454. ทำ SWOT ด้วยวิถีเชิงบวก (Reflection ตอนที่ 16)


ว่าด้วยการพัฒนาแนวคิด Appreciative Inquiry ด้วย Kolb's Experiential Learning

1. ผมเองต้องมีส่วนในการพัฒนาองค์กรด้วย Appreciative Inquiry (AI) มานับร้อยองค์กรครับ..พัฒนาองค์กรนี่รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ด้วย..นั่นหมายถึงเราใช้ AI ในการวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งก็ประกอบด้วยการทำ SWOT การสร้างวิสัยทัศน์ การสร้างกลยุทธ์ การสร้าง KPI ไปถึงการ "กลวิธี (Tactics)" ไปจนถึงการตามผลไปโน่น...เรียกว่า AI ไปได้กับทุกองค์ประกอบ...คราวๆนี้คำถามที่ผมมักถูกถามจากชาว AI ว่า "อาจารย์หนูจะทำ SWOT ยังไง" หรือคนที่งงกับ AI ก็จะถามเหมือนกันว่า "อาจารย์ AI มันเป็นศาสตร์เชิงบวก..ทำ SWOT ไม่ได้นะ..เพราะเป็นเรื่องลบ โดยเฉพาะจุดอ่อน กับภัยคุกคาม"

2. จริงแล้วการทำ SWOT แบบ AI นีี่เราเรียกว่า SOAR ครับ..S คือ Strenght หรือจุดแข็ง..O คือ Opportunity หรือโอกาส..Aspiration แรงบันดาลใจ และ Result ผลที่คาดว่าจะเกิด ดูหนังสือเรื่อง SOAR นี่ได้ครับ..

3. ตรงนี้เป็นประสบการณ์ของผมแล้วหล่ะ..SOAR ก็ทำแบบเดียวกับ Appreciative Inquiry ครับเน้นเร่ิมที่การถามก่อน..ถามใครครับ.."คนทุกคนในองค์กร" และ "ลูกค้า" เช่นอะไรครับ..เช่นที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง..(ขออนุญาตไม่เปิดเผยเนื่องจากไม่ได้ขออนุญาต)..เราจะทำ SOAR นี่ไม่ใช่ไปถามว่า SOAR คืออะไร..เราทำด้วยการตั้งคำถามว่า "สิ่งที่คุณภาคภูมิใจที่สุดในที่นี่คืออะไร" เล่ามาคนละเรื่อง..ไม่ต้องระดับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ..ทุกคนก็ผลัดกันเล่า..จากนั้นเราก็ให้สรุปว่า..ที่มาของความภูมิใจคืออะไร..ที่สุดได้มาว่า "ความเอื้อเฟื้อ" หรือไม่ก็ "ความเสียสละ"

 

ซึ่งประหลาดมากๆ..เพราะอยู่คนละกลุ่ม..ผมแบ่งกลุ่มไปราวๆ 10 กลุ่มๆ ละ 5-6 คน.ทั้งที่แยกกันคุย มันก็ออกมาสองคำนี่แหละ..เห็นไหมครับ..นี่น่าจะเป็น "จุดแข็ง" ขององค์กร..ที่สุดก็ให้ vote กันว่าอะไรนี่จะเป็นตัวแทนของที่นี่..ปรากฏว่าทุกคนว่า "เสียสละ" นี่จะเป็นปัจจัยของความภูมิใจ..ประมาณว่าทุกคนที่นี่ต่างมีเรื่องที่ภาคภูมิใจ คนละเรื่องสองเรื่อง..ที่มีปัจจัยเอื้อให้เกิดคือ..ความเสียสละของเพื่อน ของรุ่นพี่..ชัดเลยครับ..เจอ Opportunity หรือโอกาสครับ..ทันที...ผมเลยเสนอเขาว่าน่าจะสร้างวิสัยทัศน์คือ..เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่าผลิตบุคลากรที่มีความเสียสละที่สุดในโลก"...

...

ดีไหมครับ..ลองดูสิว่า..มนุษย์สร้างอนุสาวรีย์ให้ใคร..คนที่เสียสละไม่ใช่หรือ..แล้วลองดูง่ายๆ..ผมถามว่าตอนนี้มีนักศึกษากี่คน..10,000 คนครับ...ถ้ายอมรับวิสัยทัศน์นี้..แล้วรณรงค์ให้คน 10,000 คนเสียสละ อะไรก็ได้คนละเรื่อง..จะเกิดอะไร..จะมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นในจังหวัดนี้ถึง 10,000 เรื่อง..แล้ว รับรอง เขย่าอิสานได้เลย..ถ้าทั้งหมื่นคน..เสียสละแค่เดือนละครั้ง.แต่ทำติดต่อกัน 1 ปี..จะเกิดอะไรขึ้น..ก็จะเกิดเรื่องดีๆ อีก 120,000 เรื่อง..รับรองเขย่าประเทศนี้เลย หรืออาจเขย่าโลกได้เลย..

นี่ไงครับ.. นี่กับคนภายใน..เห็น SOAR ไหมครับ..จุดแข็งคือความเสียสละ Opportunity ยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนในประเทศและอาจระดับโลกที่ตั้งเป้าเรื่อง "ความเสียสละ" ถ้าคุณตั้งวิสัยทัศน์แบบนี้..แล้วทำครับ..คุณจะได้ชื่อเสียง ได้ Branding จุดยืนที่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น..ที่สำคัญ มีการตั้งเป้า ก็จะเกิดเรื่องดีๆ. ราวๆ 120,000 เรื่อง..นี่ไง Aspiratipn สุดท้าย Result ผลที่คาดว่าจะเกิด..รับรองเกิดนวัตกรรม..เกิดชื่อเสียง ที่สำคัญสังคมยอมรับ..ผู้ปกครองอาจมองคุณเลยว่า..มหาวิทยาลัยของคุณดีกว่ามหาวิทยาลัยดังๆในกระแสหลักทั้งหมดก็ได้..คุณอาจกลายเป็นอะไรที่ระดับโลกด้วยซ้ำ..

แล้วเราก็ลองวางแผนกันง่ายๆว่า 10 วันข้างหน้าจะไปเสียสละอะไรกันบ้าง..ได้ครับ..เช่น บริจาคเลือด..ไปสอนบาสเก๊ตบอลให้เด็กยากจน..ดีๆทั้งนั้นครับ...ไม่มีการใช้งบมหาวิทยาลัยเลย เพราะคนอยากทำดีอยู่แล้ว..

คุณอาจว่าการเสียสละมันจะเกี่ยวอะไรกับมหาวิทยาลัยที่เน้นสร้างนวัตกรรม..ดูดีๆครับ..พระพุทธเจ้าสร้างนวัตกรรมศาสนาใหม่..จากการเห็นคนเกิดแก่เจ็บตาย..เลยสงสาร (Empathy) แล้วเลย "เสียสละ" ตนเองไปค้นหาสัจธรรมครับ..

โมฮัมหมัด ยูนูส..ผู้คิดธนาคารคนจน..Grameen Bank ได้รับโนเบิ้ล ไพร๊ซ์ ได้ไอเดียคือ พานักศึกษาไปดูงานในชนบทแล้วเห็นชาวบ้านติดหนี้นอกระบบจนโงหัวไม่ขึ้น..เกิดความสงสาร (Empathy) เลย "เสียสละ" ทรัพย์สิน การงาน สร้างธนาคาร ที่เชื่อกันว่าทำให้คนบังคลาเทศกว่า 75% มีฐานะ "พ้นขีดความยากจน" จนกระทั่งทั้งโลกเอาโมเดลธนาคาร ที่ถือเป็นนวัตกรรมการเงินนี้ไปเป็นแบบอย่างครับ..

การเสียสละ ทำให้คนต้องออกไปสัมผัสโลกภายนอก..อาจทำให้เห็นอะไรบางอย่างทีกระตุ้นความสงสาร (Empathy) แล้วทำให้เกิดการเสียสละ..แล้วเกิดนวัตกรรมตามมา..

ในหนังสือเรื่อง A Whole New Mind พูดถึงปรากฎการณ์ที่สมองแห่งความคิดสร้างสรรค์ครองโลก พูดถึงการที่คนเราสร้างนวัตกรรมได้ มาจากปัจจัยหนึ่งคือความสงสาร (Empathy) ที่กระตุ้นให้เกิดความเสียสละ เลยต้องทำอะไรบางอย่าง โดยการคิดวิธีการใหม่เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีขึ้นครับ..

 

นี่ยังไม่ได้ไปถามลูกศิษย์นะครับ..ถ้าถามลูกศิษย์ ศิษย์เก่าอาจจะเจออะไรดีมากกว่านี้ครับ

4. ผมทดลองกับองค์กรใหญ่ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครรับแนวคิดนี้เท่าไหร่..เราชินกับประมาณเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่เท่าไหร่..แต่ถ้าเป็นองค์กรเล็กๆ..นี่ทำมามากครับ..ล่าสุด..ลูกศิษย์ไปถามลูกค้าที่มาพักโรงแรมเขาเป็นครั้งแรกนี่ เพราะอะไร.."ที่โรงแรมเดิม ถูกผู้ชาย ที่เป็นเซลล์ขายอะไหล่รถยนต์เดินตาม มาดูถึงห้อง ว่านอนห้องไหน..เลยรีบหนีมาที่นี่ค่ะ"...นี่ไงเจอ Opprtunity โอกาส..ไม่มีโรงแรมไหนที่ดูแลให้ความปลอดภัยผู้หญิงอย่างจริงจัง เขาเลยตั้งเป้าหมายว่าจะดึงดูดผู้หญิงที่เป็นเซลล์ที่มีกำลังซื้อเช่นเซลล์ขายยา และขายเครื่องสำอางค์ นี่คือ Aspiration

ว่าแล้วก็เริ่มปรับปรุงกิจการให้มีจุดแข็งเรื่องความปลอดภัย ที่เข้มงวด..ลูกค้ารู้กระทั่งคนทำความสะอาดห้องเป็นใคร..ก็มีจุดแข็งนี้ขึ้นมา (Strenght) ส่วนผลที่คาดว่าจะเกิดก็คือ..ได้ตลาดส่วนนี้..(Result) จริงครับ ผู้หญิงบอกต่อเร็ว..ไม่นานสองสามเดือนยอดขายเพิ่ม 20 กว่าเปอร์เซ็นต์และได้ลูกค้าส่วนนี้จริงๆ..

 

หมายเลขบันทึก: 485737เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2012 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับพี่แก้ว

สบายดีนะครับ

เนื้อหาทันสมัย โดนใจค่ะเพราะเพิ่งไปทำ SWOT กันมาเมื่อวานนี้

สวัสดีครับพี่กฤษณา สบายดีนะครับ

เยี่ยมเลยครับ ผมมองว่าหากองค์กรที่มุ่งเน้นการ "เสียสละ" หรือของผมจะเรียกว่าการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ หรือจะเป็น "การเติมเต็ม" การสอนที่ดีที่สุดคือไม่สอน คำนี้มาจาก ดร.วรภัทร์ ผมชื่นชมมาก มันคือสิ่งที่ อาจารย์กำลังถ่ายทอดเลยครับ บางองค์กรมักไปติดกับภาษาทฤษฏีแต่ไม่มีการประยุกต์ หรือเข้าถึงแก่นการเรียนรู้ของมันจริงๆ ผมว่าพวกเขาหรือองค์กรมากมายที่อาจารย์ไปแบ่งปันมุมมองเหล่านี้ถึงแม้วันนี้พวกเขาไม่รับไอเดียไปทำแต่ผมว่าพวกเขารับมันไปในใจแล้วครับแค่ยังไม่กล้าก้าวข้ามข้อจำกัดบางอย่าง...ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นงานของพวกเขาแล้ว แต่สำหรับอาจารย์....อาจารย์เข้าถึงมันและกำลังแบ่งปันมันอยู่ และคนหนึ่งที่ได้คุณค่าจากการแบ่งปันนั้น...ก็คือผมครับ ขอบคุณครับ ขอฝากตัวด้วยนะครับอาจารย์

บางอ้อเลยครับ...ชอบบันทึกนี้....มองจุดเล็ก ๆ ให้เป็นเห็น...จุดหลายจุด...รวมตัวกัน...ให้เป็นอุโมงค์เห็นแสงสว่าง...กว้างไกลในปลายทาง...ด้วย AI จริง ๆ ครับ...อาจารย์สบายดีนะครับ

สวัสดีครับคุณต้อม ยินดีที่งานของผมเป็นประโยชน์ต่อคุณต้อมครับ ถ้าสนใจเรื่องนี้ ผมเต็มที่เลยนะครับ ติดต่อ สอบถามได้เลยโดยตรง

สวัสดีครับคุณทิมดาบ

ผมสบายดีครับ..

AI ประมาณนี้หละครับ..

ชื่นชมงานคุณทิมดาบเช่นกันครับ

"Viva หมออนามัย"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท