บริษัทเล็กๆ ของลูกศิษย์อาม่า


อาม่าดูแลแอดไวซีจีออ 31  เป็นรุ่นสุดท้ายตั้งแต่เรื่องการเรียน การแก้ปัญหาจนเรียนจบทุกคน เมื่อคนสุดท้ายจบ อาม่าลาออกจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มารับหน้าเป็นหัวหน้าสาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกล( School of Remote Sensing) ที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อสร้างหลักสูตรรีโมทเซนซิ่ง ระดับป.โท-เอก แห่งแรกของประเทศไทย หลังจากสร้างหลักสูตรวิชารีโมทเซนวิ่งในระดับป.ตรีที่ มช.มาแล้ว ด้วยความตั้งใจเต็มที่ เพราะเป็นมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี่ ที่เปิดใหม่เป็นมหาลัยนอกระบบแห่งแรกของประเทศ โดยเฉพาะมีวิศวกรรมเกือบทุกสาขาวิชา ด้วยความหวังที่จะสร้างฐานองค์ความรู้ใหม่เป็นของประเทศ โดยปรับโครงสร้างหลักสูตร เป็นสองระยะ ช่วงแรกปรับฐานความรู้สามารถนำไปใช้งานประยุกต์ได้ทันที่แก้ปัญหาทรัพย์กรธรรมชาติของชาติ ระยะที่สองสร้างเทคโนโลยี่เป็นของตัวเองจากใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรที่เกี่ยวข้อง และได้สร้างห้องแลปด้านโรโมทเซนซิ่งที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น( 2536) โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทอินเตอร์กราฟอเมริกา ผ่านบริษัทอินเตอร์กราฟประเทศไทย ที่มีลูกศิษย์ และแอดไวซีทำงานอยู่ ซึ่งการทำงานช่วงแรกแรกก็จะเป็นประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รีโมทเซนซิ่งในด้านต่างๆ  และได้ร่วมโครงการ GlobeSAR ให้ความร่วมมือกับสภาวิจัยแห่งชาติ และทำงานวิจัยหลายด้าน ตลอดจนการทำงานด้านจัดงานเวิลเทคในปี 2538 และจากความร่วมือกับสภาวิจัยแห่งชาติสามารถดึงการจัดประชุมThe 16 th Asian Conference on Remote Sesin( AARS) ในปีจัดงานเวิลเทค เพราะจากผลงานส่วนหนึ่งที่ได้รับรางวัล AARS  ฺำBest Speaker Award  ในการไปเสนอผลงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานโดยใช้ข้อมูลเรด้าในการใช้ที่ดินของภาคอิสาน อาม่าได้ข้อมูลแถวชัยภูมิ ที่ทำให้อาม่าค้นพบเมืองสามหอก ที่บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ อาม่าเป็นม้านอกสายตาค่ะ เมื่องานวิจัยเสร็จก็ตีพิมพ์ในต่างประเทศ และได้ไปเสนอผลงานทั้งที่จีน และแคนาดา อาม่าวางแผนส่งอาจารย์ไปศึกษาทางด้าน Biosphere (งานด้านป่าไม้ที่มิเนโซต้า อเมริกา) และ Atmosphere ด้านบรรยากาศ เพราะมองเห็นอนาคตเรื่อง Global Worming ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากรับนักศึกษารุ่นแรกไปแล้ว ขาดแคลนอาจารย์ ก็พยามยามดึงสมองไหลกลับจากอเมริกามาช่วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงลาออกไปช่วยงานโครงการอรนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และเป็นอาจารย์พิเศษคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แอดไวซี่รุ่นนี้ก็ยังคงติดตามไปช่วยงาน และเยี่นมเยียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งปี 2547 กลับมาอยู่โคราช เพราะลูกๆ ต้องไปทำงานที่กรุงเทพ ตลอดเวลาที่อยู่โคราชก็ช่วยเหลือเกษตรกร และชาวนาให้กลับมาสู่ความเป็นจริงของการเกษตรที่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ลูกๆ และลูกศิษย์กลุ่มนี้ให้การสนับสนุน ช่วยทั้งทางตรงและทางอ้อมมาตลอด ในขณะเดียวกันอาม่าก็สนับสนุนให้การช่วยเหลือทำงานของลูกศิษย์ตามกำลังและความสามารถ และในที่สุดแอดไวซีของอาม่าคู่นี้

ก็สามารถตั้งบริษัทเล็กๆ ได้ ด้วยความร่วมมือสามัคคีของครอบครัว และความช่วยเหลือจากรุ่นพี่ๆ จีออ จึงมีวันนี้ค่ะเพิ่งจะเริ่มก้าวย่างก็ต้องดูแลให้กำลังใจ แต่อาม่าขอบอกได้เลยว่าจิ๋วแต่แจ๋วค่ะ


นี่คือส่วนหนึ่งของการทำงานตัดพื้นคอนกรีต ที่บริษัทโตโยต้าที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จ.ฉะเชิงเทรา


จากการสู้งานขยัยขันแข็งได้รับความไว้วางใจจาก บริษัทไทยโอบายาชิ เป็นบริษัทญี่ปุนที่รับงานโครงการปรับปรุงขยายโรงงานโตโยต้าค่ะ ให้ทำงานนี้ และงานต่อๆ ไปค่ะ


ขยัย อดทน ซื่อสัตย์ จะสร้างบริษัทเล็ก ๆของแอดไวซีรุ่นลูกของอาม่าก้าวเดินอย่างมั่นคง ยืนยงตลอดไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 487317เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่ส่งมาให้ชอบมากค่ะ

Ico48เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าค่ะหนูชลัญธร อาม่าไม่เคยส่งอะไรให้หนูเลยค่ะ ขอบคุณคนผิดหรืเปล่าค่ะ

ขอขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มอบดอกไม้ให้ค่ะ

ว้าขอโทษค่ะ อาม่า ...ตั้งใจมาให้กำลังใจงานเขียน ของอาม่า นั่นแหล่ะแต่ใส่ ข้อความผิดblog เห็นรูปการ์ตูนใน blog อาม่า น่ารักดี ก็เลย design เสื้อ GTK ไว้เล่นๆ แต่ถ้าอาม่า อยากทำใส่จริงๆ สามารถทำเองได้ง่าย ๆตาม link ค่ะ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/487250

ขอโทษ อีก หลายๆครั้ง ชลัญนี่นอกจากจะเป็น พาร์กินสัน แล้ว  สงสัยเป็นโรคสมองเสื่อมอีกอย่าง ขอโทษ ๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท