ที่ผ่านมาแล้ว

สัมภาษณ์พระบุญเที่ยง รักษาการวัดตาเซ๊ะ 

        เรามีโอกาสเดินทางไปอีกวัดหนึ่งชื่อวัดพิกุลบุญญาราม ซึ่งเคยเป็นวัดเก่าของบ้านตาเซ๊ะได้ไปเจอสมภารวัดและได้สนทนาธรรมกันกับพระคุณเจ้าท่านเล่าให้ฟังว่ามีพระจำพรรษาที่วัดนี้ดังนี้

 

ฝาสีเหลืองอยู่เบื้องหลังยูมิคือโบสถ์เก่า

1 . พระแดง  ชนาสโภ  พรรษา 16  อายุ 85 ปี  ( สมภารวัด )

2 . พระอนันต์  พรรษา 4

3 . พระเลิศ  พรรษา 1

4 . พระเดิม  พรรษา 5

กำลังเข้าสัมภาษณ์หลวงพ่อแดงสมภารวัดพิกูลบุญญาราม

 

เดิมหมู่บ้านนี้อยู่ในการปกครองของสยามชื่อว่าบ้านจ่าดับ ( ชื่อตำรวจ ) เขาเป็นคนสร้างบ้านสร้างวัดนี้  ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงและที่สำคัญคือเกิดกรณีโจรจินคอมมิวนิสต์แถวนี้ทางการปรัง ( ฝรั่งอังกฤษ ) ปกครองยุคนั้น สั่งให้คนไทสยามมาอยู่ในคอกมียามเฝ้าห้ามออกไปไหนหรือไปไหนต้องอยู่ในสายตาเจ้าหน้าที่พวกเราลำบากมากละช่วงนั้นประมาณ ค. ศ. 1951  ( 2494 ) เพราะไม่เป็นอิสระในการดำเนินชีวิตและเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต่อมาวัดนี้ก็ร้างลงได้ 58 ปีมาแล้ว

 

 

หมู่บ้านก็ย้ายขึ้นไปตั้งเชิงเขาโน้น อาตมาเลยมาบูรณะใหม่ได้ ตั้งแต่ วันที่ 6 เดือน 4 ปี ค. ศ. 2009 จนถึงทุกวันนี้แล.

หมายเลขบันทึก: 487602เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีคะอาจารย์ หนูสนใจเรื่องชาวสยามในมาเลเซียคะ  คือว่า ตอนนี้หนูมีโครงการที่จะสอน นักเรียนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะศึกษาความเป็นมาของชาวสยาม แล้วต้องพานักเรียนไปศึกษา หนูจะต้องติดต่อที่ไหนบางคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท