วิธีว่ายน้ำเพื่อให้ได้เหรียญทองโอลิมปิกส์ (๒)


ในการเอามือจุ่มลงน้ำนั้น มีเคล็ดลับที่ขอแถมคือ ให้ทำมือให้งอโค้งเล็กน้อย แล้วพุ่งมือลงไปในน้ำเร็วๆ (ฝ่ามือหันเข้าหาตัว) แบบขนานกับแนวหัวไหล่ การทำแบบนี้จะทำให้เกิดแรงยก (lift) บนฝ่ามือ

หลังจากทำการคัดเลือกนักกีฬาว่ายน้ำให้ได้สรีระที่ดีดังที่กล่าวไว้ในตอนที่ ๑ แล้ว คราวนี้ก็มาถึงวิธีการว่ายน้ำแบบ “ถางทาง” 

 

หลักการว่ายน้ำนั้นคล้ายกับการพายเรือ คือใบพายจะต้องตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ของเรือให้มากที่สุด  เพื่อให้ได้แรงในการขับเคลื่อนมากที่สุดนั่นเอง   (อาจมียกเว้นในช่วงออกตัว)

 

ดังนั้นเวลาเอามือลงน้ำ ต้องงอขอศอก หันเอาฝ่ามือและหน้าแขนเข้าหาตัว ในช่วงลงน้ำแรกๆ ข้อมืองอเล็กน้อย (เพื่อให้ตั้งฉากกับแนวเคลื่อนตัว) เมื่อกวาดมือลึกลงไปในน้ำ ข้อศอกค่อยๆเหยียดออก แล้ววาดแขนออกด้วยการบิดหัวไหล่ และลำตัวช่วยในการออกแรง วาดแขนออกไปเป็นมุมประมาณ 135 องศา จากนั้นยกแขนขึ้นจากน้ำ ..อย่าวาดแขนจนสุด 180 องศา เพราะจะทำให้เหนื่อยแรง แต่ไม่ได้แรงในการว่ายน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้เสียเวลาในการจ้วงว่ายอีกด้วย กล่าวคือถ้าเราลดมุมวาดแขนลง เราจะจ้วงว่ายได้มากครั้งขึ้นกว่าปกตินั่นเอง

 

ในการเอามือจุ่มลงน้ำนั้น มีเคล็ดลับที่ขอแถมคือ ให้ทำมือให้งอโค้งเล็กน้อย แล้วพุ่งมือลงไปในน้ำเร็วๆ  (ฝ่ามือหันเข้าหาตัว) แบบขนานกับแนวหัวไหล่  การทำแบบนี้จะทำให้เกิดแรงยก (lift) บนฝ่ามือ  แรงนี้จะช่วยดึงตัวเราไปข้างหน้าเพิ่มจากแรงฉุดอีกด้วย   ....ดังนั้นจึงเป็นการมีแรงพิเศษเพิ่มขึ้น  ซึ่งไม่ทราบว่า mark spitz จะรู้เรื่องนี้หรือไม่ก็ตามที แต่คนถางทางขอฝากไว้ให้คิด

 

มืองอโค้งนี้เป็นการเลียนแบบความโค้งของปีกเครื่องบินนั่นเอง ทำให้เกิดแรงยกได้ เมื่ออากาศไหลผ่าน เรืือก็เลียนแบบมาทำเป็น hydrofoil 

 

ในขณะวาดแขนว่ายไป อุ้งมือต้องงอเล็กน้อย (อย่าเหยียดมือตรง)  วิธีนี้จะเพิ่มแรงได้อีกทาง (แต่ไม่ใช่แรงยก) เป็นแรงที่เกิดจากการวกกลับของน้ำ แล้วสร้างแรงปฏิกิริยาบนมือ ตามกฎข้อที่สามของนิวตัน ไม่เชื่อท่านลองเอาจานแบน กับ ชามก้นลึกที่มีขนาดเท่ากันไปแหวกน้ำดูสิ จะเห็นทันทีว่าชามมีแรงต้านน้ำมากกว่าจานแบน

 

สำหรับการเตะขาก็เช่นกัน ต้องมีการงอข้อเท้าให้เข้ากับจังหวะการถีบขาดันน้ำ ด้วย เพื่อให้เกิดการตั้งฉากให้มากที่สุด

 

การฝึกว่ายน้ำควรฝึกแห้งก่อน โดยเอาตัวมาแขวนห้อยไว้กลางอากาศ แล้วให้ฝึกทำมือ แขน ขา ให้ถูกต้อง   จากนั้นเอาลงอ่างใส แบบอ่างตู้ปลา  ผูกเอวไว้ขอบตู้ แล้วให้ว่ายให้มือเท้าให้ถูกจนเก่งดีแล้ว ไม่ผิดเพี้ยน  แล้วจึงให้ลงสระจริง 

 

การทำคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแสดงท่าว่ายเพื่อสอนนักกีฬาก็สามารถทำได้

 

อยากเห็นวิทยาศาสตร์การกีฬาไทยเรามีอะไรแปลกใหม่ ที่เป็นความคิดของเราเองบ้าง ไม่ใช่ลอกฝรั่งตลอดไป 

 

อ้อ...คราวที่แล้วบอกว่าคนตัวเบา แต่ใหญ่ (หรือมีถพ.ต่ำ) จะได้เปรียบก็เพราะว่าจะลอยน้ำได้ดีกว่า กล่าวคือมีส่วนจมน้ำน้อยกว่า ทำให้มีแรงต้านน้ำน้อยกว่า ก็สามารถว่ายได้เร็วกว่า แม้ว่าจะมีเทคนิคและกำลังในการว่ายเท่ากัน

 

แรงต้านที่สำคัญมีสองประการคือ แรงเสียดทาน (skin friction drag)  และแรงคลื่น (wave drag)  การจะว่ายให้เร็วจะต้องลดแรงต้านทั้งสองประการนี้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้เรื่องยาวมาก แต่เอาง่ายๆสักประเด็นคือ ในการว่ายทางไกล ถ้าเราแข่งกับคู่แข่งที่สูสีกัน ในเลนติดกัน  เราควรว่ายตามหลัง สักครึ่งช่วงตัว วิธีนี้เราจะได้เปรียบจาก คลื่นลำตัวของคนอยู่ข้างหน้าเรา ทำให้ช่วยประหยัดแรง   จากนั้นค่อยเร่งแซงในรอบท้ายๆ

 

การกระดก เอี้ยวซ้ายขวาของลำตัวที่ไม่จำเป็นล้วนเพิ่มแรงต้านทานการว่าย ดังนั้นต้องว่ายให้นิ่งที่สุดเท่าที่ทำได้ เหมือนการพายเรือ  ผมจะให้จุ่มใบพายลงน้ำ และตวัดใบพายพ้นน้ำโดยไม่ให้มีระลอกเลย ไม่งั้นเสียสองต่อ คือ เสียแรงพาย และ เพิ่มแรงต้านเรือ

 

ผมบอกแล้วว่า จะนำวิธีนี้ไปเผยให้สมาคมว่ายน้ำไทย เขาไม่ยอมตอบอีเมล์ผมด้วยซ้ำว่า "ได้รับแล้ว"  ก็ปล่อยให้ว่ายใต้กอบัวไปกันก็แล้วกัน อิอิ ถางทางไม่เล่นด้วยแล้ว   ...ก็หวังว่าจะมีครูพละ หรือ ครู รร.กีฬามาอ่านเข้า จะเอาไปสอนเด็กก็เอาเลยครับ   จะให้ผมไปบรรยาเพิ่ม เสริม ก็ยินดีครับ  

โชคดีนะนักกีฬาว่ายน้ำไทย  โอลิมปิกส์เที่ยวนี้มาลุ้นเงือกอุ้ม เจ้าเหรียญทองซีเกมส์  (6 เหรียญ) จะได้มีสิทธิ์ลุ้นเข้ารอบ 16 คนสุดท้ายไหม (จากทั้งหมด 64 คน)  แต่เข้ารอบสุดท้าย 8 คนเชื่อว่ายากส์

 

...คนแหวกทาง (๘-๕-๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 487462เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 02:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทุกขั้นตอนอาจารย์คำนวณ เหมือนการสร้างเครื่องกลเลยใช่มั๊ย เดี๋ยวลองไปบอกน้อง จบโทวิทยาศาตร์การกีฬา จุฬา สอนอยู่มารีย์วิทย์ชลบุรี แต่ไม่รู้น้องมันจะเชื่อตำราหรือเชื่อวิดวะ อิ อิ ต้องลอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท